รู้ยัง!! บัตรคนจน ใช้ยังไง? วงเงินเท่าไหร่ ซื้อได้กี่อย่าง (ละเอียดยิบ)

รู้ยัง!! บัตรคนจน ใช้ยังไง? วงเงินเท่าไหร่ ซื้อได้กี่อย่าง (ละเอียดยิบ)

บัตรคนจน ใช้ยังไง ? / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ : ผู้มีรายได้น้อย
หลังจากที่โครงการช่วยเหลือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ / บัตรคนจน 2560 ได้เริ่มต้นขึ้น ก็มีประชาชน ผู้มีรายได้น้อย หลายคนที่ทยอยมาลงทะเบียนรับ บัตรคนจน เป็นจำนวนมาก
โดยรัฐบาลก็ได้เปิดให้ผู้ที่มี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ทุกคน สามารถนำบัตรไปใช้สิทธิต่าง ๆ ทั้งชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน หรือร้านค้าที่กำหนด ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา
(*ยกเว้น บัตรคนจน 7 จังหวัดนี้ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร การแจก บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ / บัตรคนจน ผู้มีรายได้น้อย จะเลื่อนออกไปจนวันที่ 17 ต.ค. เนื่องจากเกิดปัญหาความล่าช้าในระบบตั๋วแมงมุม)
ทั้งนี้ ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย ที่มีสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน หลายต่อหลายคนก็พากันนำ บัตรคนจน ไปใช้สิทธิกันอย่างคึกคัก
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมี ผู้มีรายได้น้อยอีกหลายคนที่ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ / บัตรคนจน อยู่ในมือ แต่ยังคงสงสัยว่าและไม่แน่ใจว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ / บัตรคนจน หน้าตาแบบนี้ ใช้ยังไง?
  • สามารถใช้ซื้อสินค้าได้ทุกประเภทหรือไม่?
  • มีวงเงินเท่าไหร่
  • ที่ไหนซื้อได้-ไม่ได้
  • มีเงื่อนไขอย่างไร และ
  • สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้หรือไม่..?
วันนี้ มายบ็อกส์ มีรายละเอียดแนะนำวิธีใช้ทั้งหมดของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  บัตรคนจน ใช้ยังไง ?  มาฝากทุกคนกัน
บัตรคนจน ใช้ยังไง

บัตรคนจน ใช้ยังไง

อันดับแรก…มาทำความเข้าใจแนวทางการให้ความช่วยเหลือจาก บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ของ ผู้มีรายได้น้อย เบื้องต้นก่อน
บัตรคนจน นี้ มีอายุ 5 ปี เป็นบัตรชิปการ์ดใช้รูดผ่านเครื่องรับบัตรอัตโนมัติ หรือ อีดีซี
ประชารัฐสวัสดิการ คือ การให้วงเงินใน บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 200-300 บาทต่อเดือน สำหรับ…
นำไปใช้เป็นส่วนลดหรือใช้รับสวัสดิการรัฐ เช่น ส่วนลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถเมล์ รถไฟ และสามารถเพิ่มหรือลดสวัสดิการได้
นำไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ในร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ด้วยวิธีการจ่ายเงินง่ายๆ ผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่วยงานหรือร้านค้าที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จากนั้นก็จะได้ใบเสร็จเป็นแสดงยอดที่ใช้จ่ายไปและยอดคงเหลือในบัตรออกมา
โดยเมื่อชำระค่าสินค้าและบริการแล้ว วงเงินจะลดลงตามยอดที่ใช้จ่าย และถึงรอบวันที่ 1 ของทุกเดือนนั่นเอง (ยกเว้น วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม ทุกวันที่ 1 ของทุก 3 เดือน)
** ในกรณีที่สินค้าที่ซื้อ มีราคาเกินกว่าเงินที่อยู่ใน บัตรคนจน ก็สามารถเติมเงินเข้าไปใน บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ของธนาคารกรุงไทยได้
** หากใครนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงวิธีการ บัตรเครดิต+บัตร ATM ที่แสนสะดวกสบายในการจ่ายเงิน เพียงแค่รูดบัตรผ่านเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เครื่อง EDC ไปเลย
** แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็ไม่สามารถ กด-ถอน-โอน วงเงินสวัสดิการจาก บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาเป็นเงินสด หรือเอาเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ได้ รวมถึงถ้าเงินวงเงินอุดหนุนในบัตรแต่ละเดือนใช้ไม่หมด เงินก็จะถูกตัดทันทีไม่สามารถเก็บสะสมเพื่อนำไปทบยอดในเดือนหน้าได้เช่นกัน
บัตรคนจน ใช้ยังไง
เอาล่ะ! ทีนี้เราก็มาลงรายละเอียดของสิทธิ และการใช้ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กันดีกว่า
การช่วยเหลือของโครงการ ผู้มีรายได้น้อย บัตรคนจน – บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นี้จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนแรกจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ
2. ส่วนที่สองจะช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง
ส่วนแรก…
1.) บัตรคนจน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ
ผู้ถือ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะสามารถซื้อสินค้าต่างๆ ตามที่กำหนด จากร้านธงฟ้าประชารัฐ ได้ใน 3 หมวดใหญ่ๆ ประกอบด้วย
– สินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น หมวดอาหารสด, หมวดอาหารและเครื่องดื่ม, หมวดของใช้ประจำวัน, หมวดยารักษาโรค
– สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน และ เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน
– สินค้าเพื่อเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ
ซึ่งรัฐบาลจะให้วงเงินช่วยเหลือใน บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปซื้อสินค้าต่างกัน สำหรับกลุ่มคนที่ต่างกัน คือ
– กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้รับเงินจำนวน 300 บาทต่อเดือน (หรือ 3,600 บาทต่อปี)
– กลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่กิน 100,000 บาท จะได้รับเงินจำนวน 200 บาทต่อเดือน (หรือ 2,400 บาทต่อปี)
นอกจากนี้ ทั้ง 2 กลุ่ม ยังได้วงเงินสำหรับเป็นส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนดอีกคนละ 45 บาทต่อ 3 เดือน
**อย่างไรก็ตาม เงินใน บัตรคนจน จำนวนดังกล่าวจะไม่สามารถนำไปใช้หนี้ที่ค้างชำระกับร้านค้า หรือนำไปซื้อสุรา บุหรี่ได้ เพราะไม่ใช่สินค้าอุปโภคที่จำเป็น แต่สินค้าที่สามารถซื้อได้ เช่น ข้าวสาร ผงซักฟอก ยาสีฟัน ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และปุ๋ยเคมี
บัตรคนจน ใช้ยังไง
ส่วนที่สอง…
2.) บัตรคนจน ช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง
ประกอบด้วย ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า รถร่วมของ บขส. และรถไฟ
เงินช่วยเหลือใน บัตรคนจน ที่ ผู้มีรายได้น้อย ได้รับ :
– ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า จำนวน 500 บาทต่อเดือน (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket)
– ค่าโดยสารรถ บขส. วงเงินไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน
– ค่าโดยสารรถไฟ วงเงินไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน
โดยรถโดยสารที่ร่วมโครงการจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ e-Ticket (อี-ทิกเก็ต) เพื่อใช้สำหรับคิดเงินค่าโดยสารจาก บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพียงแค่แตะเบาๆ ก็สามารถจ่ายค่าโดยสารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
**ทั้งนี้ วงเงินช่วยเหลือใน บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ละส่วนจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่นำมารวมกัน
บัตรคนจน ใช้ยังไง
ส่วนจุดบริการใช้สิทธิ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือ ร้านค้าที่กำหนดไว้ จะมีดังนี้
  • จุดรับชำระเงินตามร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
  • จุดรับชำระเงินตามร้านค้าก๊าซที่กระทรวงพลังงานกำหนด
  • เครื่องแตะบัตรชำระเงินบนรถประจำทาง ขสมก./รถไฟฟ้า
  • จุดจำหน่ายบัตรโดยสารรถ บขส.
  • จุดจำหน่ายบัตรโดยสารรถไฟทุกสถานี (รฟท.)
ทั้งนี้ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย ที่แจกจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่ง แบบแรก จะเป็นมี 2 ชิปการ์ด ผลิตมาจำนวน 1.3 ล้านใบ เพื่อมอบให้กับประชาชนใน 7 จังหวัด ได้แก่
กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ซึ่งจะสามารถใช้กับระบบตั๋วร่วม เพื่อขึ้นรถเมล์และรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ได้
ส่วน บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบบที่ 2 ของคนในจังหวัดอื่น ๆ จะมีชิปการ์ดเดียว จึงไม่สามารถนำมาใช้ขึ้นรถเมล์และรถไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนภูมิลำเนาเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ก็สามารถมาแจ้งเปลี่ยนเป็น บัตรคนจน แบบ 2 ชิปการ์ดได้
แบบที่ 1 บัตร EMV + ตั๋วร่วม (แมงมุม) สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร โดยบัตรนี้ ไว้ใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร
บัตรคนจน ใช้ยังไง
แบบที่ 2 บัตร EMV สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในจังหวัดอื่นๆ (นอกเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร) สำหรับบัตรนี้ จะไม่สามารถใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพมหานครได้
บัตรคนจน ใช้ยังไง
** คำแนะนำการใช้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน **
1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลที่ระบุบนหน้าบัตรเท่านั้น  เว้นแต่  ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถให้ผู้ดูแลเป็นผู้ใช้สิทธิแทนได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
2. กรุณาเก็บ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน และรักษาบัตรไว้เป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ของท่านในการรับสวัสดิการจากรัฐบาล
3. หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าให้ผู้อื่นนำ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ไปใช้ เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิในบัตรและผู้ที่นำบัตรผู้อื่นไปใช้จะมีความผิด ต้องชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการ
กรณีทำ บัตรคนจน / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สูญหาย ทำยังไง?
สามารถติดต่อได้ที่สาขาของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยทางธนาคารจะแจ้งต่อไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อตรวจสอบสิทธิ์และดำเนินการออก บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ใหม่ให้ แต่เรื่องค่าใช่จ่ายเป็นส่วนรับผิดชอบของผู้ใช้สิทธิเอง
– บัตร EMV หาย ออกบัตรใหม่ภายใน 15 วันทำการ (เสียค่าใช้จ่าย 50 บาท)
– บัตร EMV + ตั๋วร่วม (แมงมุม) หาย ออกบัตรใหม่ภายใน 30 วันทำการ (เสียค่าใช้จ่าย 100 บาท)
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ใช้ยังไง โทร. 0-2109-2345 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 17.30 น. หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊กเพจ กรมประชาสัมพันธ์ , bugaboo.tv