ถือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่กลายเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจให้สำนักรู้ดีชั่วต่อการคิดกระสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อหน้าที่การงาน
เพราะผลสุดท้ายจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลอย่างรุนแรง
เช่นกรณีล่าสุดเมื่อมีคำสั่งสำนักพระราชวัง ที่ 183/2560 เรื่อง เรื่อง ลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ โดยมีข้อความตอนหนึ่งคือด้วย พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เลขที่ตำแหน่ง 4 สักัดราชการบริหารส่วนกลาง อัตราเงินเดือน 76,400 บาท ได้กระทำผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
โดยมีกรณีความผิดกล่าวคือ พลตำรวจเอก จุมพล มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง แสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง ฝักใฝ่ในเรื่องการเมืองเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรง สมควรรับโทษไล่ออกจากราชการ
สำนักพระราชวังพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตามมาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงเห็นควรลงโทษไล่ออกจากราชการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และ มาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2552 ลงโทษไล่ พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย ออกจากราชการ
อนึ่งการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษนี้ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักพระราชวังใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง
สำหรับเส้นทางชีวิตราชการพลตำรวจเอก จุมพล มั่นหมาย จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับนาย ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ศึกษาเพิ่มเติม สาขาพัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), หลักสูตรบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 15, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4212
พล.ต.อ.จุมพล เริ่มต้นชีวิตราชการจากการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่อำเภออรัญประเทศ ก่อนที่จะย้ายเข้าสู่พื้นที่นครบาล ในตำแหน่ง สารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ (สวป.สน.บางซื่อ) จากนั้นย้ายไปอยู่กองปราบปราม จนเป็นรองผู้บัญชาการกองปราบ (ผบก.ป.)
หลังจากได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) แล้ว พล.ต.อ.จุมพลเลื่อนจากผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ 1 (ผช.ผบช.ภ.1) และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) แล้วเลื่อนเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ 3 (ผบช.ภ.3) ก่อนที่จะย้ายมาดูแลงานด้านการข่าวและปราบปราม ด้วยการเป็นผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และได้ใกล้ชิดกับการเมืองมากขึ้น
ด้วยการเป็นรักษาการ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ , ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ คนที่ 12 (มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) , ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร 11) , ที่ปรึกษา (สบ 10) (ทำหน้าที่หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคง) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ผลงานที่สำคัญ ๆ ที่ปรากฏเป็นข่าวที่เคยผ่านมาแล้ว เช่น คดีเพชรซาอุ, คดีฆ่า 2 แม่ลูก ครอบครัวศรีธนะขัณฑ์ , คดีสังหารนายแสงชัย สุนทรวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ถูกจับตาว่าอาจจะได้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ โดยมีชื่อถูกเสนอเคียงคู่มากับ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และได้รับการสนับสนุนจากทางนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านความมั่นคง, นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกลุ่มของทางนายเนวิน ชิดชอบ ด้วย แต่สุดท้ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลือกที่จะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ นายอภิสิทธ์จึงแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีปเป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยาวนานกระทั่งเกษียณอายุราชการ พร้อมกับ พล.ต.อ.จุมพล ในปี พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลตำรวจเอกจุมพลดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ
ก่อนถูกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งดำเนินคดีรุกป่าอุทยานทับลาน ตามคดีอาญา เลขที่ 43/2560 ตามคำร้องของนายผาด บัวบาน พนักงานพิทักษ์ป่า ระดับ ส. 2 เพื่อให้ดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย, พล.ต.ต.พงษ์เดช พรหมวิจิตร และ นางชญานิศฐ์ พิศิษฐวานิช (พรหมมิจิตร) ในความผิดฐาน
1) ร่วมกันก่อสร้าง อันเป็นการทําลายป่าหรือเข้ายึดถือ หรือครอบครอง ป่าเพื่อตนเอง
2) ร่วมกันยึดหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด
3) ร่วมกันกระทําการ โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทําลายหรือทําให้สูญหาย แก่ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
4) ร่วมกันยึดถือ ครอบครอง ทําประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่า
หลังจากมีการตรวจสอบพล.ต.อ.จุมพลและพวกสร้างเป็นบ้านพักตากอากาศ เลขที่ 163 หมู่บ้าน สุขสมบูรณ์ หมู่ที่ 2 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน
เช่นกรณีล่าสุดเมื่อมีคำสั่งสำนักพระราชวัง ที่ 183/2560 เรื่อง เรื่อง ลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ โดยมีข้อความตอนหนึ่งคือด้วย พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เลขที่ตำแหน่ง 4 สักัดราชการบริหารส่วนกลาง อัตราเงินเดือน 76,400 บาท ได้กระทำผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
โดยมีกรณีความผิดกล่าวคือ พลตำรวจเอก จุมพล มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง แสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง ฝักใฝ่ในเรื่องการเมืองเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรง สมควรรับโทษไล่ออกจากราชการ
สำนักพระราชวังพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตามมาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงเห็นควรลงโทษไล่ออกจากราชการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และ มาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2552 ลงโทษไล่ พลตำรวจเอกจุมพล มั่นหมาย ออกจากราชการ
อนึ่งการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษนี้ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักพระราชวังใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง
สำหรับเส้นทางชีวิตราชการพลตำรวจเอก จุมพล มั่นหมาย จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับนาย ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ศึกษาเพิ่มเติม สาขาพัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), หลักสูตรบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 15, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4212
พล.ต.อ.จุมพล เริ่มต้นชีวิตราชการจากการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่อำเภออรัญประเทศ ก่อนที่จะย้ายเข้าสู่พื้นที่นครบาล ในตำแหน่ง สารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ (สวป.สน.บางซื่อ) จากนั้นย้ายไปอยู่กองปราบปราม จนเป็นรองผู้บัญชาการกองปราบ (ผบก.ป.)
หลังจากได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) แล้ว พล.ต.อ.จุมพลเลื่อนจากผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ 1 (ผช.ผบช.ภ.1) และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) แล้วเลื่อนเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ 3 (ผบช.ภ.3) ก่อนที่จะย้ายมาดูแลงานด้านการข่าวและปราบปราม ด้วยการเป็นผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และได้ใกล้ชิดกับการเมืองมากขึ้น
ด้วยการเป็นรักษาการ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ , ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ คนที่ 12 (มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) , ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร 11) , ที่ปรึกษา (สบ 10) (ทำหน้าที่หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคง) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ผลงานที่สำคัญ ๆ ที่ปรากฏเป็นข่าวที่เคยผ่านมาแล้ว เช่น คดีเพชรซาอุ, คดีฆ่า 2 แม่ลูก ครอบครัวศรีธนะขัณฑ์ , คดีสังหารนายแสงชัย สุนทรวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ถูกจับตาว่าอาจจะได้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ โดยมีชื่อถูกเสนอเคียงคู่มากับ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และได้รับการสนับสนุนจากทางนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านความมั่นคง, นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกลุ่มของทางนายเนวิน ชิดชอบ ด้วย แต่สุดท้ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลือกที่จะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ นายอภิสิทธ์จึงแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีปเป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยาวนานกระทั่งเกษียณอายุราชการ พร้อมกับ พล.ต.อ.จุมพล ในปี พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลตำรวจเอกจุมพลดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ
ก่อนถูกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งดำเนินคดีรุกป่าอุทยานทับลาน ตามคดีอาญา เลขที่ 43/2560 ตามคำร้องของนายผาด บัวบาน พนักงานพิทักษ์ป่า ระดับ ส. 2 เพื่อให้ดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย, พล.ต.ต.พงษ์เดช พรหมวิจิตร และ นางชญานิศฐ์ พิศิษฐวานิช (พรหมมิจิตร) ในความผิดฐาน
1) ร่วมกันก่อสร้าง อันเป็นการทําลายป่าหรือเข้ายึดถือ หรือครอบครอง ป่าเพื่อตนเอง
2) ร่วมกันยึดหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด
3) ร่วมกันกระทําการ โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทําลายหรือทําให้สูญหาย แก่ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
4) ร่วมกันยึดถือ ครอบครอง ทําประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่า
หลังจากมีการตรวจสอบพล.ต.อ.จุมพลและพวกสร้างเป็นบ้านพักตากอากาศ เลขที่ 163 หมู่บ้าน สุขสมบูรณ์ หมู่ที่ 2 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน