ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เผย เตรียมปรับระบบการรับสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยปี 2561 โดยเปิดรับสมัคร 5 รอบ ย้ำนักเรียนเลือกตอบรับที่เรียนได้คนละ 1 สิทธิ์ เพื่อความเสมอภาค แก้ปัญหากั๊กที่เรียน
เป็นข่าวที่ผู้ปกครองและนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 ที่กำลังจะสอบคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย ต้องติดตามและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากล่าสุด (20 กุมภาพันธ์ 2560) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติในการปรับกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยยึดหลักการในการสมัคร 3 แนวทาง ดังนี้
1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้น ม. 6
2. นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค
3. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.ทุกแห่งจะต้องเข้าระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อบริหารสิทธิ์ของนักเรียน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาการกั๊กที่เรียน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนที่มาจากครอบครัวฐานะดีจะมีสิทธิ์สมัครเรียนได้มากกว่านักเรียนฐานะยากจน
โดยการรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีแบบใหม่ ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษา 2561 จะแบ่งเป็น 5 รอบ ดังนี้
- รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน โดยคาดว่าจะเริ่มเดือนตุลาคม 2560
- รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ซึ่งจะมีการสอบข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ
- รอบที่ 3 การรับสมัครตรงร่วมกัน เช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net), การทดสอบความถนัดทั่วไป, (Gat) และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (Pat) และ การทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา เป็นต้น ซึ่งจะสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน
- รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
- รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง
ภาพและข้อมูลจาก ทวิตเตอร์ @Weerid_ThaiPBS, คมชัดลึก
เป็นข่าวที่ผู้ปกครองและนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 ที่กำลังจะสอบคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย ต้องติดตามและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากล่าสุด (20 กุมภาพันธ์ 2560) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติในการปรับกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยยึดหลักการในการสมัคร 3 แนวทาง ดังนี้
1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้น ม. 6
2. นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค
3. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.ทุกแห่งจะต้องเข้าระบบเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อบริหารสิทธิ์ของนักเรียน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาการกั๊กที่เรียน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนที่มาจากครอบครัวฐานะดีจะมีสิทธิ์สมัครเรียนได้มากกว่านักเรียนฐานะยากจน
- รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน โดยคาดว่าจะเริ่มเดือนตุลาคม 2560
- รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ซึ่งจะมีการสอบข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ
- รอบที่ 3 การรับสมัครตรงร่วมกัน เช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net), การทดสอบความถนัดทั่วไป, (Gat) และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (Pat) และ การทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา เป็นต้น ซึ่งจะสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน
- รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
- รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง