ใครกำลังมองหาวิธีอยู่ลองเลย! 11 วิธีรักษาแผลเป็น และ วิธีลบรอยแผลเป็นให้ได้ผล!

รวบรวมสูตรวิธีการแก้แผลเป็น ให้กลับมามีผิวเรียบเนียน

ชนิดของแผลเป็น

1. แผลเป็นที่แบนราบแต่มีสีที่อ่อนกว่าหรือเข้มกว่าสีผิวปกติที่วนอยู่รอบๆ

2. แผลเป็นที่มีการดึงรั้งของผิวหนัง ทำให้ผิวมีความบิดเบี้ยวตามแรงดึงรั้งของแผลเป็น เกิดเป็นพังผืด

3. แผลเป็นที่มีความนูนหนา มีขอบเขตชัดเจนอยู่บนตัวแผล ไม่ขยายขอบออกจากแผล แผลอาจมีขนาดเล็กลงได้เอง

4. แผลเป็นชนิดคีลอยด์ มีความนูนหนาที่ลุกลามออกนอกตัวแผล มีลักษณะนูนแข็งเห็นชัดเจนจากผิวหนังปกติ และลามออกไปยังผิวหนังบริเวณข้างเคียง ตัวแผลมักนูนเหนือผิวหนังปกติตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป แผลเป็นจะไม่ยุบหายไปเอง มักพบแผลเป็นคีลอยด์ บริเวณต้นแขน หู หัวไหล่ ผิวบริเวณหน้าอก

วิธีการรักษาแผลเป็น

1. การใช้ยาทาแก้แผลเป็น ซึ่งจะช่วยให้แผลมีสีจางลงหรือบางลงได้แต่ต้องใช้เวลานาน

2. การใช้แผ่นเจลซิลิโคนติดบนแผลเป็น ช่วยลดการขยายตัวของแผล ลดการสูญเสียน้ำออกจากบริเวณรอยแผล มักใช้กับแผลเป็นที่เป็นใหม่ๆ โดยปิดทับแผลมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน อาจใช้ระยะเวลานาน 4-6 เดือน ไม่ควรใช้ขณะเป็นแผลเปิด

3. การฉีดยาสเตียรอยด์ ทำให้แผลเป็นแบนราบ ซึ่งใช้เวลาไม่เท่ากันขึ้นกับขนาดแผลเป็น หากมีแผลเป็นขนาดใหญ่จะใช้เวลานาน

4. การฉีดฟิลเลอร์ ใช้สำหรับแผลเป็นที่เป็นรอยบุ๋ม จะเห็นผลอยู่ประมาณ 6-8 เดือน หลังจากนั้นก็ต้องมาฉีดเพิ่มเพราะสารสังเคราะห์ที่ฉีดเข้าไปในรอยบุ๋มจะยุบตัวลงเอง

5. การสักสีผิว แพทย์จะสักสีเข้าไปในแผลเป็น ถ้าผู้ป่วยผิวสีขาว จะใช้สีขาวในการสัก ถ้าผิวสีแทนจะใช้สีแทนในการสัก

6. การลอกผิวด้วยกรดผลไม้ วิธีนี้เหมาะกับแผลเป็นลักษณะตื้นมากๆ

7. การเลเซอร์แผลเป็น การเลเซอร์จะทำลายเนื้อเยื่อผิวที่นูนให้เรียบขึ้น

8. การฉายรังสี เป็นการทำเพื่อไม่ให้แผลเป็นนูนมากขึ้น

9. การทำ IPL (intense pulse light) เป็นการใช้พลังงานของแสงไปทำให้เนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดเกิดการเรียงตัวได้เป็นระเบียบ ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวลานาน

10. การใช้ความเย็น (cryotherapy) ซึ่งอาจเป็นไนโตรเจนเหลวจี้บริเวณแผลเป็น เหมาะกับแผลเป็นที่นูนหนา ความเย็นจะทำให้เกิดภาวะถุงน้ำและเกิดการแตกสลายไป

11. การผ่าตัดเอาแผลเป็นเก่าออก แล้วเย็บแผลใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง การผ่าตัดแก้ไขจะทำเมื่อแผลเป็นนั้นสมบูรณ์เต็มที่แล้ว อาจต้องผ่าตัดนำผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งมาปิดแก้ไขแผลเป็นเดิม กรผ่าตัดจะต้องทำโดยศัลยแพทย์

ชนิดของยาทาแก้แผลเป็น

1. ยาทาแบบครีม เป็นยาทาที่มีส่วนผสมของน้ำมันมากกว่าน้ำ จึงทำให้เนื้อครีมมีความเข้มข้นสูง ยาประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่มีผิวแห้ง

2. ยาทาแบบเจล มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลัก มีส่วนผสมของน้ำมันในปริมาณน้อยหรือไม่มีเลย ทำให้ซึมลงสู่ผิวได้ง่ายและรวดเร็วกว่ายาทาแบบครีม เหมาะสำหรับคนที่ผิวบอบบางหรือแพ้ง่ายแต่ไม่เหมาะกับคนที่มีผิวแห้ง

การทายาควรทาในขณะที่ผิวกำลังเปียกชื้น เช่น หลังล้างหน้า หรือหลังอาบน้ำ เพื่อให้ยาซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว อาจทายาวันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำเช้า เย็น การทายาบ่อยเกินไปไม่สามารถรักษารอยแผลเป็นให้หายได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากรอยแผลเป็นจางลงแล้วสามารถหยุดใช้ยาได้

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ใครที่กำลังประสบปัญหามีแผลเป็นอยู่ ก็ลองเลือกสัก 1 วิธีในการแก้ปัญหาแผลเป็น แต่เป็นไปได้ยากมากที่แผลเป็นจะหายไป 100 % แต่อาจจะจางลงได้ แต่ต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นระยะเวลานาน