บางคนอาจสงสัยว่าเเค่ต้นไม้จะสามารถฆ่าคนได้จริงหรือเปล่า
คุรอาจไม้เคยได้ยิน “เพชฌฆาต หน้านิ่ง”
ที่ไม่ต้องทำอะไรมากเต่สามารถฆ่าคนได้
ยิวาน เกลการ์ด (Yvan Gaillard) จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพิษวิทยา Voulte-sur-Rhône ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า “คาร์เบอรา โอดอลลาม” (Cerbera odollam) หรือ พืชสกุล “ตีนเป็ดทะเล” ที่เติบโตอยู่ทั่วอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฆ่าตัวตายของชาวอินเดียมากกว่าต้นไม้อื่นๆ และไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ผู้ชำนาญด้านอายุรเวช และเจ้าหน้าที่ผู้ชันสูตรพลิกศพต่างไม่สามารถตรวจพบได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตเพราะพิษของต้นไม้ดังกล่าวจริงหรือไม่
คณะทำงานศึกษาเรื่องพิษในต้นตีนเป็ดซึ่งนำโดยเกลการ์ด กล่าวว่า มีเอกสารระบุว่าเฉพาะในรัฐเคราลา (Kerala) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เพียงรัฐเดียวก็ปรากฏจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยพิษจากตีนเป็ดทะเลมากกว่า 500 รายในช่วงปี 1989-1999
ทีมงานของเกลการ์ดได้ใช้กรรมวิธีโครมาโตกราฟี (chromatography) อย่างละเอียดคู่กับวิธีการแมส สเปกโตรเมทรี เพื่อชันสูตรเนื้อเยื่อว่ามีร่องรอยพิษของต้นไม้ดังกล่าวหรือไม่ โดยทีมงานได้เปิดเผยถึงจำนวนของผู้ที่ถูกพิษเสียชีวิต และระบุว่าอาจจะกลายเป็นการฆาตกรรมโดยไม่มีใครสามารถสังเกตหรือสงสัยได้ เพราะบางรายที่เสียชีวิตด้วยพิษของตีนเป็ด มีข้อสงสัยว่าน่าจะเป็นการฆาตกรรมมากว่า
เมล็ดของต้นตีนเป็ดนั้นมีรสขม แต่ถ้าหากนำมาใช้วางยาพิษ ก็สามารถกลบเกลื่อนได้ด้วยการนำไปบดและผสมกับอาหารที่มีรสจัด เพราะตีนเป็ดน้ำมีสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจเรียกว่า “คาร์เบอริน” (cerberin) เป็นตัวยาโครงสร้างเดียวกับที่ใช้ในยากระตุ้นหัวใจ พบมากในต้นฟอกซ์โกลฟ์ (foxglove) ซึ่งพิษจากต้นฟอกซ์โกลฟ์นี้เป็นที่รู้จักกันดีทางตะวันตก
ส่วนการทำงานของสารกระตุ้นหัวใจในปริมาณมากก็สามารถฆ่าคนได้ เพราะสารดังกล่าวจะไปสกัดกั้นช่องทางเดินของแคลเซียมไอออนในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้รบกวนกระบวนการเต้นของหัวใจ และแม้จะสิ้นใจด้วยพิษตีนเป็ด แต่อายุรแพทย์ก็ยังไม่สามารถจะระบุได้ชัดเจนว่าผู้ตายเสียชีวิตด้วยตีนเป็ดน้ำจริงหรือไม่ จนกว่าจะได้หลักฐานว่ามีการกินต้นไม้ชนิดนี้เข้าไป ดังนั้นมันจึงกลายเป็นการฆาตกรรมที่ดูแนบเนียน
อย่างไรก็ดี 3 ใน 4 ของผู้ที่ตายด้วยพิษตีนเป็ดนั้นเป็นหญิงชาวอินเดีย โดยทางทีมงานคาดว่า อาจเป็นไปได้ว่าต้นไม้ดังกล่าวกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปลิดชีวิตภรรยาสาวผู้ที่ไม่สามารถเข้ากับธรรมเนียมและครอบครัวสามีชาวอินเดียได้ และที่สำคัญต้นตีนเป็ดดูเหมือนว่าจะเจริญเติบโตอย่างผิดธรรมชาติในบางพื้นที่ บางทีอาจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการฆาตกรรมก็เป็นได้
สำหรับต้นตีนเป็ดทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odollum Gaertn. อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด APOCYNACEAE ในประเทศไทย พบขึ้นตามชายหาด ริมน้ำ คลอง ห้วยหนอง และบริวเณที่มีอิทธิพลของน้ำกร่อยทั่วไป ในต่างประเทศ พบใน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย
ต้นตีนเป็ดมีสรรพคุณทางยา แต่ก็มีพิษไม่น้อยและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะทั่วไปของตีนเป็ดทะเลเป็นไม้ต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 – 8 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ มีดอก ออกเป็นช่อเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนผลค่อนข้างกลมรี ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่จัดสีม่วงถึงม่วงเข้มออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี
สรรพคุณทางสมุนไพรของตีนเป็ดน้ำ มีมากมายตลอดทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็น แก้ลมให้กระจาย แก้ลม แก้อาเจียน เปลือกต้น เป็นยาถ่าย แก้บิด ขับไส้เดือน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ สมานสำไส้ แก้ไข้ แก้นิ่ว แก่น รสเฝื่อน กระจายเลือด แก้อัมพาต ทำให้อาเจียนเป็นยาถ่าย แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิต แก้โลหิตพิการ แก้ไข้ตัวร้อน ใช้เบื่อปลามีฤทธิ์ต่อหัวใจ มียาบำรุงหัวใจ ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายทำให้แท้งได้
อย่างไรก็ดียางจากต้น ใบ และเนื้อในผล รับประทานมากทำให้อาเจียน อาจถึงตายได้ ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา สามารถนำไปใช้กระตุ้นหัวใจ ต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ลดปฏิกิริยาตอบสนอง ต้านการชัก แก้ปวด เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ และการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดใบเข้าช่องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้ส้ตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 20.8 ก/กก.
ยิวาน เกลการ์ด (Yvan Gaillard) จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพิษวิทยา Voulte-sur-Rhône ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า “คาร์เบอรา โอดอลลาม” (Cerbera odollam) หรือ พืชสกุล “ตีนเป็ดทะเล” ที่เติบโตอยู่ทั่วอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฆ่าตัวตายของชาวอินเดียมากกว่าต้นไม้อื่นๆ และไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ผู้ชำนาญด้านอายุรเวช และเจ้าหน้าที่ผู้ชันสูตรพลิกศพต่างไม่สามารถตรวจพบได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตเพราะพิษของต้นไม้ดังกล่าวจริงหรือไม่
คณะทำงานศึกษาเรื่องพิษในต้นตีนเป็ดซึ่งนำโดยเกลการ์ด กล่าวว่า มีเอกสารระบุว่าเฉพาะในรัฐเคราลา (Kerala) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เพียงรัฐเดียวก็ปรากฏจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยพิษจากตีนเป็ดทะเลมากกว่า 500 รายในช่วงปี 1989-1999
ทีมงานของเกลการ์ดได้ใช้กรรมวิธีโครมาโตกราฟี (chromatography) อย่างละเอียดคู่กับวิธีการแมส สเปกโตรเมทรี เพื่อชันสูตรเนื้อเยื่อว่ามีร่องรอยพิษของต้นไม้ดังกล่าวหรือไม่ โดยทีมงานได้เปิดเผยถึงจำนวนของผู้ที่ถูกพิษเสียชีวิต และระบุว่าอาจจะกลายเป็นการฆาตกรรมโดยไม่มีใครสามารถสังเกตหรือสงสัยได้ เพราะบางรายที่เสียชีวิตด้วยพิษของตีนเป็ด มีข้อสงสัยว่าน่าจะเป็นการฆาตกรรมมากว่า
