ธุรกิจ รพ.เฟื่อง ทุนเก่า-ใหม่ทุ่ม 2 หมื่นล้าน เปิดใหม่ 8 ทำเลทอง “ณพ
ณรงค์เดช” ผนึก “สหยูเนี่ยน-สหพัฒน์” ยึดซอยนวลจันทร์ รัชดา-รามอินทรา
“สินแพทย์” สยายปีก “ลำลูกกา-ประเวศ” รพ.มหาชัย จับมือบิ๊กบำรุงราษฎร์ ปั้น
“ทีพีพี เฮลท์แคร์” พฤกษาฯลงเข็ม “วิมุต อินเตอร์ฯ” ส่วน “ซีพี เมดิคัล
เซ็นเตอร์” ยึดบางนา ชี้เปิดศึกแย่งหมอ-พยาบาล
ปัจจุบันแม้ว่าโรงพยาบาลเอกชนจะมีอยู่มากกว่า 340 แห่งทั่วประเทศมีจำนวนเตียงทั้งระบบไม่ต่ำกว่า 35,000 เตียง และกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ดีมานด์ที่สูง และแนวโน้มธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการหลายค่ายยังเดินหน้าขยายการลงทุน และคาดว่าภายในปี 2563 จะมี รพ.เอกชนเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ-ชานเมืองอีก 5-6 โรงเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,000 เตียง
ทุ่ม 2.4 หมื่นล้านผุด รพ.ใหม่
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามี รพ.เอกชนหลายแห่งได้ทยอยยื่นขออนุญาตเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย สำหรับในเขตกรุงเทพฯ สผ.ได้พิจารณาอนุมัติไปแล้ว 7-8 โครงการ อาทิ รพ.ขนาด 152 เตียง ของบริษัท เคพีเอ็น เฮลท์แคร์ จำกัด (มหาชน), รพ.ขนาด 550 เตียงของบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, รพ.วิมุตติ, รพ.ธัญญเวช ลำลูกกา, รพ.สินแพทย์ บางนา และ รพ.อินทรารัตน์ เป็นต้น
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้โครงการต่าง ๆ ดังกล่าวได้เริ่มลงทุนและทยอยก่อสร้างแล้วเฉลี่ยแต่ละแห่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดิน ค่าอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ หรือรวมเป็นเม็ดเงินลงทุนประมาณ 18,000-24,000 ล้านบาท
“สินแพทย์” เปิดเพิ่ม 2 โรง
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากการสำรวจการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ พบว่า ล่าสุด รพ.ธัญญเวช ลำลูกกา รพ.ขนาด 211 เตียง ตั้งอยู่บนถนนลำลูกกา ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ดำเนินการในนาม บริษัท ธัญญเวช จำกัด บริษัทในเครือกลุ่ม รพ.สินแพทย์ ของนายสิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น รพ.รามคำแหง ขณะนี้การก่อสร้างได้ดำเนินการไปถึงชั้นที่ 11-12 แล้ว จากความสูงที่ยื่นขออนุญาตไว้ 17 ชั้น
นอกจากนี้ กลุ่ม รพ.สินแพทย์ ในนามของบริษัท โรงพยาบาลสินแพทย์ บางนา จำกัด ยังได้เริ่มก่อสร้าง รพ.สินแพทย์ บางนา รพ.ขนาด 264 เตียง เป็นอาคารสูง 6 ชั้น บนพื้นที่ 10 ไร่ บนถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอนเขตประเวศ กรุงเทพฯ ขณะนี้ก่อสร้างถึงชั้น 2-3 แล้ว
สหยูเนี่ยน-สหพัฒน์ร่วมวง
รพ.ขนาด 152 เตียง ของ บมจ.เคพีเอ็น เฮลท์แคร์ ที่ตั้งอยู่ในซอยนวลจันทร์ ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ล่าสุดเพิ่งล้อมรั้วและคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้ และจากการตรวจสอบพบว่า เคพีเอ็นฯ มีผู้ถือหุ้น บมจ.สหยูเนี่ยน 25% รองลงไปเป็นนายณพ ณรงค์เดช 18% และนายไกรวิน ศรีไกรวิน อดีตผู้บริหาร รพ.พญาไท12% และกลุ่มสหพัฒน์ถือหุ้นผ่าน บมจ.สหพัฒนพิบูล, บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง และ บมจ.ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนลรวม 10%
รพ.กลางกรุงแข่งเดือด
เช่นเดียวกับโครงการ รพ.ขนาด 550 เตียง ของบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ถือหุ้นโดย รพ.มหาชัย จำกัด (มหาชน) ของนายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช และบริษัท ทีพีพี โฮลดิ้ง จำกัด ของนายแพทย์สิน อนุราษฎร์ อดีตผู้อำนวยการด้านการแพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์ ก็ได้เริ่มการก่อสร้างฐานรากแล้วเช่นกัน เป็นอาคารสูง 23 ชั้น บนถนนพระรามที่ 4 คลองเตย ติดกับชุมชนเทพประทาน
ขณะที่ รพ.วิมุตติ อินเตอร์เนชั่นแนลของกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ พฤกษา เรียลเอสเตท ของนายทองมาวิจิตรพงศ์พันธุ์ ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างฐานราก เป็น รพ.ขนาด 254 เตียง บนถนนพหลโยธิน สะพานควาย ติดกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ล่าสุดได้เปลี่ยนชื่อเป็น รพ.วิมุต อินเตอร์เนชั่นแนล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วน รพ.อินทรารัตน์ ขนาด 152 เตียง บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนรามอินทรา ดำเนินการโดยบริษัท โรงพยาบาลอินทรารัตน์ จำกัด ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มทุนใหม่ที่กระโดดเข้าสู่ธุรกิจ รพ. มีผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วยนายชาติ นานาวราทร (22.58%) นางวรารัตน์ นานาวราทร (22.58%) นอกจากนี้ ยังมีชื่อของแพทย์จาก รพ.เอกชนอีกจำนวนหนึ่งที่ถือหุ้นด้วย อาทิ แพทย์หญิงกนกแก้ว วีวรรณ แพทย์หญิงศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ นายแพทย์ประภาส ธีระกุล และที่น่าจับตาก็คือ รพ.น้องใหม่รายนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งถนนและห่างจาก รพ.สินแพทย์ เจ้าตลาดในย่านถนนรามอินทรา เพียง 1.5-2 กิโลเมตรเท่านั้น
ผ่านอีไอเอ-รอจังหวะลงทุน
นอกจากนี้ยังพบว่า มี รพ.อย่างน้อยอีก 2 แห่ง ที่ผ่านอีไอเอแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างอาทิ รพ.หทัยราษฎร์ ในเครือ รพ.เซ็นทรัล เยนเนอรัล ตามแผนจะสร้างเป็นอาคาร 9 ชั้น 126 เตียง บนถนนหทัยราษฎร์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ และโครงการอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล ฮอสพิทอล ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตเจ้าของโรงพยาบาลพญาไท ตามแผนจะสร้างเป็น รพ.ขนาด 304 เตียง อาคารสูง 21 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น บนพื้นที่ 6 ไร่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ทั้งยังมีกลุ่มทุนอีกหลายรายที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการโรงพยาบาล และคาดว่าอยู่ระหว่างการยื่นขออีไอเอ อาทิ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่จดทะเบียนตั้ง บริษัท ซีพี เมดิคัล เซ็นเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
เปิดศึกแย่ง “หมอ-พยาบาล”
ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ยอมรับว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการแย่งซื้อตัวแพทย์และพยาบาล และจะทำให้ รพ.เอกชนขนาดกลางหรือ รพ.เดี่ยวลำบาก เนื่องจากถูกดึงตัว ขณะเดียวกันก็จะส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขันที่สูงขึ้น มีการเล่นเรื่องราคากันมากขึ้น โดยเฉพาะในย่านที่มีโรงพยาบาลเปิดอยู่ในรัศมีที่ใกล้ ๆ กัน
“นอกจากการดึงตัวระหว่าง รพ.เอกชนด้วยกันแล้ว รพ.เปิดใหม่ก็จะดึงหมอจาก รพ.รัฐ โดยเฉพาะจาก รพ.ศูนย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน”
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจ
ปัจจุบันแม้ว่าโรงพยาบาลเอกชนจะมีอยู่มากกว่า 340 แห่งทั่วประเทศมีจำนวนเตียงทั้งระบบไม่ต่ำกว่า 35,000 เตียง และกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ดีมานด์ที่สูง และแนวโน้มธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการหลายค่ายยังเดินหน้าขยายการลงทุน และคาดว่าภายในปี 2563 จะมี รพ.เอกชนเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ-ชานเมืองอีก 5-6 โรงเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,000 เตียง
ทุ่ม 2.4 หมื่นล้านผุด รพ.ใหม่
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามี รพ.เอกชนหลายแห่งได้ทยอยยื่นขออนุญาตเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย สำหรับในเขตกรุงเทพฯ สผ.ได้พิจารณาอนุมัติไปแล้ว 7-8 โครงการ อาทิ รพ.ขนาด 152 เตียง ของบริษัท เคพีเอ็น เฮลท์แคร์ จำกัด (มหาชน), รพ.ขนาด 550 เตียงของบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, รพ.วิมุตติ, รพ.ธัญญเวช ลำลูกกา, รพ.สินแพทย์ บางนา และ รพ.อินทรารัตน์ เป็นต้น
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้โครงการต่าง ๆ ดังกล่าวได้เริ่มลงทุนและทยอยก่อสร้างแล้วเฉลี่ยแต่ละแห่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดิน ค่าอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ หรือรวมเป็นเม็ดเงินลงทุนประมาณ 18,000-24,000 ล้านบาท
“สินแพทย์” เปิดเพิ่ม 2 โรง
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากการสำรวจการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ พบว่า ล่าสุด รพ.ธัญญเวช ลำลูกกา รพ.ขนาด 211 เตียง ตั้งอยู่บนถนนลำลูกกา ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ดำเนินการในนาม บริษัท ธัญญเวช จำกัด บริษัทในเครือกลุ่ม รพ.สินแพทย์ ของนายสิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น รพ.รามคำแหง ขณะนี้การก่อสร้างได้ดำเนินการไปถึงชั้นที่ 11-12 แล้ว จากความสูงที่ยื่นขออนุญาตไว้ 17 ชั้น
นอกจากนี้ กลุ่ม รพ.สินแพทย์ ในนามของบริษัท โรงพยาบาลสินแพทย์ บางนา จำกัด ยังได้เริ่มก่อสร้าง รพ.สินแพทย์ บางนา รพ.ขนาด 264 เตียง เป็นอาคารสูง 6 ชั้น บนพื้นที่ 10 ไร่ บนถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอนเขตประเวศ กรุงเทพฯ ขณะนี้ก่อสร้างถึงชั้น 2-3 แล้ว
สหยูเนี่ยน-สหพัฒน์ร่วมวง
รพ.ขนาด 152 เตียง ของ บมจ.เคพีเอ็น เฮลท์แคร์ ที่ตั้งอยู่ในซอยนวลจันทร์ ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ล่าสุดเพิ่งล้อมรั้วและคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้ และจากการตรวจสอบพบว่า เคพีเอ็นฯ มีผู้ถือหุ้น บมจ.สหยูเนี่ยน 25% รองลงไปเป็นนายณพ ณรงค์เดช 18% และนายไกรวิน ศรีไกรวิน อดีตผู้บริหาร รพ.พญาไท12% และกลุ่มสหพัฒน์ถือหุ้นผ่าน บมจ.สหพัฒนพิบูล, บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง และ บมจ.ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนลรวม 10%
รพ.กลางกรุงแข่งเดือด
เช่นเดียวกับโครงการ รพ.ขนาด 550 เตียง ของบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ถือหุ้นโดย รพ.มหาชัย จำกัด (มหาชน) ของนายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช และบริษัท ทีพีพี โฮลดิ้ง จำกัด ของนายแพทย์สิน อนุราษฎร์ อดีตผู้อำนวยการด้านการแพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์ ก็ได้เริ่มการก่อสร้างฐานรากแล้วเช่นกัน เป็นอาคารสูง 23 ชั้น บนถนนพระรามที่ 4 คลองเตย ติดกับชุมชนเทพประทาน
ขณะที่ รพ.วิมุตติ อินเตอร์เนชั่นแนลของกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ พฤกษา เรียลเอสเตท ของนายทองมาวิจิตรพงศ์พันธุ์ ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างฐานราก เป็น รพ.ขนาด 254 เตียง บนถนนพหลโยธิน สะพานควาย ติดกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ล่าสุดได้เปลี่ยนชื่อเป็น รพ.วิมุต อินเตอร์เนชั่นแนล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วน รพ.อินทรารัตน์ ขนาด 152 เตียง บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนรามอินทรา ดำเนินการโดยบริษัท โรงพยาบาลอินทรารัตน์ จำกัด ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มทุนใหม่ที่กระโดดเข้าสู่ธุรกิจ รพ. มีผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วยนายชาติ นานาวราทร (22.58%) นางวรารัตน์ นานาวราทร (22.58%) นอกจากนี้ ยังมีชื่อของแพทย์จาก รพ.เอกชนอีกจำนวนหนึ่งที่ถือหุ้นด้วย อาทิ แพทย์หญิงกนกแก้ว วีวรรณ แพทย์หญิงศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ นายแพทย์ประภาส ธีระกุล และที่น่าจับตาก็คือ รพ.น้องใหม่รายนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งถนนและห่างจาก รพ.สินแพทย์ เจ้าตลาดในย่านถนนรามอินทรา เพียง 1.5-2 กิโลเมตรเท่านั้น
ผ่านอีไอเอ-รอจังหวะลงทุน
นอกจากนี้ยังพบว่า มี รพ.อย่างน้อยอีก 2 แห่ง ที่ผ่านอีไอเอแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างอาทิ รพ.หทัยราษฎร์ ในเครือ รพ.เซ็นทรัล เยนเนอรัล ตามแผนจะสร้างเป็นอาคาร 9 ชั้น 126 เตียง บนถนนหทัยราษฎร์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ และโครงการอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล ฮอสพิทอล ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตเจ้าของโรงพยาบาลพญาไท ตามแผนจะสร้างเป็น รพ.ขนาด 304 เตียง อาคารสูง 21 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น บนพื้นที่ 6 ไร่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ทั้งยังมีกลุ่มทุนอีกหลายรายที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการโรงพยาบาล และคาดว่าอยู่ระหว่างการยื่นขออีไอเอ อาทิ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่จดทะเบียนตั้ง บริษัท ซีพี เมดิคัล เซ็นเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
เปิดศึกแย่ง “หมอ-พยาบาล”
ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ยอมรับว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการแย่งซื้อตัวแพทย์และพยาบาล และจะทำให้ รพ.เอกชนขนาดกลางหรือ รพ.เดี่ยวลำบาก เนื่องจากถูกดึงตัว ขณะเดียวกันก็จะส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขันที่สูงขึ้น มีการเล่นเรื่องราคากันมากขึ้น โดยเฉพาะในย่านที่มีโรงพยาบาลเปิดอยู่ในรัศมีที่ใกล้ ๆ กัน
“นอกจากการดึงตัวระหว่าง รพ.เอกชนด้วยกันแล้ว รพ.เปิดใหม่ก็จะดึงหมอจาก รพ.รัฐ โดยเฉพาะจาก รพ.ศูนย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน”
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจ