ความคืบหน้าการดำเนินการกับ
พระไชยบูลย์ หรือ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
หลังจากมีการถอดสมณศักดิ์ โดยในวันนี้ (8 มี.ค.) นายออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ บอกว่า
หลังจากนี้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ.
จะแจ้งเรื่องพฤติกรรมของพระธัมมชโย ที่อาจขัดพระธรรมวินัย
ต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ในวันที่ 10 มีนาคม นี้ เพื่อให้ที่ประชุม
มส. พิจารณาดำเนินการต่อไปซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้
เปรียบเหมือนส่งเรื่องให้ "ศาลพระ" ดำเนินการกับ "พระไชยบูลย์" ว่าด้วย
"การลงนิคหกรรม" ตามกฎมหาเถรสมาคมซึ่งกฎมหาเถรสมาคม ที่จะใช้ดำเนินการกับ
พระไชยบูลย์ หรือ ธัมมชโย คือ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑
ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ!
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ คืออะไร?
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ใช้กับพระภิกษุที่กระทำผิดกรณีใด?
พระไชยบูลย์ กระทำผิดตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ หรือไม่? ข้อใด? จะถูก "จับสึก" หรือไม่?
จึงต้องอ่าน กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ซึ่งได้ตราขึ้นตั้งแต่ปี 2538 และลงนามโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (สมัยนั้น)เปิดกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๒๗ แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี: เรียกว่า "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ
ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกรณีพระภิกษุรูปใด(๑) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องเป็นอาจิณ ให้เจ้าอาวาสวัดซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัยมีอํานาจหน้าที่แนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ให้พระภิกษุรูปนั้นประพฤติตามพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกําหนดเวลาให้ปฏิบัติ หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ปฏิบัติตาม คําแนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ภายในเวลาที่กําหนด ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้น สังกัดหรือพํานักอาศัย รานงานโดยลําดับ จนถึงเจ้าคณะอําเภอเจ้าสังกัด เพื่อวินิจฉัยให้สละสมณเพศต่อไป
(๒) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง หรือไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองวัดหรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้น มีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องว่าพระภิกษุรูปใดกระทําความผิดอันเป็น "ครุกาบัติ" เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแล้ว มีคําสั่งประทับฟ้องเพื่อดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ดี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยแล้วไม่ว่าจะลงนิคหกรรม หรือไม่ก็ตาม และเรื่องยังอยู่ภายในกําหนดเวลาอุทธรณ์ก็ดี หรือมีการอุทธรณ์ ภายในกําหนดเวลาแล้วไม่ว่าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี รายงาน ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคมในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมอยู่ในชั้นฎีกา กรรมการมหา เถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่งอาจรายงานต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ดําเนินการตามข้อนี้ นอกเหนือจากการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมก็ได้ในกรณีที่มหาเถรสมาคมพิจารณาจากรายงานดังกล่าวและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันแล้ว เห็นว่าพระภิกษุผู้เป็นจําเลยประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัย เรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องอันเป็นโลกวัชชะเป็นอาจิณ ทั้งความประพฤตินั้นเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ล่วงมาแล้ว หากให้ดํารงเพศบรรพชิตต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมมีอํานาจวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศได้ ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัย การลงนิคหกรรมที่กําลังดําเนินการอยู่ไม่ว่าในชั้นใดๆ
ข้อ ๕ คําวินิจฉัยให้พระภิกษุสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ให้เป็น อันถึงที่สุดข้อ ๖ เมื่อคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปใดสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือ ๔ แล้ว ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัย หรือพระภิกษุผู้ดํารง ตําแหน่งปกครองวัด หรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้นแล้วแต่กรณี แจ้งผลคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นทราบ และ จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศในกรณีที่ไม่อาจพบพระภิกษุรูปนั้น หรือพระภิกษุรูปนั:นไม่ยอมรับทราบคําวินิจฉัยเมื่อปิดประกาศคําวินิจฉัยไว้ ณ ที่พํานักอาศัยของพระภิกษุรูปนั้น ถือว่า พระภิกษุรูปนั:นทราบคําวินิจฉัยดังกล่าวแล้วข้อ ๗ พระภิกษุผู้ต้องคําวินิจฉัยให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําวินิจฉัยนั้น
ในกรณีที่พระภิกษุรูปนั้นไม่สึกภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณะเพศอารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยข้อ ๘ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา วินิจฉัยการลงนิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมและการพิจารณานั้นยังไม่ถึงที่สุด ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคมนี้ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ต่อไปซึ่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ได้ตราไว้เมื่อ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๘ และลงนามโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุท้ายเรื่อง...
นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุ ผู้ทำเสียหาย เช่น ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพ ฟอกเงิน รับของโจร เป็นต้น.นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะฯ ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรมนิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์ เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีพระทำความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ ต้องถูกลงโทษตามพระธรรมวินัย เช่น ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่, ขับไล่ออกจากหมู่คณะ ให้สึก! ฯลฯ"
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ คืออะไร?
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ใช้กับพระภิกษุที่กระทำผิดกรณีใด?
พระไชยบูลย์ กระทำผิดตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ หรือไม่? ข้อใด? จะถูก "จับสึก" หรือไม่?
จึงต้องอ่าน กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ซึ่งได้ตราขึ้นตั้งแต่ปี 2538 และลงนามโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (สมัยนั้น)เปิดกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๒๗ แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี: เรียกว่า "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ
ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกรณีพระภิกษุรูปใด(๑) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องเป็นอาจิณ ให้เจ้าอาวาสวัดซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัยมีอํานาจหน้าที่แนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ให้พระภิกษุรูปนั้นประพฤติตามพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกําหนดเวลาให้ปฏิบัติ หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ปฏิบัติตาม คําแนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ภายในเวลาที่กําหนด ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้น สังกัดหรือพํานักอาศัย รานงานโดยลําดับ จนถึงเจ้าคณะอําเภอเจ้าสังกัด เพื่อวินิจฉัยให้สละสมณเพศต่อไป
(๒) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง หรือไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองวัดหรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้น มีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องว่าพระภิกษุรูปใดกระทําความผิดอันเป็น "ครุกาบัติ" เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแล้ว มีคําสั่งประทับฟ้องเพื่อดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ดี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยแล้วไม่ว่าจะลงนิคหกรรม หรือไม่ก็ตาม และเรื่องยังอยู่ภายในกําหนดเวลาอุทธรณ์ก็ดี หรือมีการอุทธรณ์ ภายในกําหนดเวลาแล้วไม่ว่าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี รายงาน ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคมในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมอยู่ในชั้นฎีกา กรรมการมหา เถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่งอาจรายงานต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ดําเนินการตามข้อนี้ นอกเหนือจากการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมก็ได้ในกรณีที่มหาเถรสมาคมพิจารณาจากรายงานดังกล่าวและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันแล้ว เห็นว่าพระภิกษุผู้เป็นจําเลยประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัย เรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องอันเป็นโลกวัชชะเป็นอาจิณ ทั้งความประพฤตินั้นเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ล่วงมาแล้ว หากให้ดํารงเพศบรรพชิตต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมมีอํานาจวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศได้ ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัย การลงนิคหกรรมที่กําลังดําเนินการอยู่ไม่ว่าในชั้นใดๆ
ข้อ ๕ คําวินิจฉัยให้พระภิกษุสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ให้เป็น อันถึงที่สุดข้อ ๖ เมื่อคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปใดสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือ ๔ แล้ว ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัย หรือพระภิกษุผู้ดํารง ตําแหน่งปกครองวัด หรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้นแล้วแต่กรณี แจ้งผลคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นทราบ และ จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศในกรณีที่ไม่อาจพบพระภิกษุรูปนั้น หรือพระภิกษุรูปนั:นไม่ยอมรับทราบคําวินิจฉัยเมื่อปิดประกาศคําวินิจฉัยไว้ ณ ที่พํานักอาศัยของพระภิกษุรูปนั้น ถือว่า พระภิกษุรูปนั:นทราบคําวินิจฉัยดังกล่าวแล้วข้อ ๗ พระภิกษุผู้ต้องคําวินิจฉัยให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําวินิจฉัยนั้น
ในกรณีที่พระภิกษุรูปนั้นไม่สึกภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณะเพศอารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยข้อ ๘ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา วินิจฉัยการลงนิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมและการพิจารณานั้นยังไม่ถึงที่สุด ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคมนี้ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ต่อไปซึ่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ได้ตราไว้เมื่อ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๘ และลงนามโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุท้ายเรื่อง...
นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุ ผู้ทำเสียหาย เช่น ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพ ฟอกเงิน รับของโจร เป็นต้น.นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะฯ ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรมนิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์ เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีพระทำความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ ต้องถูกลงโทษตามพระธรรมวินัย เช่น ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่, ขับไล่ออกจากหมู่คณะ ให้สึก! ฯลฯ"