มีคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีหนึ่ง ตามหมายเลขคดีแดงที่ 6083/2546 ได้กล่าวให้คำ
นิยามแห่งความรักไว้อย่างดงามว่า
นิยามแห่งความรักไว้อย่างดงามว่า
"ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้
ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข
การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิดและการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก
จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง
เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัว
เห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจ และความรู้สึกของผู้ตาย
หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง
ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วย
เหตุอันไม่เป็นธรรม
กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษประหารชีวิต และลดโทษให้จำเลยแล้ว
คงลงโทษจำคุก ตลอดชีวิตสถานเดียวนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
แต่เหตุแห่งที่มาของคำพิพากษานี้ คือการตีความหมายของคำว่าความรักอย่างผิดๆ
จนนำไปสู่การฆาตกรรมที่โหดเหี้ยมและทารุณ ซึ่งจำเลยในคดีนี้ก็คือ"นายเสริม
สาครราษฎร์"นักศึกษาแพทย์ผู้ต้องหาที่ก่อคดีฆ่าชำแหละศพ น.ส.เจนจิรา
แฟนสาว เมื่อ 10 กว่าปี มาแล้ว โดยข้อฎีกาหนึ่งของจำเลย
เพื่อขอความเมตตาต่อศาลในการขอลดโทษ ก็คือ
เหตุที่ฆ่าก็เพราะความรักที่มีต่อแฟนสาว
จนไม่อาจหักห้ามใจให้แฟนไปมีคนรักใหม่ได้
จึงขอความปราณีจากศาลให้เห็นแก่ความรักของตน
ซึ่งศาลก็ได้โปรดให้คำอธิบายความหมายของความรักมาในคำพิพากษาฎีกานี้
ที่มา กฏหมายไทย