Home »
Uncategories »
เป็นบุญตา! เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 1 ในรัชกาลที่ 10 งดงามสมพระเกียรติ
เป็นบุญตา! เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 1 ในรัชกาลที่ 10 งดงามสมพระเกียรติ
ทางเพจ Thairoyalfamily
ได้ออกมาเผยแพร่ภาพ เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 1 ในรัชกาลที่ 10
ซึ่งเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะพระราชทานแก่พระราชวงศ์ และผู้ที่เห็นสมควร พร้อมกับระบุรายละเอียดว่า
“เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๑๐ ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)”
เหรียญรัตนาภรณ์ ได้รับการสถาปนาขึ้นในรัชสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕
เมื่อปี ๒๔๑๒
เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบส่วนพระองค์
แบ่งออกเป็น ๕ ชั้น สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน(ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามลำดับดังนี้
เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๑๐ ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑) มีลักษณะเป็น อักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร. ขอบเรือนเงินประดับเพชรทั้งดวง
๑. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
๒. สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
๓. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๔. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
๕. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
๖. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ
๘. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
๙. พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
๑๐. พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
๑๑. พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
๑๒. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
๑๓. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม
๑๔. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
๑๕. พันเอก(พิเศษ)หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์
เหรียญรัตนาภรณ์จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์
นับเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาส่วนพระองค์
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานแก่ผู้ใดก็แล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควร
ผู้ที่ได้รับพระราชทานจะได้รับประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกรประจำพระองค์กำกับไว้
หากได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ในชั้นที่สูงขึ้นต้องส่งเหรียญดวงเดิมคืน
หากผู้ได้รับพระราชทานเหรียญวายชนม์
จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทายาทเก็บเหรียญเอาไว้เป็นเกียรติยศ และ
สามารถใช้เหรียญร้อยสร้อยสวมคอได้
แต่จะนำไปร้อยแพรแถบเพื่อเอาไปประดับกับเสื้อไม่ได้นอกจากนี้ยังสามารถเขียนอักษรย่อของเหรียญที่ได้รับพระราชทานไว้ท้ายชื่อได้อีกด้วย