ขนส่งฯกำหนดให้ใช้รถโดยสารขนาดเล็กแทนรถตู้ที่อายุครบ10ปีเริ่ม 1 ต.ค.นี้

     กรมการขนส่งทางบก กำหนดอายุการใช้งานรถตู้โดยสารประจำทางไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก เนื่องจากสภาพรถที่เก่าอุปกรณ์ชำรุด จะมีค่าบำรุงรักษาที่สูงกว่ารถใหม่ ทำให้เกิดความไม่คุ้มทุน 

       โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 กำหนดเปลี่ยนรถตู้โดยสารที่ครบอายุการใช้งานก่อน (ครบ 10 ปี) มีผู้ประกอบการขนส่งที่เข้าข่ายรถตู้ครบกำหนดอายุการใช้งาน (10 ปี) ในปี 2562 จำนวน 1,175 คัน สามารถนำรถตู้โดยสารใหม่ หรือรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนรถครั้งแรกมาเปลี่ยนทดแทนคันเดิมได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 หรือเลือกเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ด้วยรถโดยสารมาตรฐาน 2 (จ) ซึ่งมีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง (ที่ไม่ใช่ลักษณะรถตู้) และหรือรถโดยสารมาตรฐาน 2 (ค) จำนวนที่นั่งตั้งแต่ 21 - 30 ที่นั่ง เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก

รถโดยสารขนาดเล็กแทนรถตู้

        อีกทั้งยังมีโครงสร้างตัวรถแข็งแรง เหมาะกับการเดินทางระยะไกล เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นด้วยระบบเบรก แบบ ABS (Anti-lock Brake System) หรือระบบห้ามล้อแบบอื่นที่มีมาตรฐานเท่ากันหรือสูงกว่า แล.ะอุปกรณ์ภายในรถที่ กันไฟ ติดตั้ง GPS Tracking และอุปกรณ์แสดงผลความเร็ว (Speed Monitor) มีประตูฉุกเฉินรองรับกรณีหากเกิดอุบัติเหตุตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก

เพื่อความความปลอดภัย 

ให้ได้มาตรฐาน 

      เริ่มต้นตั้งแต่ 1 ต.ค.62 เป็นต้นไป จะได้ปรับมาใช้รถโดยสารปรับจำทางขนาดเล็กแทนรถตู้เก่าที่อายุครบ 10 ปี สภาพอาจจะชำรุด อันตรายต่อการขับขี่โดยสารของประชาชน 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก