ราชกิจจานุเบกษา
มีประกาศว่าด้วยเรื่องของการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
หากติดสติกเกอร์ฟิล์ม - เปลี่ยนสีรถ
ต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณาก่อน
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2560 ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 ไว้แล้วนั้น
โดยที่ปัจจุบันเทคโนโลยีการทําสีของรถมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
การทําสีรถมีความหลากหลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสีรถสามารถทําได้โดยง่าย
ดังนั้น เพื่อให้การกําหนดสีรถสําหรับการจดทะเบียน
และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีรถภายหลังการจดทะเบียนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
และถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าวเสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ..
1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560"
2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
3. ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
4. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549
5. การกำหนดสีรถ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถกําหนดสีตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่ต้องคํานึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ตามตัวอย่างสีรถที่กําหนดในภาคผนวก ก แนบท้ายระเบียบนี้
- กรณีตัวรถมีหลายสี โดยแต่ละสีแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนบริเวณตัวถังส่วนที่สําคัญของรถเช่น ฝากระโปรงหน้า-ท้าย หลังคา หรือประตู เป็นต้น ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลักเป็นสีของรถ ไม่เกิน 3 สี แล้วแต่กรณี เช่น ตัวรถมี 2 สีกําหนดเป็นสี ขาว แดง หรือตัวรถมี 3 สี กําหนดเป็นสี ดํา ขาว เหลือง และหากตัวรถมีมากกว่า 3 สี และสามารถกําหนดสีหลักของตัวรถได้ให้กําหนดสีหลัก 3 สี ตามด้วยสีลําดับท้ายสุด "หลายสี" เช่น ขาว แดง หลายสี เว้นแต่กรณีไม่สามารถกําหนดสีใดเป็นสีหลักได้ ให้กําหนดว่า "หลายสี" เพียงอย่างเดียว
- กรณีสีคาดหรือแถบคาดที่ใช้ตกแต่งรถ โดยไม่ทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ แต่หากการตกแต่งรถทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ให้กําหนดเป็นสีของรถตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
5/1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีของรถไม่ว่าจะดําเนินการด้วยวิธีใด ๆ เช่น การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณากําหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 เว้นแต่กรณีการติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่นใด เพื่อการโฆษณาหรือตกแต่งรถเป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ เพิ่มเติมบนสีรถในภายหลัง ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ
ข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2560 ตามที่ได้มีระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 ไว้แล้วนั้น
1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560"
2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
3. ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
4. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549
5. การกำหนดสีรถ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถกําหนดสีตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่ต้องคํานึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ตามตัวอย่างสีรถที่กําหนดในภาคผนวก ก แนบท้ายระเบียบนี้
- กรณีตัวรถมีหลายสี โดยแต่ละสีแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนบริเวณตัวถังส่วนที่สําคัญของรถเช่น ฝากระโปรงหน้า-ท้าย หลังคา หรือประตู เป็นต้น ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลักเป็นสีของรถ ไม่เกิน 3 สี แล้วแต่กรณี เช่น ตัวรถมี 2 สีกําหนดเป็นสี ขาว แดง หรือตัวรถมี 3 สี กําหนดเป็นสี ดํา ขาว เหลือง และหากตัวรถมีมากกว่า 3 สี และสามารถกําหนดสีหลักของตัวรถได้ให้กําหนดสีหลัก 3 สี ตามด้วยสีลําดับท้ายสุด "หลายสี" เช่น ขาว แดง หลายสี เว้นแต่กรณีไม่สามารถกําหนดสีใดเป็นสีหลักได้ ให้กําหนดว่า "หลายสี" เพียงอย่างเดียว
- กรณีสีคาดหรือแถบคาดที่ใช้ตกแต่งรถ โดยไม่ทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ แต่หากการตกแต่งรถทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ให้กําหนดเป็นสีของรถตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
5/1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีของรถไม่ว่าจะดําเนินการด้วยวิธีใด ๆ เช่น การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณากําหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 เว้นแต่กรณีการติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่นใด เพื่อการโฆษณาหรือตกแต่งรถเป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ เพิ่มเติมบนสีรถในภายหลัง ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ
ข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา