Home »
Uncategories »
“บริจาคอวัยวะ” กับ “บริจาคร่างกาย” ต่างกันอย่างไร บริจาคแล้วได้อะไร?
“บริจาคอวัยวะ” กับ “บริจาคร่างกาย” ต่างกันอย่างไร บริจาคแล้วได้อะไร?
คุณเคยสงสัยไหมว่า “บริจาคอวัยวะ” กับ “บริจาคร่างกาย” ต่างกันอย่างไร บริจาคแล้วได้อะไร?
สำหรับใครที่มีสกิลในการ “ละสังขาร” ขั้นเทพแล้ว
หลายคนได้บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ซึ่งถือเป็นการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างมาก นอกจากจะมีการบริจาคร่างกายแล้ว
ยังมีการบริจาคอวัยวะด้วย คำถามคือ มันต่างกันยังไง?
วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันอย่างไร
การบริจาคอวัยวะ
คือ การบริจาคแค่อวัยวะภายในของผู้เสียชีวิตที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น หัวใจ
ปอด ไต ตับ
อื่นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญเสื่อมสภาพ
เมื่อหมอปลูกถ่ายอวัยวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำร่างผู้เสียชีวิตส่งกลับคืนให้กับทางครอบครัว เพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
การบริจาคร่างกาย
คือ การบริจาคทั้งร่างกายหลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว จุดประสงค์ก็เพื่อ
มอบร่างของเราให้นักศึกษาแพทย์ได้ทำการศึกษา พูดง่ายๆ คือ
การเป็น “อาจารย์ใหญ่” นั่นเอง โดยผู้ที่จะเป็นอาจารย์ใหญ่ได้นั้น
ร่างกายจะต้องมีอวัยวะครบถ้วน ยกเว้นดวงตา จึงจะสามารถบริจาคร่างกายได้
โดยสมาชิกผู้ใช้
Facebook ชื่อคุณ Palaloy Ploy
ให้ข้อมูลที่อธิบายไว้ว่า “การบริจาคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ 1.ตา 2.
อวัยวะ 3. ร่างกาย .. เราสามารถบริจาคได้ทั้ง 3 อย่าง
แต่จะถูกเอาไปใช้ในแบบไหนขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิต
– บริจาคอวัยวะ = สมองตาย
– บริจาคร่างกาย = แก่ตาย
บริจาคแล้วได้อะไร ?
–
ได้ให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งก็คือ นักศึกษาแพทย์
เพื่อที่พวกเขาจะได้ศึกษาร่างกายที่ไม่มีประโยชน์แล้วของผู้บริจาค
ไปทำการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์ต่อไป
– ได้แบ่งปัน อวัยวะที่เราบริจาค ถือเป็นการได้แบ่งปันและต่อลมหายใจให้กับเพื่อนร่วมโลก
–
ได้ความสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอวัยวะ หรือบริจาคร่างกาย
ถ้าใครตัดสินใจบริจาคแล้ว
เชื่อว่าผลของการอุทิศนี้ก็ต้องนำมาซึ่งความสบายใจด้วยกันทั้งนั้น
– ได้บุญ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธเรา การให้ ไม่ว่าจะให้มาก ให้น้อย ก็ถือเป็นกุศลด้วยกันทั้งนั้น
บริจาคที่ไหน ?
มีโรงพยาบาล
หรือมหาวิทยาลัย ที่รับบริจาคอวัยวะหรือร่างกาย เยอะอยู่เหมือนกัน
สถานที่ต่อไปนี้ Campus-Star จะขอยกตัวอย่างนะคะ
ถ้าใครอยากบริจาคหรือสะดวกที่ไหนก็ไปกันได้จ้า
อย่าลืมสอบถามรายละเอียดสถานที่รับบริจาคอีกครั้ง
คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ : med.tu.ac.th
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร : medsci.nu.ac.th
คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ : med.cmu.ac.th
คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : sci.psu.ac.th
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย : organdonate.in.th
การบริจาคร่างกาย อวัยวะ ดวงตา มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
–
เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จะร่วมกับนักศึกษาแพทย์ปี 2
ทุกคน เป็นเจ้าภาพจัดงานพระราชทางเพลิงศพ ให้กับอาจารย์ใหญ่ทุกๆ ท่าน
– การบริจาคแบ่งออกเป็น
3 อย่าง คือ 1.ตา 2. อวัยวะ 3. ร่างกาย .. เราสามารถบริจาคได้ทั้ง 3 อย่าง
แต่จะถูกเอาไปใช้ในแบบไหนขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิต / บริจาคอวัยวะ =
สมองตาย / บริจาคร่างกาย = แก่ตาย
การบริจาคร่างกาย
อาจารย์ใหญ่
คือ
ร่างกายของมนุษย์ ที่ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนในการบริจาคร่างกายไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต
ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ร่างกายของตัวเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง
มหกายวิภาคศาสตร์ หรือระบบของร่างกายนั่นเอง
คุณสมบัติอาจารย์ใหญ่ ผู้ที่บริจาคร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่นั้น
ต้องไม่เสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรง และต้องมีอวัยวะหรือส่วนต่างๆ
ของร่างกายครบถ้วน
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รับบริจาคร่างกาย เปิดทำการ
จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดทำการ
08.00-14.00 น. ค่ะ
บริจาคอวัยวะ
ตัวอย่าง บัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์
การบริจาคอวัยวะ
การบริจาคอวัยวะ
คือ การบริจาคแค่อวัยวะภายในของผู้เสียชีวิตที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น หัวใจ
ปอด ไต ตับ อื่นๆ
ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญเสื่อมสภาพ
เมื่อหมอปลูกถ่ายอวัยวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็จะนำร่างผู้เสียชีวิตส่งกลับคืนให้กับทางครอบครัว
เพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
บริจาคเลือด
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
National Blood Centre Thai Red Cross Society
วิชาที่ทุกคนต้องผ่าน กับตำนานอาจารย์ใหญ่
ปี
2 จะต้องมีเรียนวิชาอาจารย์ใหญ่ค่ะ เรียนเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ตอนแรกกลัวมาก เป็นคนไม่กลัวเลือด เข็ม แต่กลัวผี
ขนลุกทุกครั้งที่เห็น แต่พอเรียนไปสักพัก ก็เริ่มสนุกขึ้นนะ
เพราะเรารู้ว่าอาจารย์ท่านมาดี ท่านตั้งใจให้เราได้ศึกษา
แล้วทุกครั้งเวลาที่เราเรียนเสร็จ
พวกเราจะต้องรวมตัวทำพิธีที่คณะ แล้วก็แยกไปทำตามวัดต่างๆ
สำหรับความเชื่อของหนู
คืออาจารย์ท่านให้เรามากเหลือเกินเราควรจะไปส่งท่านครั้งสุดท้าย
เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่านเท่าที่เราจะทำได้ค่ะ
อย่างเคยมีเรื่องเล่าของรุ่นพี่คนหนึ่งนะ ที่เขาไม่ไปทำ
แล้วพูดจาแบบไม่ค่อยแคร์ ปรากฏว่า พี่เขาสอบไม่ผ่านตั้งแต่ปี 3 เลยค่ะ
พี่เขาก็ต้องไปขอขมาท่าน ถึงจะสอบผ่านได้นะ..
แหล่งที่มา: News.mthai.com, campus-star, นิตยสาร Campus star V.17 (สัมภาษณ์เมื่อ ตุลาคม 2014)