10 วิธีเอาตัวรอดหากเกิดเหตุการณ์เรือล่ม



หลังจากที่เกิดเหตุการณ์น่าเศร้ากับวงการการท่องเที่ยวของประเทศไทย เมื่อเรือน้ำเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 3 ลำได้ประสบอุบัติเหตุจากกระแสลมและพายุที่เชี่ยวกราด ทำให้เรือทั้ง 3 ล่มลงสู่ก้นมหาสมุทร กลางทะเลภูเก็ต

ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียชีวิตที่ค้นพบแล้วหลาย 10 คน และนักท่องเที่ยวที่ยังสูญหายอีกมากเช่นกัน จากเหตุการดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าความรู้ในด้านการเอาตัวรอดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ >> อัปเดตสถานการณ์ "เรือล่มภูเก็ต" นักท่องเที่ยวเสียชีวิต-สูญหายจำนวนมาก

ข้อมูลต่างๆ ในการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดนั้นควรมีการบอกล่าวและเน้นย้ำกับนักท่องเที่ยวก่อนการออกเรือทุกครั้ง และลูกเรือต้องมีความเข้มงวดที่จะให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฏความปลอดภัยของเรือ

ซึ่งวันนี้เรามี 10 วิธีการเอาตัวรอดเบื้องต้นหากเกิดเหตุการณ์เรือล่มมาแนะนำเป็นเกร็ดความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวทุกคน เผื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคตครับ



1.ตั้งสติ

จริงๆ แล้วสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณรอดชีวิตจากเหตุเรือล่ม ก็คือต้องตั้งสติก่อน โดยเฉพาะในยามที่ทุกคนแตกตื่นตอนเรือเพิ่งล่ม ถ้าคุณสติแตกตามไปด้วย ก็เท่ากับเอาตัวเองไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ

ถ้ารู้ตัวว่ากำลังสติแตก ให้พยายามผ่อนคลาย หายใจเข้า-ออกลึกๆ คิดก่อนทำ อย่าวิ่งพล่านหาเรือชูชีพหรือโดดลงน้ำทันทีที่เกิดเหตุ ให้หยุดคิดพิจารณาถึงทางรอดหลายๆ ทาง

2.หาอะไรที่ลอยน้ำได้



ระหว่างที่เรือกำลังจม สำคัญว่าต้องมองหาอะไรที่ลอยน้ำได้ ไม่งั้นลงน้ำแล้วคุณจะรอดชีวิตอยู่ได้ไม่นาน อะไรที่ลอยน้ำได้ก็เช่นเสื้อชูชีพ ห่วงยาง เรือบด แพยาง

3.กระโดดออกจากเรือถ้าอยู่ต่อแล้วอันตราย



ถ้าต้องกระโดดออกจากเรือจริงๆ อย่าถอดรองเท้า ก่อนโดดลงน้ำก็ดูลาดเลาซะก่อน จะได้ไม่ตกไปทับคนหรือวัตถุอื่นๆ เอาแขนกอดหน้าท้องไว้ข้างหนึ่ง มือจับศอกของแขนอีกข้างที่บีบจมูกไว้ แล้วโดดลงน้ำให้ไกลจากเรือมากที่สุด ให้ไขว้ขาแล้วพยายามเอาขาลงน้ำก่อน
4.ถ้าเรือลำใหญ่ต้องรีบออกห่างจากเรือ

เพราะเรือลำใหญ่เวลาจมจะมีแรงดูด ดึงอะไรรอบๆ เรือดิ่งลงไปด้วย แปลว่ายิ่งเรือใหญ่ก็ยิ่งต้องออกห่างจากเรือให้มากที่สุดตอนเรือจม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะแรงดูดของเรือใหญ่จะดึงคุณจมดิ่งไปด้วย แม้ใส่เสื้อชูชีพก็ตาม

- ว่ายน้ำท่ากบให้ห่างออกจากเรือ

- เตะน้ำแรงๆ

- ถ้าว่ายน้ำไม่ค่อยแข็ง ก็ตั้งสติ พยายามลอยตัวแล้วว่ายท่าลูกหมาตกน้ำ พาตัวเองให้ห่างออกจากเรือ
5.หาอะไรที่ลอยน้ำได้แล้วเกาะไว้




ถ้าไม่มีห่วงยาง แพยาง หรือเสื้อชูชีพ ให้มองหาอะไรที่ลอยน้ำ อะไรก็ได้ในเศษซากของเรือ ที่คุณเกาะแล้วลอยคอในน้ำได้ เช่น

- บานประตู

- ชิ้นส่วนของเรือที่ลอยน้ำมา

- เรือบด แพยาง หรือห่วงยาง/เสื้อชูชีพที่ไม่มีใครใช้
6.รวมกลุ่มกัน



พอปรับตัวรับสภาพตอนนี้ได้แล้ว ให้คุยกับทุกคนในกลุ่มแล้วแบ่งงานกัน ผู้รอดชีวิตในกลุ่มน่าจะมีทักษะหรือความถนัดแตกต่างกันไป ลองระดมสมองเพิ่มโอกาสรอด เผื่อความช่วยเหลือจะมาเร็วกว่าที่คิด

อย่าแยกตัว ยิ่งเกาะกลุ่มกันก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีสติและแบ่งหน้าที่กัน
7.อย่าให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน



นอกจากจมน้ำตายแล้ว ภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) ก็ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากสำหรับคนเพิ่งรอดชีวิตจากเรือล่ม เพราะการแช่อยู่ในน้ำเย็นๆ นานๆ จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าลดต่ำเกินไป ร่างกายจะช็อค หยุดทำงาน แล้วตายได้

ถ้าคุณเกาะอะไรลอยตัวอยู่ ไม่ได้อยู่บนแพยาง ให้พยายามกอดเข่าชิดอก จะรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ถ้าคุณลอยคออยู่พร้อมคนอื่น หรืออยู่ในแพยาง ให้นั่งเบียดๆ กันหรือกอดกันไว้ ใส่เสื้อผ้าให้ครบชิ้น ถึงเปียกชุ่มก็ไม่เป็นไร จะได้คงความอบอุ่นไว้ได้
8.มองหาฝั่ง



พอพ้นน้ำหรือมีอะไรเกาะและปลอดภัยแล้ว ให้เริ่มมองหาฝั่ง ถ้าไม่เจอ โอกาสรอดชีวิตจะลดน้อยถอยลงทุกวัน เพราะเสบียงเริ่มร่อยหรอ วิธีมองหาฝั่งก็เช่น กะตำแหน่งปัจจุบันโดยอ้างอิงจากตำแหน่งล่าสุดที่รู้ จะด้วยชาร์ท แผนที่ หรือดูดาวเอาก็ตาม สัญญาณที่บอกว่ากำลังจะถึงฝั่ง คือมีนกบินมา หรือมีเศษไม้/ขยะลอยมา ถ้าเห็นนก ให้มองไปตามทิศทางที่นกบินมา และทิศทางที่นกบินไปมองหาฝั่งที่เส้นขอบฟ้า ถ้าอยู่ค่อนมาทางกลางทะเล อาจจะมองแทบไม่เห็น แต่ขอให้ช่วยกันดูให้ดีที่สุด
9.หาหรือทำน้ำจืดดื่ม

ถ้าหิวน้ำมากแต่ไม่มีน้ำจืด และโชคดีพอมีอุปกรณ์ ก็อาจจะพอหาทางได้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่สำหรับคลุม มากางปูบนแพยางหรือเรือชูชีพ ถ้าฝนตกก็จะช่วยรองน้ำไว้ได้ แต่ถ้าโชคร้ายฝนไม่ยอมตก อาจจะพอมีหยดน้ำที่กลั่นตัวจากน้ำค้างยามเช้าหลงเหลือบ้าง ห้ามดื่มน้ำทะเลเด็ดขาด เพราะจะทำให้คุณขาดน้ำในที่สุด ให้หาวิธีเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดแทน
10.สำรวจตัวเองหาร่องรอยบาดเจ็บ



พอออกห่างเรือมาอยู่ในระยะที่ปลอดภัยแล้ว ให้รีบสำรวจตัวเองว่าบาดเจ็บตรงไหนหรือเปล่า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะบางทีคุณอาจต้องได้รับการรักษาโดยด่วน จุดที่ควรสังเกตก็คือเลือดไหลตรงไหนไหม ถ้ามีเลือดไหล แผลเล็กหรือใหญ่ อาจจะต้องห้ามเลือดด้วย tourniquet หรือสายพันห้ามเลือด เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ เพราะถ้าเสียเลือดมากจะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia)

แขน/ขาหักหรือเปล่า ถ้าหักก็ถือว่าเรื่องใหญ่ เพราะจะทำให้ว่ายน้ำลำบากขึ้น ถ้าพบว่าตัวเองแขน/ขาหัก ต้องรีบให้ผู้รอดชีวิตคนอื่นช่วยปฐมพยาบาล


ขอขอบคุณ

ข้อมูล :th.wikihow.com

ภาพ :www.gettyimages.com