ที่นี่ เด็กกำพร้ากว่า 700 ชีวิต ได้เรียน-กินอิ่มนอนหลับ

ที่นี่ เด็กกำพร้ากว่า 700 ชีวิต ได้เรียน-กินอิ่มนอนหลับ

•••ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ชีวิต••• เปิด “วัดดอนจั่น” จ.เชียงใหม่ ++

จากความเมตตาของพระครูปราโมทย์ ตลอดจนน้ำใจจิตอาสาก่อกำเนิด •••โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต•••

ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นโรงเรียนและสถานรับอุปการะเด็กด้อยโอกาสของภาคเหนือ มายาวนานกว่า 33 ปีแล้ว+++

บ้านและโรงเรียนของเด็กยากไร้ในยามที่ผู้คนเดินทางไปที่วัด ภาพคุ้นตาส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นภาพของคนที่ไปทำบุญหรือศึกษาปฏิบัติธรรม++

เพื่อแสวงหาความสงบ แต่สำหรับ วัดดอนจั่น ใน ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ไม่ได้มีเพียงแค่ภาพนั้น เพราะใครก็ตามที่มา++

เด็กๆเยอะมาก

จะได้เห็นภาพของเหล่าเด็กๆ มากหน้าหลายตา อาศัยอยู่รวมกันและศึกษาเล่าเรียน ณ ที่แห่งนี้อีกด้วย…

นั่นก็เพราะวัดดอนจั่นคือสถานอุปการะและให้โอกาสเด็กยากไร้ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ปัจจุบันมีเด็กในการดูแลของวัดจำนวนมากกว่า 700 คน++

พระครูปราโมทย์ ประชานุกูล เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ผู้ก่อตั้งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต กล่าวว่า ปี พ.ศ.2528 วัดดอนจั่นได้ก่อตั้งโครงการนี้++

จนมาถึงปัจจุบัน ก็เป็นเวลา 33 ปีแล้ว อาตมาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเด็ก 700 คน

สิ่งที่อาตมานำมาบริหารจัดการเด็กวัดดอนจั่น จะใช้หลักพุทธธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา

สำหรับเด็กที่อยู่ในการดูแลของวัดดอนจั่นนั้นส่วนใหญ่เป็นเด็กในกลุ่มเด็กกำพร้า เด็กยากจน เด็กด้อยโอกาส.

รวมไปถึงเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มาจากครอบครัวยากจนและขาดโอกาสทางการศึกษาซึ่งหากยังอยู่ตามลำพังหรืออยู่กับพ่อแม่ที่ไม่พร้อม…

ก็อาจไม่สามารถเติบโต เรียนหนังสือ หรือทำงานนอกจากพระครูปราโมทย์แล้ว ยังมี จอมศักดิ์ ประสานไกรทองหรือ ครูเก๋ หนึ่งในผู้ดูแลโรงเรือนวัดดอนจั่น***

ที่ศรัทธาในแนวคิดของพระครูปราโมทย์จึงอาสามาช่วยให้ความรู้แก่เด็กๆ และตัดสินใจมาเป็นครูผู้ปกครอง ที่ทำหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ทุกอย่าง***

ไม่ต่างไปจากผู้ปกครองจริงๆ และที่สำคัญคือ จะไม่มีการ •••ตีเด็ก••• โดยเด็ดขาด

ที่วัดดอนจั่นจะรับเด็กเริ่มจากเด็กฐานะยากจนและกำพร้าแต่ไม่ใช่แค่นั้นบางคนเป็นเด็กฐานะปานกลางเราก็รับ เพราะมีกรณีนึงเป็นเด็กผู้หญิง

ที่โรงเรียนกับบ้านไกลกัน 30 กิโล เส้นทางต้องขึ้น – ลงดอย ใช้เวลาครึ่งวันครับกว่าจะมาถึงโรงเรียนซึ่งเด็กที่อยู่ตามดอย ถ้าไม่ได้เรียนหนังสือก็ต้องแต่งงาน

ก็เลยคิดว่าถ้าเราไม่รับพ่อแม่เขาก็ไม่ให้เรียน ผมเลยจำเป็นต้องรับถึงแม้บ้านเขาจะฐานะปานกลาง ส่วนเด็กพิการก็มีแต่เราก็ไม่รับถึงขนาดว่าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

เด็กทุกคนต้องมาอยู่ที่นี่ครับ กินฟรี อยู่ฟรี มีอาหารการกินให้ 3 มื้อ การดูแลเด็กของที่นี่ต้องเข้าใจเด็กก่อน บางที่ตีเด็กแต่ทางนี้เราไม่ทำ**

