เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงมาอย่างยาวนานว่าพระภิกษุกับวัดนั้นควรจะมีการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อที่จะมีการเปิดเผยต่อที่สาธารณะหรือไม่นั้น
โดยเมื่อวานที่ผ่านมานั้น เพจเฟซบุ๊คอย่าง Thai News Online
ก็ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยเอาไว้ว่า การเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ และ ร่าง พ.ร.บ. สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อนายกรัฐมนตรี และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา กำลังมาแรงและเป็นเรื่องร้อนในหมู่พระสงฆ์อยู่ในขณะนี้
มาเริ่มกันที่ ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ซึ่งมีหลักการและเหตุผล เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของวัด และทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักพระธรรมวินัย
โดยประเด็นแรก ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัด นั้น ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ได้กำหนดให้แต่ละวัด มี "คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัด" และคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินฯ ต้องจัดทำงบบัญชีทรัพย์สินของวัดตามหลักการบัญชีตามมาตรฐานสากล โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน, งบรายได้ค่าใช้จ่ายและงบกระแสเงินสดทั้งรายเดือนและรายปี ผ่านการตรวจสอบบัญชีจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตรับรอง ทั้งนี้ทรัพย์สินของวัดให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินของมูลนิธิหรือองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยวัดหรือเกี่ยวเนื่องกับวัดด้วย
นอกจากนี้ "คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัด" จะต้องส่งงบบัญชีให้ "สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ " และสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณชนในท้องที่ซึ่งวัดนั้นตั้งอยู่
ประเด็นที่สอง การจัดการทรัพย์สินของพระภิกษุ ร่าง กม.ฉบับนี้ กำหนดว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ใน"สมณเพศ" ให้ถือเป็นทรัพย์สินของวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่
และเมื่อพระภิกษุรูปนั้นพ้นจากความเป็นพระภิกษุหรือมรณภาพ ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นทรัพย์สินของวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่ รวมทั้งพระภิกษุต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินที่พระรูปนั้นได้รับให้คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัดที่ตนสังกัดอยู่ทราบทุกปี (ปัจจุบันทรัพย์สินที่พระภิกษุรูปใดได้รับในขณะบวชเป็นพระอยู่ พระรูปนั้นสามารถนำทรัพย์สินที่ได้รับไปจำหน่าย จ่ายโอน หรือทำพินัยกรรมยกให้บุคคลใดก็ได้) ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในบางวัดดำเนินการโดยเจ้าอาวาสรูปเดียว ไม่เปิดเผย ไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ เป็นช่องทางให้มีการนำทรัพย์สินของวัดไปใช้ในทางมิชอบ ส่วนพระภิกษุ ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่นำเงิน ทรัพย์สินที่มีผู้ทำบุญ บริจาคให้ นำไปใช้ส่วนตัว
'ที่ผมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ก็เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของวัดและทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปอย่างเหมาะสม มีการเปิดรายการทรัพย์สินวัด พระภิกษุสงฆ์ มีการทำบัญชีราชการทรัพย์สินอย่างเป็นระบบ ซึ่งวัดเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน กระทรวง มูลนิธิ องค์กรต่างๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะต้องมีการทำบัญชีทรัพย์สินตามมาตราฐานบัญชี วัดก็เช่นกัน เมื่อทำบัญชีแล้วก็ต้องมีผู้สอบสอบบัญชีมาตรวจสอบและสามารถเปิดเผยได้ ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้ว่า ว่าวัดและพระภิกษุสงฆ์มีเงินและทรัพย์สินเท่าไร ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของวัดหรือทรัพย์สินส่วนตัวของพระ บางครั้งก็มีการยักยอกเงินวัดเป็นทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการทำบัญชีนี้จะทำให้ทรัพย์สินของวัดไม่รั่วไหล ตรวสอบได้ นอกจากนี้ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศให้ถือเป็นของวัดแต่สามารถใช้จ่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสมควรและเกี่ยวกับศาสนกิจเท่านั้นจะนำไปให้ญาต ไปซื้อรถซื้อบ้านไม่ได้ ซึ่งต้องทำบัญชีรายงาน และเมื่อพ้นจากความเป็นพระหรือมรณภาพก็ให้ตกเป็นของวัดเช่นกัน โดยในเรื่องนี้จะมีคณะกรรมการจัดการทรัยพ์สินของวัด มาเป็นผู้ดูแล" ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ โดยร่าง กม.ฉบับนี้ กำหนดให้มีสภาพุทธบริษัทแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 36 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสมาชิกสภาฯ มีทั้งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิจากธรรมยุตินิกายและมหานิกาย,ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระธรรมวินัย,อาจารย์ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " จะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตีความพระธรรมวินัยเพื่อให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ให้มีผู้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปบิดเบือน เพราะปัจจุบันมีการบิดเบือนตีความพระธรรมวินัยการทำบุญทำทานผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนไปเพื่อมุ่งแต่ลาภสักการะ อาจจะเป็นการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาบริจาคเป็นธุรกิจหารายได้จำนวนมหาศาล สร้างความเสียหายให้กับหลักการของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้"สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" ยังมีหน้าที่รวบรวมและเผยแพร่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
โดยสรุป "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" จะทำหน้าที่เหมือน"คณะกรรมการกฤษฎีกา" ซึ่งเมื่อมีคำวินิจฉัยหรือให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำเรื่องใดไปแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ต้องนำไปปฏิบัติ และคำวินิจฉัยสามารถนำไปอ้างอิงเป็นทางการได้ และหากร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย ในทางปฏิบัติ"สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " ก็จะมีการตั้ง "คณะวินัยธร"ขึ้นมาทำหน้าที่ตัดสินข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ ซึ่งในการวินิจฉัย "คณะวินัยธร" ก็จะยึดเอาตามการตีความ หรือคำวินิจฉัย หรือความเห็น ที่ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " ได้เคยให้ไว้ แต่ถ้าเรื่องร้องเรียนนั้นเป็นเรื่องใหม่ "คณะวินัยธร" ก็จะถามความเห็นไปที่ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" ซึ่งเมื่อ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " มีคำนิจฉัยหรือให้ความเห็นว่าอย่างไร "คณะวินัยธร" ก็จะตัดสินไปตามนั้น หาก"คณะวินัยธร" ตัดสินว่าพระรูปใดต้องพ้นจากความเป็นสงฆ์ พระรูปนั้น ยังสามารถอุทธรณ์ต่อ"คณะวินัยธร" ได้อีกครั้ง แต่ถ้า" คณะวินัยธร" ยังตัดสินให้พ้นจากความเป็นสงฆ์เหมือนเดิม คำตัดสินของ"คณะวินัยธร" เป็นที่สุด ดังนั้น"คณะวินัยธร" จึงเปรียบเสมือน"ศาลสงฆ์" ซึ่งหากฝ่าฝืน ไม่ยอมสึก ก็จะมีความผิดฐานแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ ซึ่งมีโทษทางอาญา
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ แน่นอนว่า วัดและพระที่มีผลประโยชน์มาก มีทรัพย์สินสะสมมาก ย่อมไม่พอใจ ส่วน ร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัท ที่มีการตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาตีความพระธรรมวินัย นั้น ก็อาจถูกตั้งคำถามว่าเป็นใครกัน ที่จะมาผูกขาดตีความพระธรรมวินัยคำสอนพระพุทธเจ้า ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ต้องจับตาต่อไปว่า เมื่อร่าง กม.ทั้งสองฉบับนี้ ได้มีการเสนอต่อนายกฯและประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว จะได้รับการผลักดันต่อเพื่อออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไปหรือไม่
ก็ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยเอาไว้ว่า การเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ และ ร่าง พ.ร.บ. สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อนายกรัฐมนตรี และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา กำลังมาแรงและเป็นเรื่องร้อนในหมู่พระสงฆ์อยู่ในขณะนี้
มาเริ่มกันที่ ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ซึ่งมีหลักการและเหตุผล เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของวัด และทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักพระธรรมวินัย
โดยประเด็นแรก ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัด นั้น ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ได้กำหนดให้แต่ละวัด มี "คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัด" และคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินฯ ต้องจัดทำงบบัญชีทรัพย์สินของวัดตามหลักการบัญชีตามมาตรฐานสากล โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน, งบรายได้ค่าใช้จ่ายและงบกระแสเงินสดทั้งรายเดือนและรายปี ผ่านการตรวจสอบบัญชีจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตรับรอง ทั้งนี้ทรัพย์สินของวัดให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินของมูลนิธิหรือองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยวัดหรือเกี่ยวเนื่องกับวัดด้วย
นอกจากนี้ "คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัด" จะต้องส่งงบบัญชีให้ "สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ " และสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณชนในท้องที่ซึ่งวัดนั้นตั้งอยู่
ประเด็นที่สอง การจัดการทรัพย์สินของพระภิกษุ ร่าง กม.ฉบับนี้ กำหนดว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ใน"สมณเพศ" ให้ถือเป็นทรัพย์สินของวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่
และเมื่อพระภิกษุรูปนั้นพ้นจากความเป็นพระภิกษุหรือมรณภาพ ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นทรัพย์สินของวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่ รวมทั้งพระภิกษุต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินที่พระรูปนั้นได้รับให้คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินของวัดที่ตนสังกัดอยู่ทราบทุกปี (ปัจจุบันทรัพย์สินที่พระภิกษุรูปใดได้รับในขณะบวชเป็นพระอยู่ พระรูปนั้นสามารถนำทรัพย์สินที่ได้รับไปจำหน่าย จ่ายโอน หรือทำพินัยกรรมยกให้บุคคลใดก็ได้) ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในบางวัดดำเนินการโดยเจ้าอาวาสรูปเดียว ไม่เปิดเผย ไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ เป็นช่องทางให้มีการนำทรัพย์สินของวัดไปใช้ในทางมิชอบ ส่วนพระภิกษุ ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่นำเงิน ทรัพย์สินที่มีผู้ทำบุญ บริจาคให้ นำไปใช้ส่วนตัว
