Home »
Uncategories »
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลูกจ้างเพียบ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลูกจ้างเพียบ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลูกจ้างเพียบ
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่
เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง ได้รับดอกเบี้ยปีละ 15%
หากมีการผิดนัดจ่ายค่าจ้าง หวังยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้สูงขึ้น
วันที่ 15 สิงหาคม 2560 พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า
ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยร่างกฎหมายมีสาระสำคัญ
ดังนี้
กำหนดให้นายจ้างที่ผิดนัดการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกจ้างที่อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปีของค่าจ้าง
เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและนายจ้างใหม่ก่อนรับไปทั้งสิทธิหน้าที่
กำหนดให้ลูกจ้างชายและหญิง หากทำงานในประเภทเดียวกัน
มีปริมาณงานและคุณภาพของงานรูปแบบเดียวกัน
ต้องได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งเพศ
กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี
กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาตรวจครรภ์ 90 วัน ก่อนคลอดบุตรได้ โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 45 วัน
กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง
หากทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป
ให้รับค่าชดเชยไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสูงที่สุด จำนวน 400 วัน
จากเดิมกำหนดว่า หากทำงานครบ 10 ปี ให้รับค่าจ้างชดเชย 300 วัน
พลโท สรรเสริญ กล่าวอีกว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
นั้น มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานาน
ทำให้บทบัญญัติบางอย่างไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และไม่เอื้อประโยชน์ในการคุ้มครองลูกจ้าง
จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้สูงขึ้น
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลูกจ้างเพียบ
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่
เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง ได้รับดอกเบี้ยปีละ 15%
หากมีการผิดนัดจ่ายค่าจ้าง หวังยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้สูงขึ้น
วันที่ 15 สิงหาคม 2560 พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า
ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยร่างกฎหมายมีสาระสำคัญ
ดังนี้
กำหนดให้นายจ้างที่ผิดนัดการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกจ้างที่อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปีของค่าจ้าง
เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและนายจ้างใหม่ก่อนรับไปทั้งสิทธิหน้าที่
กำหนดให้ลูกจ้างชายและหญิง หากทำงานในประเภทเดียวกัน
มีปริมาณงานและคุณภาพของงานรูปแบบเดียวกัน
ต้องได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งเพศ
กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี
กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาตรวจครรภ์ 90 วัน ก่อนคลอดบุตรได้ โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 45 วัน
กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง
หากทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป
ให้รับค่าชดเชยไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสูงที่สุด จำนวน 400 วัน
จากเดิมกำหนดว่า หากทำงานครบ 10 ปี ให้รับค่าจ้างชดเชย 300 วัน
พลโท สรรเสริญ กล่าวอีกว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
นั้น มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานาน
ทำให้บทบัญญัติบางอย่างไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และไม่เอื้อประโยชน์ในการคุ้มครองลูกจ้าง
จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้สูงขึ้น