จากที่ ศศินา
วิมุตตานนท์ ผู้ประกาศข่าวช่อง 7 ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Sasina
Wimuttanon พร้อมได้โพสต์คลิป "คำถามถึงชาวพุทธที่ไม่ใช่ธรรมกาย"
โดยระบุว่า "ไม่ได้ว่าใคร อย่าร้อนตัวนะคะ พูดตามความเป็นจริง
คนบุญในตัวไม่พอ ไม่ได้ดู ไม่เข้าใจหรอก
ทำไมเราจึงรักและศรัทธาในวิถีของวัดพระธรรมกาย บุญใครทำใครได้
บาปก็เช่นกันค่ะ โดย "ศศินา"
เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ.2550
โดยชุดดังกล่าวนั้น วัดพระธรรมกาย ได้ระบุว่า เป็นการสร้างเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์จำลองเพื่อสาธิตให้ประชาชนได้เห็นอานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวรในวันทอดกฐิน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม โดยทางวัดพระธรรมกายจะกำหนดให้ญาติโยมที่มาวัดใส่ชุดสีขาวเหมือนๆกัน เพื่อความเรียบง่ายไม่ประดับประดาหรือแต่งมาอวดกัน เสมอภาคเหมือนกันทุกฐานะชนชั้นซึ่งทำมาตั้งแต่สร้างวัด
ส่วนเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไม่ใช่ชุดที่จะใส่มาวัด แต่สาธิตให้ญาติโยมได้เห็นเพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีและเมื่ออ่านเจอเรื่องราวของเครื่องประดับนี้ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทจะได้นึกภาพออกโดยง่าย ทั้งนี้ ยังระบุอีกว่า ผู้ที่จะใช้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ซึ่งมีน้ำหนักมากนี้ได้ นอกจากมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีบุญด้วย เหมือนนางวิสาขาที่มีกำลังเท่ากับช้าง 5 เชือก
โดยชุดดังกล่าวนั้น วัดพระธรรมกาย ได้ระบุว่า เป็นการสร้างเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์จำลองเพื่อสาธิตให้ประชาชนได้เห็นอานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวรในวันทอดกฐิน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม โดยทางวัดพระธรรมกายจะกำหนดให้ญาติโยมที่มาวัดใส่ชุดสีขาวเหมือนๆกัน เพื่อความเรียบง่ายไม่ประดับประดาหรือแต่งมาอวดกัน เสมอภาคเหมือนกันทุกฐานะชนชั้นซึ่งทำมาตั้งแต่สร้างวัด
ส่วนเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไม่ใช่ชุดที่จะใส่มาวัด แต่สาธิตให้ญาติโยมได้เห็นเพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีและเมื่ออ่านเจอเรื่องราวของเครื่องประดับนี้ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทจะได้นึกภาพออกโดยง่าย ทั้งนี้ ยังระบุอีกว่า ผู้ที่จะใช้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ซึ่งมีน้ำหนักมากนี้ได้ นอกจากมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีบุญด้วย เหมือนนางวิสาขาที่มีกำลังเท่ากับช้าง 5 เชือก
ทั้งนี้
สำหรับประวัติ ของ "มหาลดาปสาธน์"
เป็นเครื่องประดับชุดแต่งงานของสาวชาวอินเดีย ซึ่งสวมคู่กับส่าหรี
โดยสวมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ตรงศีรษะก็ทำเป็นรูปนกยูงไว้ตัวนึง
ซึ่งส่วนประกอบก็เต็มไปด้วยของมีค่ามากมาย
ในสมัยพุทธกาลมีผู้ครอบครองมหาลดาปสาธน์ 3 คน คือ นางวิสาขา พระนางมัลลิกา
และลูกเศรษฐี ณ พาราณาสี
โดยมหาลดาปสาธน์ของนางวิสาขานั้น
ธนญชัยเศรษฐี (บิดา)
สั่งให้ช่างทองและช่างออกแบบทำเครื่องประดับโดยใช้ทองคำ 1,000 แห่ง เพชร 4
ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน แก้วประพาฬ 20 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน
และใช้เงินจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้ พบว่า วัดพระธรรมกาย ได้เริ่มพิธีการสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ตั้งแต่ปี 2548 ในพิธีทอดกฐิน ซึ่งเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก และบรรดาลูกศิษย์ต่างอยากได้เป็นผู้สวมใส่ชุดดังกล่าว
ทั้งนี้ พบว่า วัดพระธรรมกาย ได้เริ่มพิธีการสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ตั้งแต่ปี 2548 ในพิธีทอดกฐิน ซึ่งเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก และบรรดาลูกศิษย์ต่างอยากได้เป็นผู้สวมใส่ชุดดังกล่าว
ผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี 2548
ผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี 2550 ศศินา วิมุตตานนท์
ผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี 2556 กัลยา ปัญญาสกุลวงศ์
ผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ ปี 2557 ลลิตภัทร เจนจบ