กระปุกที่ 1 เงินสำหรับการดำรงชีวิต NEC 55% ( Necessities Account )
คือ เงินที่เอาไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน
กระปุกที่ 2 เงินสำหรับความบันเทิงในชีวิต Play 10%
คือ
เงินที่สนองความสุขของตัวเอง เช่น ชอปปิ้ง นวดสปา เที่ยว ทานอาหารหรูๆ
เมื่อสะสมครบ 1 เดือน ควรใช้ให้หมด
เพื่อให้เราไม่เครียดกับการเก็บเงินเกินไป
เพราะอาจเป็นระเบิดเวลาที่จะผลาญเงินจนหมด
กระปุกที่ 3 เงินสำหรับการลงทุน FFA 10% (Financial Freedom Account )
คือเงินเก็บเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ห้ามนำไปใช้จ่าย มีไว้สำหรับลงทุนเท่านั้น
เพื่อสร้างรายได้ไว้ใช้ในยามเกษียณ
กระปุกที่ 4 เงินสำหรับการออมระยะยาวเพื่อจ่าย LTSS 10% (Long Term Saving for Spending)
คือ เงินก้อนใหญ่ที่เก็บยาวหน่อย อาจจะระบุเช่น ท่องเที่ยวยุโรป รถเบนซ์ หรือสำหรับเบี้ยประกัน ค่าเทอมลูก เพื่อแต่งงาน
กระปุกที่ 5 เงินสำหรับการศึกษา EDU 10% (Education Account)
คือเงินเก็บไว้หาความรู้พัฒนาตัวเอง เช่นซื้อหนังสือ เรียนป.โท อบรมสัมนาต่างๆ เพราะคนเราไม่ควรหยุดนิ่งที่ตะหาความรู้ใหม่ๆ
กระปุกที่ 6 เงินสำหรับการบริจาคหรือการให้ Give 5%
คือ เงินสำหรับทำบุญ บริจาค เพราะคนเราต้องรู้จักให้ ถึงจะได้รับสิ่งดีๆกลับมา
ดังนั้น คนเรา ควรมี 6 กระปุกที่บ้าน
เพื่อสร้างนิสัย แบ่งเงินใส่กระปุกทุกวัน …มีมากใส่มาก มีน้อยใส่น้อย
และมี 6 บัญชีเพื่อแยกเงินได้ชัดเจน
เมื่อมีรายได้เข้ามาแต่ละเดือน
ที่มา : aazay.wordpress.com