'ที่ผมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ก็เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของวัดและทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปอย่างเหมาะสม มีการเปิดรายการทรัพย์สินวัด พระภิกษุสงฆ์ มีการทำบัญชีราชการทรัพย์สินอย่างเป็นระบบ ซึ่งวัดเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน กระทรวง มูลนิธิ องค์กรต่างๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะต้องมีการทำบัญชีทรัพย์สินตามมาตราฐานบัญชี วัดก็เช่นกัน เมื่อทำบัญชีแล้วก็ต้องมีผู้สอบสอบบัญชีมาตรวจสอบและสามารถเปิดเผยได้ ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้ว่า ว่าวัดและพระภิกษุสงฆ์มีเงินและทรัพย์สินเท่าไร ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของวัดหรือทรัพย์สินส่วนตัวของพระ บางครั้งก็มีการยักยอกเงินวัดเป็นทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการทำบัญชีนี้จะทำให้ทรัพย์สินของวัดไม่รั่วไหล ตรวสอบได้ นอกจากนี้ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศให้ถือเป็นของวัดแต่สามารถใช้จ่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสมควรและเกี่ยวกับศาสนกิจเท่านั้นจะนำไปให้ญาต ไปซื้อรถซื้อบ้านไม่ได้ ซึ่งต้องทำบัญชีรายงาน และเมื่อพ้นจากความเป็นพระหรือมรณภาพก็ให้ตกเป็นของวัดเช่นกัน โดยในเรื่องนี้จะมีคณะกรรมการจัดการทรัยพ์สินของวัด มาเป็นผู้ดูแล" ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ โดยร่าง กม.ฉบับนี้ กำหนดให้มีสภาพุทธบริษัทแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 36 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสมาชิกสภาฯ มีทั้งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิจากธรรมยุตินิกายและมหานิกาย,ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระธรรมวินัย,อาจารย์ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " จะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตีความพระธรรมวินัยเพื่อให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ให้มีผู้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปบิดเบือน เพราะปัจจุบันมีการบิดเบือนตีความพระธรรมวินัยการทำบุญทำทานผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนไปเพื่อมุ่งแต่ลาภสักการะ อาจจะเป็นการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาบริจาคเป็นธุรกิจหารายได้จำนวนมหาศาล สร้างความเสียหายให้กับหลักการของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้"สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" ยังมีหน้าที่รวบรวมและเผยแพร่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
โดยสรุป "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" จะทำหน้าที่เหมือน"คณะกรรมการกฤษฎีกา" ซึ่งเมื่อมีคำวินิจฉัยหรือให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำเรื่องใดไปแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ต้องนำไปปฏิบัติ และคำวินิจฉัยสามารถนำไปอ้างอิงเป็นทางการได้ และหากร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย ในทางปฏิบัติ"สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " ก็จะมีการตั้ง "คณะวินัยธร"ขึ้นมาทำหน้าที่ตัดสินข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ ซึ่งในการวินิจฉัย "คณะวินัยธร" ก็จะยึดเอาตามการตีความ หรือคำวินิจฉัย หรือความเห็น ที่ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " ได้เคยให้ไว้ แต่ถ้าเรื่องร้องเรียนนั้นเป็นเรื่องใหม่ "คณะวินัยธร" ก็จะถามความเห็นไปที่ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ" ซึ่งเมื่อ "สภาพุทธบริษัทแห่งชาติ " มีคำนิจฉัยหรือให้ความเห็นว่าอย่างไร "คณะวินัยธร" ก็จะตัดสินไปตามนั้น หาก"คณะวินัยธร" ตัดสินว่าพระรูปใดต้องพ้นจากความเป็นสงฆ์ พระรูปนั้น ยังสามารถอุทธรณ์ต่อ"คณะวินัยธร" ได้อีกครั้ง แต่ถ้า" คณะวินัยธร" ยังตัดสินให้พ้นจากความเป็นสงฆ์เหมือนเดิม คำตัดสินของ"คณะวินัยธร" เป็นที่สุด ดังนั้น"คณะวินัยธร" จึงเปรียบเสมือน"ศาลสงฆ์" ซึ่งหากฝ่าฝืน ไม่ยอมสึก ก็จะมีความผิดฐานแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ ซึ่งมีโทษทางอาญา
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ แน่นอนว่า วัดและพระที่มีผลประโยชน์มาก มีทรัพย์สินสะสมมาก ย่อมไม่พอใจ ส่วน ร่าง พ.ร.บ.สภาพุทธบริษัท ที่มีการตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาตีความพระธรรมวินัย นั้น ก็อาจถูกตั้งคำถามว่าเป็นใครกัน ที่จะมาผูกขาดตีความพระธรรมวินัยคำสอนพระพุทธเจ้า ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ต้องจับตาต่อไปว่า เมื่อร่าง กม.ทั้งสองฉบับนี้ ได้มีการเสนอต่อนายกฯและประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว จะได้รับการผลักดันต่อเพื่อออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไปหรือไม่