นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(กยศ.) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. ที่ผ่านมาได้เริ่มมีการหักเงินบัญชีชำระหนี้
กยศ. สำหรับข้าราชกรมบัญชีกลางที่เคยกู้เงินจากกยศ.
และถึงเวลาที่ต้องผ่อนชำระเงิน และในเดือนส.ค. นี้
จะขยายเพิ่มหักบัญชีข้าราชการของกระทรวงการคลังทั้งหมด ซึ่งมีอยู่กว่า
1,000 คน
นอกจากนี้ ในเดือนต.ค. 2561 ก็จะเริ่มหักบัญชีข้าราชการที่เป็นลูกหนี้ของกยศ. ในทุกหน่วยที่ได้รับเงินเดือนจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางผ่านระบบ GFMIS และปี 2562 ก็จะเริ่มใช้มาตรการนี้กับพนักงานเอกชนที่เป็นลูกหนี้ของกยศ. โดยจะเริ่มกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี ที่มีพนักงานเป็นลูกหนี้ กยศ. กว่า 1 แสนคน
“กยศ. ตั้งเป้าในปีหน้าจะมีการหักบัญชีชำระหนี้ กยศ. ได้ 1 ล้านราย ซึ่งจะช่วยลดการแก้ไขปัญหาขาดการชำระหนี้ โดยภาระการชำระหนี้ไม่มาก โดยเฉลี่ยลูกหนี้กยศ. อยู่รายละ 1 แสนบาท ให้เริ่มผ่อนชำระในปีแรก 1,500 บาท ปีที่ 2 จำนวน 2,500 บาท และปีที่ 3,000 กว่าบาท มาหักเงินบัญชีรายเดือนก็อยู่ที่เดือนละ 100-300 บาท เท่านั้น”นายชัยณรงค์ กล่าว
ปัจจุบัน กยศ. ปล่อยกู้ให้กับนักเรียนไปแล้ว 5 ล้านราย เป็นวงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ ปิดบัญชีชำระหนี้ไปแล้ว 1 ล้านราย และเรียนจนและอยู่ระยะเวลาปลอดชำระหนี้ 2 ปี อีก 1 ล้านราย ที่ครบชำระหนี้ 3 ล้านราย ในจำนวนนี้ชำระหนี้ปกติ 1 ล้านราย และผิดชำระหนี้ 2 ล้านราย ซึ่งการหักเงินชำระหนี้ผ่านบัญชีจะทำให้ยอดการผิดชำระหนี้ที่มีอยู่จำนวนมากลดลงได้
นายชัยณรงค์ กล่าวว่า กรณีของครูวิภา บานเย็น ที่ค้ำประกันให้กับนักเรียน 21 ราย ในจำนวนนี้ฟ้องปิดบัญชีไปแล้ว 4 ราย เนื่องจากไม่มาชำระหนี้ และต้องทำการยึดทรัพย์คุณครูเพื่อมาชำระหนี้ โดยทางกยศ. ได้ชะลอการบังคับยึดทรัพย์ไปก่อน เพื่อให้นักเรียนเข้ามาไกล่เกลี่ยชำระหนี้
สำหรับที่เหลืออีก 17 คน หลังจากที่เป็นข่าวก็มาชำระปิดบัญชี 5 คน ผิดชำระหนี้อีก 3 คน เหลืออีก 9 คน ที่ยังไม่ถึงเวลาชำระหนี้ ซึ่งทาง กยศ. ได้พยายามหาทางช่วยเหลือคุณครูโดยพยายามให้เด็กนักเรียนมาไกล่เกลี่ยหนี้ดังกล่าว รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคตจะต้องมีการกำหนดการค้ำประกันต่อคนได้ไม่เกินกี่ราย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีครูวิภา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ กยศ. พบว่า ปัจจุบันการค้ำประกันผู้กู้เงิน กยศ. 85% เป็นพ่อแม่ อีก 14% เป็นญาติพี่น้อง ส่วนคุณครูมีสัดส่วนค้ำประกัน 0.1% แต่ กยศ. ยอมรับว่าขณะนี้คุณครูไม่กล้าที่จะค้ำประกันสินเชื่อให้กับนักเรียน เพราะกลับเด็กหนี้การชำระหนี้และต้องมาเป็นผู้ชำระแทน
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
นอกจากนี้ ในเดือนต.ค. 2561 ก็จะเริ่มหักบัญชีข้าราชการที่เป็นลูกหนี้ของกยศ. ในทุกหน่วยที่ได้รับเงินเดือนจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางผ่านระบบ GFMIS และปี 2562 ก็จะเริ่มใช้มาตรการนี้กับพนักงานเอกชนที่เป็นลูกหนี้ของกยศ. โดยจะเริ่มกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี ที่มีพนักงานเป็นลูกหนี้ กยศ. กว่า 1 แสนคน
“กยศ. ตั้งเป้าในปีหน้าจะมีการหักบัญชีชำระหนี้ กยศ. ได้ 1 ล้านราย ซึ่งจะช่วยลดการแก้ไขปัญหาขาดการชำระหนี้ โดยภาระการชำระหนี้ไม่มาก โดยเฉลี่ยลูกหนี้กยศ. อยู่รายละ 1 แสนบาท ให้เริ่มผ่อนชำระในปีแรก 1,500 บาท ปีที่ 2 จำนวน 2,500 บาท และปีที่ 3,000 กว่าบาท มาหักเงินบัญชีรายเดือนก็อยู่ที่เดือนละ 100-300 บาท เท่านั้น”นายชัยณรงค์ กล่าว
ปัจจุบัน กยศ. ปล่อยกู้ให้กับนักเรียนไปแล้ว 5 ล้านราย เป็นวงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ ปิดบัญชีชำระหนี้ไปแล้ว 1 ล้านราย และเรียนจนและอยู่ระยะเวลาปลอดชำระหนี้ 2 ปี อีก 1 ล้านราย ที่ครบชำระหนี้ 3 ล้านราย ในจำนวนนี้ชำระหนี้ปกติ 1 ล้านราย และผิดชำระหนี้ 2 ล้านราย ซึ่งการหักเงินชำระหนี้ผ่านบัญชีจะทำให้ยอดการผิดชำระหนี้ที่มีอยู่จำนวนมากลดลงได้
นายชัยณรงค์ กล่าวว่า กรณีของครูวิภา บานเย็น ที่ค้ำประกันให้กับนักเรียน 21 ราย ในจำนวนนี้ฟ้องปิดบัญชีไปแล้ว 4 ราย เนื่องจากไม่มาชำระหนี้ และต้องทำการยึดทรัพย์คุณครูเพื่อมาชำระหนี้ โดยทางกยศ. ได้ชะลอการบังคับยึดทรัพย์ไปก่อน เพื่อให้นักเรียนเข้ามาไกล่เกลี่ยชำระหนี้
สำหรับที่เหลืออีก 17 คน หลังจากที่เป็นข่าวก็มาชำระปิดบัญชี 5 คน ผิดชำระหนี้อีก 3 คน เหลืออีก 9 คน ที่ยังไม่ถึงเวลาชำระหนี้ ซึ่งทาง กยศ. ได้พยายามหาทางช่วยเหลือคุณครูโดยพยายามให้เด็กนักเรียนมาไกล่เกลี่ยหนี้ดังกล่าว รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคตจะต้องมีการกำหนดการค้ำประกันต่อคนได้ไม่เกินกี่ราย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีครูวิภา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ กยศ. พบว่า ปัจจุบันการค้ำประกันผู้กู้เงิน กยศ. 85% เป็นพ่อแม่ อีก 14% เป็นญาติพี่น้อง ส่วนคุณครูมีสัดส่วนค้ำประกัน 0.1% แต่ กยศ. ยอมรับว่าขณะนี้คุณครูไม่กล้าที่จะค้ำประกันสินเชื่อให้กับนักเรียน เพราะกลับเด็กหนี้การชำระหนี้และต้องมาเป็นผู้ชำระแทน
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์