เพราะว่าผมคิดว่าเด็กซนเป็นเด็กแข็งแรง ถ้าเด็กดื้อผมถือเป็นเด็กฉลาด ถ้าไม่ฉลาดเขาจะไม่สามารถเฉไฉไปเรื่องอื่นได้การมาช่วยงานนี้ผมไม่คิดว่ามีเรื่องอะไรหนักใจ**

เราอย่าใช้คำว่า ‘อยู่กับเด็กต้องทำใจ’ มันจะเหมือนคนจำใจอยู่ จำใจทำ เพราะฉะนั้นอยู่กับเด็กเราต้องเข้าใจเด็กว่าเขามีนิสัยแบบนี้ แล้วเขาจะพัฒนา อย่างเด็กดื้อ**

เราจะมาแก้แบบไหน เด็กที่ซนผมถือว่าเป็นเด็กแข็งแรง จะไปตีทำไม แข็งแรงก็ดีอยู่แล้ว ถ้าเด็กเงียบ ซึม หงอยเหงาไม่อ่อนแอก็ต้องป่วย

ซึ้งน้ำใจจิตอาสา อุทิศตนเพื่อ •••วัดดอนจั่น•••นอกจากจะเป็นสถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสในเขตจังหวัดภาคเหนือแล้ว

วัดดอนจั่น ยังมีการเปิดสถานศึกษา ซึ่งครูเก๋ ก็ได้เล่าว่า มีการจัดเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษามัธยมศึกษา ตลอดจนถึงระดับวิทยาลัย

โดยจะใช้ธรรมะและหลักการทำสมาธิเข้าไปอยู่ในกิจวัตรประจำวันเสมอต่อสะพานบุญ เพื่อเด็ก 700 ชีวิต+++

แม้จะมีจิตอาสาอย่างครูเก๋และแม่เล็กที่เสียสละเวลาลงกำลังแรงกาย แรงใจ เพื่อดูแลเหล่าเด็กๆ ทั้ง 700 กว่าคนที่อยู่ในวัยกำลังกินกำลังนอนแล้ว…

แต่ทางวัดดอนจั่นเองก็ยังมีสิ่งที่ขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน…

•••ที่นี่มีนักเรียนหญิงประมาณ 450 คน จะซักผ้ารอบละ 150 คน แบ่งเป็น 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ฉะนั้นผงซักฟอกต้องใช้จำนวนมาก…

แล้วผู้หญิงมีผมยาวต้องสระผม ใช้แชมพู เด็กเล็กต้องผจญกับเรื่องเหาต้องมียาฆ่าเหา ที่จำเป็นจริงๆคือผงซักฟอก แชมพู ยาฆ่าเหา น้ำยาล้างจาน…

น้ำยาล้างห้องน้ำ ยารักษาโรค ยาแก้เมารถเวลาเด็กเดินทางไปแข่งกีฬายาแก้ปวดท้องประจำเดือนของเด็กผู้หญิง แต่ขอไม่เอาพาราเซตามอล…

เพราะผมไม่สนับสนุนให้เด็กกิน ถ้าเด็กออกกำลังกายร่างกายจะแข็งแรง••• ครูเก๋กล่าว…

ส่วนทางด้านของพระครูปราโมทย์ก็กล่าวถึงเรื่องการรับบริจาคของทางวัดว่า •••วัดดอนจั่นได้ใช้ทฤษฎีกฎของธรรมชาติทุกๆ เรื่องจะไม่มีการสะสมวัตถุสิ่งของ…

ถ้ามีแล้วก็จะแบ่งปันให้กับองค์กรต่างๆ ที่ลำบากกว่า ที่มาขอพึ่งใบบุญ ถ้าวัดได้รับบริจาคมาก็จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นแผนกๆ วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ…

ทุกอย่างไม่ได้ใช้เงินมาจากการบริหารโครงการของวัด วัดเราอยู่ได้โดยไม่ใช้เงิน ใช้เงินแค่ 30 % เช่นค่าไฟฟ้า เดือนละประมาณแสนกว่าบาทที่เราต้องจ่าย.

นี่เป็นเรื่องหนักที่สุดของวัดคือค่าไฟเพราะเด็กกินนอนอยู่นี่เท่ากับ 1 หมู่บ้าน เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ที่ญาติโยมบริจาควัดดอนจั่นจะใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดทุกๆ**

เรื่อง แต่พยายามจะไม่รับเงินบริจาค ถ้ารับก็ขอเป็นวัสดุครุภัณฑ์ ผู้ถวายก็มีความสุข อาตมารับก็มีความสุข•••…

ร่วมทำบุญช่วยเหลือและบริจาคสิ่งของ สามารถบริจาคได้ที่ วัดดอนจั่น ม.2 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สอบถาม โทร. 053-240184

•••1 แชร์ 1 สะพานบุญ เกื้อหนุนเด็กๆ 700 กว่าชีวิต•••

ขอบคุณข้อมูลจาก…MGR Online