หายสงสัย คนสายตาปกติ vs สายตามีปัญหา มองเห็นต่างกันอย่างไร

เป็นปัญหาโลกแตกที่หลายคนก็ตั้งคำถามอยู่เสมอ กับคำถามที่ว่า คนสายตาปกติ กับคนสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง มองเห็นแตกต่างกันอย่างไร บางคนก็ไม่เข้าใจ คนสายตาผิดปกติก็เบื่อที่ต้องมานั่งตอบคำถามเหล่านี้

         ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ หมอเวร โดยโรงพยาบาลสินแพทย์ ได้ออกมาไขข้อสงสัย ด้วยการทำภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆว่า การมองเห็นของคนสายตาปกติ กับคนสายตามีปัญหาต่างๆ แตกต่างกันอย่างไร โดยทางเพจได้ระบุว่า...

       "วันก่อนไปคุยกับหมอตาที่สินแพทย์มา ได้ความรู้เกี่ยวกับอาการทางสายตาแต่ละประเภท ว่าเค้ามองเห็นภาพที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? ลองค่อยๆไล่ดูภาพความรู้ที่หมอถ่ายมานะ แต่บอกไว้ก่อนว่าหมอหวงทุกคน ใครกดหัวใจแบน 3 วัน"

         สายตาสั้นก็จะมีการมองเห็นที่แตกต่างกันนะ ถ้าสั้นมากภาพอาจจะเบลอทั้งหน้าจอเลย  แต่ถ้าสั้นไม่เยอะมาก ก็จะเห็นประมาณในรูปนี้แหละเวลามองใกล้ๆจะชัด แต่มองไกลๆจะเบลอ

อันนี้ก็ตรงข้ามกับสายตาสั้นนี่แหละ มองภาพระยะใกล้ๆไม่ชัด แต่มองไกลกลับชัดเจนดี

         คนที่มีอาการตาเหล่หรือตาเข ถ้าช่วงตายังปรับตัวไม่ได้จะมองเห็นเป็นภาพซ้อนหรือเบลอๆ แต่พอนานไปสมองจะปรับตัว ค่อยๆตัดการรับสัญญาณของตาที่ผิดปกติออก ทำให้ตาข้างที่เบี้ยวมองไม่เห็น และใช้การมองหลักๆจากตาอีกข้างที่ปกติแทน ทำให้การมองเห็นจึงชัดเจนมากขึ้น (แต่อาจกะระยะได้ไม่ค่อยดีนัก) คนตาเหล่หรือตาเขบางประเภท อาจมีการผิดปกติแค่การมองเห็นทางลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่การมองเห็นของคนไข้อาจจะชัดเจนตามปกติได้ด้วย

        คนที่สายตาเอียงนี่บางรายใกล้ก็ไม่ชัด / ไกลก็ไม่ชัด ทำให้ภาพที่มองเห็นอาจเบลอทั้งหมดแบบในรูปนี้ หรือบางรายอาจเห็นภาพซ้อนกันเล็กๆเหมือนกรณีผู้ป่วยตาเขก็ได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการสายตา อาจมีสายตาสั้นหรือสายตายาวแฝงร่วมด้วย ทำให้การมองเห็นยิ่งแย่ลงไปอีกนั่นเอง

       คนที่เป็นต้อหินมักมีปัจจัยเสี่ยงจากหลายๆสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นต้อหินมาก่อน รวมถึงอาจเกิดจากมีความดันลูกในตาสูง เป็นต้น การมองเห็นของคนเป็นต้อกรณีทิ้งไว้นาน มักจะมองเห็นชัดแต่บริเวณกึ่งกลางของภาพนั่นเอง

        การมองเห็นของคนเป็นต้อกระจก มักจะเห็นเป็นภาพขุ่นมัว บางรายอาจมีอาการตาแพ้แสงจ้าควบคู่กันด้วย เห็นได้ชัดจากเวลาขับรถกลางคืน ตาของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสู้แสงไฟรถที่สวนมาไม่ได้เลยนั่นเอง

         หลายคนคงได้ยินกันบ่อยๆกับคำว่า “เบาหวานขึ้นตา” นั่นแหละคือการของคนเป็นโรคนี้เลย  เบื้องต้นผู้ป่วยอาจจะเริ่มมีอาการตามัวลง บางรายหากมีการปริแตกของเส้นเลือดในตา ก็ทำให้มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา จนทำให้เห็นเป็นจุดดำลอยฟุ้งกระจายในดวงตาได้ 

      วิธีสังเกตง่ายๆ ของคนเป็นโรคนี้คือ เวลามองท้องฟ้าจะเห็นเส้นตัวหนอนดำๆ นี้วิ่งอยู่ทั่วหน้าจอภาพเลย และตัวหนอนนี้จะคอยวิ่งตามการกรอกตาอยู่ตลอดเวลา

        อาการตาบอดสีจริงๆแล้วมีหลายประเภท (แต่อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาให้ดู เป็นหนึ่งในอาการผู้ป่วยตาบอดสีชนิดรุนแรงนะ) ปกติแล้วเราจะจำแนกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน

        1.แบบ Anomalous Trichromacy  ประเภทนี้จะมีการรับรู้สีที่ผิดเพี้ยนไป กรณีนี้จะแยกย่อยเป็นอีก 3 แบบคือ 

        A. มองเห็นสีเขียวไม่ชัด อาการคือแยกแยะสีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีส้ม และสีเหลืองไม่ออก...

        B.มองเห็นสีเขียวกับแดงเป็นสีเดียวกัน รวมถึงมองเห็นสีน้ำเงินและม่วงเป็นสีเดียวกันด้วย

        C.มองเห็นสีเหล่านี้เป็นสีเดียวกัน สีน้ำเงิน-เหลือง, ม่วง-แดง, เขียว-น้ำเงิน และผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมองเห็นโลกทั่วไปเป็นสีแดง ชมพู ดำ ขาว เทา เขียวขุ่นด้วย

        2. แบบ Dichromacy ประเภทนี้จะมีการรับรู้สีแบบสีใดสีหนึ่งหายไปเลย แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน

        A. มองเห็นสีแดง = สีดำ, 

        มองเห็นสีเขียวเข้ม / ส้มเข้ม / แดงเข้ม = สีน้ำตาลเข้ม

        มองเห็นสีแดง / ม่วง / ชมพูเข้ม = สีน้ำเงิน 

        มองเห็นสีส้ม = สีเขียว

        B. มองเห็นสีชมพู / เทา = สีเขียวอมฟ้า

        มองเห็นสีส้มเข้ม / แดงเข้ม = สีน้ำตาลเข้ม

        มองเห็นสีแสง / ชมพูเข้ม / ม่วง = สีน้ำเงิน

        มองเห็นสีส้ม = สีเขียว

        3. แบบ Monochromacy

        ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่ตาไม่สามารถเห็นสีใดๆได้เลย นอกจากสีขาว – เทา – ดำ ถือเป็นกลุ่มที่ภาวะตาบอดสีรุนแรงที่สุดหน่ะนะ

        ความรักบังตา อาการของผู้ป่วยคือ เวลาไม่อยากเห็นสิ่งใด เขาก็จะมองข้ามสิ่งนั้นไปอัตโนมัติ...ซึ่งอันนี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่สายตา แต่เป็นที่นิสัยส่วนตัว

        ต่อไปนี้คนสายตาปกติก็เลิกชูสองนิ้วแล้วถามคนสายตาผิดปกติว่า "นี่กี่นิ้ว" ได้แล้วนะคะ เพราะเขาก็มองเห็นเหมือนเรา แต่แค่ภาพไม่ชัดเจนเท่านั้นเอง

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก หมอเวร