7 สัญญาณ บ่งบอกว่า “คุณเห็นแก่ตัว” เกินไปหรือเปล่า

1) คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด
อันนี้เป็นสัญญาณแรก คือ การให้คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด
ไม่ว่าจะทำอะไรหรือคิดอะไร ก็มักจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล
และคนอื่นต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่คิดที่ทำทุกครั้ง
แม้บางครั้งคนอื่นอาจจะไม่ชอบสิ่งที่หยิบยื่นให้ก็ตาม
การที่คนยอมนั้นไม่ได้แปลว่ากลัว แต่มันเป็นการรักษามิตรภาพ
อย่าลืมว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ความหมายนี้

2) ตัวเองก้าวก่ายเรื่องต่างๆ ได้…คนอื่นอย่าแหยม
ไม่ชอบให้ใครมาพูดหรือคิดเห็นต่าง ยามคนอื่นพูดหรือเตือน
กลับมองว่าเป็นการก้าวก่าย อารมณ์เสีย
ในขณะที่ตัวเองสามารถวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นได้ทุกเรื่อง
ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่

3) อยากให้คนอื่นเป็นอย่างที่ต้องการ
เคยถามความต้องการของคนอื่นบ้างหรือเปล่า
ต้องกินเหมือนกัน ต้องไปด้วยกัน ต้องไลฟ์สไตล์แบบเดียวกัน
อันนี้ไม่ใช่แค่เห็นแก่ตัวเท่านั้น แต่ทำร้ายจิตใจคนอื่นด้วย
ราะมันแสดงถึงว่าไม่เคยพอใจในสิ่งที่คนอื่นมีหรือสิ่งที่คนอื่นเป็น
แต่กลับอยากให้เป็นอย่างที่ต้องการไปเสียทุกอย่าง

4) เอาแต่ใจตัวเอง
ไม่ว่าจะถกเถียง โต้แย้ง หรือกำลังหาคำตอบเรื่องใดอยู่ก็ตาม
แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะผู้ที่เป็นตัวกำหนดทุกอย่าง
ในเมื่อมีคำตอบ มีปักธงอยู่ในใจแล้ว จะขอความคิดเห็นทำไม
คือ แบบนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ต้องการคนที่มาสนับสนุนความคิดเท่านั้นแหละ
อย่าถามให้เหนื่อยเพราะสุดท้ายแล้วก็เลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการอยู่ดี


5) ไม่เคยขอโทษ
เป็นฝ่ายผิดแต่กลับมองว่าตัวเองถูก หรือ รู้ว่าตัวเองผิดแต่ไม่เคยขอโทษ
และที่แย่กว่านั้นคือขอโทษแบบไม่จริงใจ ขอโทษแบบขอไปที

6) หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิดเสมอ หากสิ่งที่คาดหวังไม่ได้ดั่งใจ
ที่หนักไปกว่านั้น ไม่ว่าจะหงุดหงิดมาจากไหนก็ตาม
มักจะมาระบายหรือหงุดหงิดใส่คนอื่นอีกต่างหาก เช่น การพูดประชดประชัน ตวาด เสียงดัง
หรือใครไม่อินไปด้วยกับปัญหาที่เจอหรือสิ่งที่เล่าให้ฟัง
ก็มักจะทำสิ่งนั้นเพื่อให้คนอื่นได้รู้สึกแบบเดียวกัน
อาจตามมาด้วยคำพูดประมาณว่า….
“เข้าใจหรือยังล่ะ” หรือ “รู้สึกหรือยังล่ะว่าฉันรู้สึกยังไง”

7) ไม่เคยช่วย หรือ ช่วยก็ทวงบุญคุณ
อย่าคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่จะปล่อยให้คนอื่นทำทุกอย่างโดยอ้างว่าเหนื่อย
หรือทำมามากแล้ว หรือช่วยก็เพียงเพื่อให้รู้สึกถึงบุญคุณ
ทั้งๆ ที่ประโยชน์ตกอยู่กับตัวเองมากกว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า…

ความเห็นแก่ตัวเป็นกิเลสในตระกูลโลภะ และโลภหนักไปหน่อย จึงเห็นแก่ตัว
เจอคนเห็นแก่ตัวต้องเข้าใจว่า…นิสัยเห็นแก่ตัวมี 2 สาเหตุใหญ่ๆ
สาเหตุแรก เป็นสันดาน
คือ นิสัยที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติมา
ถ้าเจอประเภทนี้หนักหน่อย เจอต้องทำใจ
สาเหตุที่ 2 เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นในชาตินี้
คือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่ดี คนรอบข้างไม่ดี การเลี้ยงดูไม่ดี
ก็เลยทำให้อาจจะต้องแย่งชิง สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ สั่งสมขึ้นมา แล้วกลายเป็นนิสัยเห็นแก่ตัว
อันนี้พอจะกล่อมเกลาได้แต่ต้องอดทน
แต่ยังมีอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ตัวเองก็ไม่ดีเอง เช่น บริหารงาน บริหารเงิน ไม่เป็น
สุดท้ายเศรษฐกิจฝืดเคืองเลยกลายเป็นคนเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวเข้ามาอีก
แบบนี้พออุปสรรคน้อยลง ความเห็นแก่ตัวก็จะคลายลงด้วย

ขอบพระคุณแหล่งที่มา : Business link เชื่อมช่อง