เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จากรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ มีรายงานว่า นายกฤษดา หมวดน้อย
อายุ 63 ปี ชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ร้องทุกข์หลังได้รับหนังสือจากสำนักงานทนายความ ให้ชำระหนี้จำนวนสูงถึง 92
ล้านบาท ภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะดำเนินคดีตามกฎหมาย
โดยจากการสืบสาวราวเรื่องพบว่า ในอดีตแม่ของตนเองได้ขายที่ดินใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 19 ไร่ ให้กับนักการเมืองในพื้นที่และทำธุรกิจขายรถในหลายอำเภอ ซึ่งมีการทำหนังสือสัญญาซื้อขายในราคา 4 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2539 โดยผู้จะซื้อได้วางมัดจำไว้ 3 แสนบาท มีสัญญาว่าจะทำการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้ภายใน 100 วัน มิเช่นนั้นจะต้องถูกริบมัดจำ และต้องจ่ายเงินให้อีก 3 เท่า รวมเป็นเงิน 9 แสนบาท
แต่เมื่อใกล้จะถึงวันโอนตามสัญญา ผู้ซื้อได้มาบอกว่า ค่าโอนแพงและผู้ซื้อต้องออกเองจึงไม่อยากให้โอน และขอให้แม่เซ็นชื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนบริษัท เพราะไม่ต้องเสียค่าโอน จากนั้นได้เปลี่ยนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน ในราคา 5,750,000 บาท เพื่อค้ำประกันหนี้ให้บริษัทกับธนาคาร โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี
ในขณะนั้นแม่ตนเองมีอายุ 75 ปี อาจไม่มีที่ปรึกษาเพราะอยู่บ้านเพียงคนเดียว ลูกๆ ไปรับราชการที่อื่นกันหมด แม้แต่ตนเองก็มารับราชการเป็นครูอยู่ที่อำเภอบางสะพาน จากนั้นเรื่องดังกล่าวก็เงียบหายไป จนกระทั่งแม่มาเสียชีวิตเมื่อปี 2549 ต่อมามีหนังสือทวงหนี้ที่สำนักงานทนายความส่งมาให้ในฐานะที่ญาติ ซึ่งทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินถึง 92 ล้านบาท หลังบริษัทดังกล่าวได้เอาที่ดินแม่ไปเข้าจำนองไปกู้เงินมาหลายช่วง
เมื่อตนได้สอบถามไปยังเจ้าของบริษัทที่มาซื้อที่แม่ไป และนำเอาที่ดินแม่ไปเข้าธนาคารเพื่อค้ำประกันให้บริษัท ก็ได้รับคำตอบว่า บริษัทล้มละลายไปแล้ว แต่ตนไม่เข้าใจว่า คนมีหน้ามีตาในสังคมปล่อยบริษัทล้มละลายในขณะที่กิจการขายรถยังขยายใหญ่โตไปอีกหลายอำเภอ แต่ทำไมธนาคารจึงส่งทนายมาทวงหนี้กับตน ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการกระทำของแม่
ที่มาข้อมูล : morning-news.bectero.com
โดยจากการสืบสาวราวเรื่องพบว่า ในอดีตแม่ของตนเองได้ขายที่ดินใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 19 ไร่ ให้กับนักการเมืองในพื้นที่และทำธุรกิจขายรถในหลายอำเภอ ซึ่งมีการทำหนังสือสัญญาซื้อขายในราคา 4 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2539 โดยผู้จะซื้อได้วางมัดจำไว้ 3 แสนบาท มีสัญญาว่าจะทำการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้ภายใน 100 วัน มิเช่นนั้นจะต้องถูกริบมัดจำ และต้องจ่ายเงินให้อีก 3 เท่า รวมเป็นเงิน 9 แสนบาท
แต่เมื่อใกล้จะถึงวันโอนตามสัญญา ผู้ซื้อได้มาบอกว่า ค่าโอนแพงและผู้ซื้อต้องออกเองจึงไม่อยากให้โอน และขอให้แม่เซ็นชื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนบริษัท เพราะไม่ต้องเสียค่าโอน จากนั้นได้เปลี่ยนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน ในราคา 5,750,000 บาท เพื่อค้ำประกันหนี้ให้บริษัทกับธนาคาร โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี
ในขณะนั้นแม่ตนเองมีอายุ 75 ปี อาจไม่มีที่ปรึกษาเพราะอยู่บ้านเพียงคนเดียว ลูกๆ ไปรับราชการที่อื่นกันหมด แม้แต่ตนเองก็มารับราชการเป็นครูอยู่ที่อำเภอบางสะพาน จากนั้นเรื่องดังกล่าวก็เงียบหายไป จนกระทั่งแม่มาเสียชีวิตเมื่อปี 2549 ต่อมามีหนังสือทวงหนี้ที่สำนักงานทนายความส่งมาให้ในฐานะที่ญาติ ซึ่งทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินถึง 92 ล้านบาท หลังบริษัทดังกล่าวได้เอาที่ดินแม่ไปเข้าจำนองไปกู้เงินมาหลายช่วง
เมื่อตนได้สอบถามไปยังเจ้าของบริษัทที่มาซื้อที่แม่ไป และนำเอาที่ดินแม่ไปเข้าธนาคารเพื่อค้ำประกันให้บริษัท ก็ได้รับคำตอบว่า บริษัทล้มละลายไปแล้ว แต่ตนไม่เข้าใจว่า คนมีหน้ามีตาในสังคมปล่อยบริษัทล้มละลายในขณะที่กิจการขายรถยังขยายใหญ่โตไปอีกหลายอำเภอ แต่ทำไมธนาคารจึงส่งทนายมาทวงหนี้กับตน ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการกระทำของแม่
ที่มาข้อมูล : morning-news.bectero.com