บลูมเบิร์ก เผย ดัชนีความทุกข์ยากประจำปี 2560 ชี้ ไทย ติดอันดับ 1
ประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก ติดต่อกันเป็นปีที่ 3
เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองครั้งสำคัญ ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก อันมีผลทำให้ในปีนี้ ดัชนีความทุกข์ยาก ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยเว็บไซต์บลูมเบิร์ก ได้เปิดเผยรายงานดัชนีความทุกขยาก (Bloomberg's Misery Index) ประจำปี 2560 โดยพิจารณาจากข้อมูลค่าเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานของประชากรในแต่ละประเทศ
โดยประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลกได้แก่
ประเทศไทย เนื่องจากส่วนใหญ่มีการคำนวณจัดสรรการจ้างงาน
ทำให้อัตราการว่างงานต่ำ ซึ่งนับว่าติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว จากรายงาน
ระบุว่า ผลรวมดัชนีความทุกข์ยากของประเทศไทยอยู่ที่ 2.6%
แต่ก็ถือว่าเพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 1.2%
ส่วนอันดับ 2 ตามมาด้วยประเทศใกล้เคียง อย่างสิงคโปร์ มีดัชนีความทุกข์ยากอยู่ที่ 3.1 % ตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไอซ์แลนด์ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน อันได้แก่ มาเลเซีย และเวียดนาม มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำสุดอยู่ที่ อันดับ 11 และ 12 คือ 6.1% และ 6.2% ตามลำดับ
ขณะที่ประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลกประจำปีนี้ ได้แก่ เวเนซุเอลา อันเนื่องมาจากปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย ผลรวมดัชนีความทุกข์ยากของประเทศมากถึง 499.7% รองลงมาเป็น แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา กรีซ และตุรกี
ภาพจาก Bloomberg
เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองครั้งสำคัญ ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก อันมีผลทำให้ในปีนี้ ดัชนีความทุกข์ยาก ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยเว็บไซต์บลูมเบิร์ก ได้เปิดเผยรายงานดัชนีความทุกขยาก (Bloomberg's Misery Index) ประจำปี 2560 โดยพิจารณาจากข้อมูลค่าเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานของประชากรในแต่ละประเทศ
ส่วนอันดับ 2 ตามมาด้วยประเทศใกล้เคียง อย่างสิงคโปร์ มีดัชนีความทุกข์ยากอยู่ที่ 3.1 % ตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไอซ์แลนด์ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน อันได้แก่ มาเลเซีย และเวียดนาม มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำสุดอยู่ที่ อันดับ 11 และ 12 คือ 6.1% และ 6.2% ตามลำดับ
ขณะที่ประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลกประจำปีนี้ ได้แก่ เวเนซุเอลา อันเนื่องมาจากปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย ผลรวมดัชนีความทุกข์ยากของประเทศมากถึง 499.7% รองลงมาเป็น แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา กรีซ และตุรกี
ภาพจาก Bloomberg