เมล็ดของต้นตีนเป็ดนั้นมีรสขม แต่ถ้าหากนำมาใช้วางยาพิษ ก็สามารถกลบเกลื่อนได้ด้วยการนำไปบดและผสมกับอาหารที่มีรสจัด เพราะตีนเป็ดน้ำมีสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจเรียกว่า “คาร์เบอริน” (cerberin) เป็นตัวยาโครงสร้างเดียวกับที่ใช้ในยากระตุ้นหัวใจ พบมากในต้นฟอกซ์โกลฟ์ (foxglove) ซึ่งพิษจากต้นฟอกซ์โกลฟ์นี้เป็นที่รู้จักกันดีทางตะวันตก
ส่วนการทำงานของสารกระตุ้นหัวใจในปริมาณมากก็สามารถฆ่าคนได้ เพราะสารดังกล่าวจะไปสกัดกั้นช่องทางเดินของแคลเซียมไอออนในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้รบกวนกระบวนการเต้นของหัวใจ และแม้จะสิ้นใจด้วยพิษตีนเป็ด แต่อายุรแพทย์ก็ยังไม่สามารถจะระบุได้ชัดเจนว่าผู้ตายเสียชีวิตด้วยตีนเป็ดน้ำจริงหรือไม่ จนกว่าจะได้หลักฐานว่ามีการกินต้นไม้ชนิดนี้เข้าไป ดังนั้นมันจึงกลายเป็นการฆาตกรรมที่ดูแนบเนียน
อย่างไรก็ดี 3 ใน 4 ของผู้ที่ตายด้วยพิษตีนเป็ดนั้นเป็นหญิงชาวอินเดีย โดยทางทีมงานคาดว่า อาจเป็นไปได้ว่าต้นไม้ดังกล่าวกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปลิดชีวิตภรรยาสาวผู้ที่ไม่สามารถเข้ากับธรรมเนียมและครอบครัวสามีชาวอินเดียได้ และที่สำคัญต้นตีนเป็ดดูเหมือนว่าจะเจริญเติบโตอย่างผิดธรรมชาติในบางพื้นที่ บางทีอาจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการฆาตกรรมก็เป็นได้
สำหรับต้นตีนเป็ดทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odollum Gaertn. อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด APOCYNACEAE ในประเทศไทย พบขึ้นตามชายหาด ริมน้ำ คลอง ห้วยหนอง และบริวเณที่มีอิทธิพลของน้ำกร่อยทั่วไป ในต่างประเทศ พบใน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย
ต้นตีนเป็ดมีสรรพคุณทางยา แต่ก็มีพิษไม่น้อยและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะทั่วไปของตีนเป็ดทะเลเป็นไม้ต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 – 8 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ มีดอก ออกเป็นช่อเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนผลค่อนข้างกลมรี ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่จัดสีม่วงถึงม่วงเข้มออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี
สรรพคุณทางสมุนไพรของตีนเป็ดน้ำ มีมากมายตลอดทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็น แก้ลมให้กระจาย แก้ลม แก้อาเจียน เปลือกต้น เป็นยาถ่าย แก้บิด ขับไส้เดือน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ สมานสำไส้ แก้ไข้ แก้นิ่ว แก่น รสเฝื่อน กระจายเลือด แก้อัมพาต ทำให้อาเจียนเป็นยาถ่าย แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิต แก้โลหิตพิการ แก้ไข้ตัวร้อน ใช้เบื่อปลามีฤทธิ์ต่อหัวใจ มียาบำรุงหัวใจ ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายทำให้แท้งได้
อย่างไรก็ดียางจากต้น ใบ และเนื้อในผล รับประทานมากทำให้อาเจียน อาจถึงตายได้ ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา สามารถนำไปใช้กระตุ้นหัวใจ ต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ลดปฏิกิริยาตอบสนอง ต้านการชัก แก้ปวด เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ และการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดใบเข้าช่องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้ส้ตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 20.8 ก/กก.