รู้หรือไม่?? หากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะตรวจตราบนท้องถนนหรือทางหลวง
จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย ไม่ใช่อยู่ดีๆ
จะตั้งด่านตรวจจับได้ตามอำเภอใจ
จะพาไปรู้จักกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง มาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ที่มีคำนิยามแตกต่างกันไป โดยแบ่งความหมายของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ไว้อย่างชัดเจน
1. ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522) หรือทางหลวง (ความหมายตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2. จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกมาปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
3. จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
4. การจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด คือ ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง แต่ยกเว้นตามด้านล่าง
5. ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม.หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
6. จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้น ผบก. ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
7. จุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
8. การปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไปเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
9. การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
10. ที่ด่านหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร
11. ในเวลากลางคืน จะต้องมีแสงไปส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว นอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร…” (ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้) ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
12. ให้ หน.สน./สภ. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด ที่ใช้สำหรับการตั้งจุดตรวจไว้อย่างครบถ้วน และพร้อมใช้การได้ตลอดเวลา
13. การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยให้ ผบก.น. ภ.จว. ทล. และ จร. เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ และ รอง ผบช.น.ภาค 1-9 ศชต. และ ก. ที่รับผิดชอบงานจราจร เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในภาพรวมของหน่วย เพื่อมิให้เกิดการซ้ำซ้อน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/779632
จะพาไปรู้จักกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง มาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ที่มีคำนิยามแตกต่างกันไป โดยแบ่งความหมายของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ไว้อย่างชัดเจน
1. ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522) หรือทางหลวง (ความหมายตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2. จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกมาปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
3. จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
4. การจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด คือ ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง แต่ยกเว้นตามด้านล่าง
5. ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม.หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
6. จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้น ผบก. ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
7. จุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
8. การปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไปเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
9. การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
10. ที่ด่านหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร
11. ในเวลากลางคืน จะต้องมีแสงไปส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว นอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร…” (ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้) ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
12. ให้ หน.สน./สภ. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด ที่ใช้สำหรับการตั้งจุดตรวจไว้อย่างครบถ้วน และพร้อมใช้การได้ตลอดเวลา
13. การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยให้ ผบก.น. ภ.จว. ทล. และ จร. เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ และ รอง ผบช.น.ภาค 1-9 ศชต. และ ก. ที่รับผิดชอบงานจราจร เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในภาพรวมของหน่วย เพื่อมิให้เกิดการซ้ำซ้อน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/779632