Home »
Uncategories »
กะทกรกป่า กินเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด
กะทกรกป่า กินเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด
กะทกรกป่า หรือรู้จักกันในชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ
ว่า บักหิงห่าง , เงาะป่า ,ลูกรกช้าง หรือ ผ้าร้ายห่อทอง และอื่นๆ
เป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ
และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน
และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ
ใบกะทกรกป่า มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ
ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก
แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว
ดอกกะทกรกป่า ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบดอก 10 กลีบ
กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว
มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย
ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสรตัวผู้ประมาณ 5-8 ก้าน
ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 ก้าน รังไข่เกลี้ยง
ผลกะทกรกป่า หรือ ลูกกะทกรก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม
ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม
และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ
(คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ) มีรสหวานแบบปะแล่ม ๆ
และจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
สรรพคุณของกะทกรกป่า
- เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง (เปลือก)
- เนื้อไม้ใช้เป็นยาควบคุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้) ส่วนเถาใช้เป็นยาธาตุ (เถา)
- รากสดหรือรากตากแห้งใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น (ราก)
- ผลดิบมีรสเมาเบื่อ ส่วนผลสุกมีรสหวานเย็น ช่วยบำรุงปอด (ผล)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
- ช่วยถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง (ราก)
- แพทย์ชาวเวียดนามใช้ใบเป็นสงบระงับ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล
ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบนำมาตำใช้พอกหรือประคบที่ศีรษะ (ใบ)
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น (ราก)
- ใบใช้ตำพอกศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก (ใบ)
- ช่วยแก้อาการไอ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
- ช่วยขับเสมหะ (ใบ, ต้น, ทั้งต้น)
- เมล็ดใช้แก้เด็กที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม
ด้วยการนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำส้มและรมควันให้อุ่น
แล้วเอาไปทาท้องเด็ก (เมล็ด)
- ใบนำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาเบื่อและยาขับพยาธิ (ใบ)
- ดอก ใบ และทั้งต้นมีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
- เถาและรากสดใช้ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ราก)
- ช่วยแก้กามโรค (ราก)
- ช่วยรักษาบาดแผล (เนื้อไม้, ใบ, ผล และเถาใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (เถา)
- ใบใช้ตำพอกฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
- เปลือกใช้ตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว ช่วยแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก (เปลือก)
- เปลือกช่วยทำให้แผลเน่าเปื่อยแห้ง (เปลือก)
- ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำพอสมควร นำมาทาวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด แก้หืด (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวด (ผล)
- ช่วยแก้อาการบวม (ใบ, ต้น, ทั้งต้น)แก้อาการบวมที่ไม่รู้สาเหตุ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา โดยนำมาสับตากแดด แล้วนำมาต้มกิน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ใบนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้พอกรักษาสิว (ใบ)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกะทกรกป่า
ผลอ่อนและใบอ่อนมีสารประกอบไซยาไนต์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์
ส่วนอีกรายพบว่าใบกะทกรกมีกรดไฮโดรไซยานิก ซึ่งเป็นสารพิษ
แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อนที่นานพอ
และในงานวิจัยยังใช้ส่วนของลำต้นและใบ
เพื่อนำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี
โดยสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเรื่องด้วยเครื่องสกัดต่อเนื่อง ด้วยเอทานอล 95%
จะได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก
ซึ่งสารสกัดที่ได้จะเป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นหนืด เป็นสีน้ำตาล
และมีกลิ่นเฉพาะตัว
เมื่อให้สารสกัดกะทกรกทางปากในสัตว์ทดลองซึ่งเป็นหนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วง
180-220 กรัม เป็นระยะเวลา 28 วัน
พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวาง
มีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้ สามารถช่วยระงับความวิตกกังวล ช่วยลดอาการซึมเศร้า
ลดอาการความจำบกพร่อง
และยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด
125 มิลลิกรัมต่อเม็ด
ซึ่งจะได้เป็นยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตเป็นยาสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ
และยังมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพดี มีความคงตัวสูง
ประโยชน์ของกะทกรกป่า
ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด
หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง
ผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้
ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic
glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้
โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัว
ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้
ข้อควรระวังในการรับประทานกะทกรกป่า
ทั้งต้นสดมีรสเบื่อเมาและเป็นพิษ หากนำมากินอาจทำให้เสียชีวิตได้
แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงต้องนำไปต้มให้สุกก่อนนำมาใช้
ผลอ่อนมีพิษ เนื่องจากมีสารไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ (Cyanogenetic
glucoside) เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว
เมื่อสารดังกล่าวสลายตัวจะทำให้ Acetone และ Hydrocyanic acid
(สารชนิดหลังเป็นพิษ) ทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการอาเจียน