เปิดภาพ “สิ่งมหัศจรรย์ผา 7 ชั้น” วัดภูทอก

สวัสดีครับมากันอีกแล้วครับวันนี้ก็มาพบกับผมอีกเช่นเคย และวันนี้จะพาเพื่อนๆมาพบกับ วัดแห่งหนึ่งที่วิศวะก็ยังต้องขอลา เพราะมีบางอย่างที่ไม่ธรรมดา และวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดเจติยาคีรีวิหาร” หรือ “ภูทอก” เป็นวัดที่มีบันไดถึง7ชั้น วนรอบภูเขา เห็นภาพแล้วอยากไปขึ้นมาทันทีเลยครับเพราะผมก็ยังไม่เคยไป และยิ่งอยากไปเมื่อรู้ว่าวิศวะยังต้องยอม ตามซาลาเปาแอดมินอัพยิ้มไปรับชมกันต่อเลยดีกว่าครับว่าจะเป็นอย่างไรและ เกิดสิ่งมหัศจรรย์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรไปติดตามพร้อมๆกันเลยครับ

“วัดเจติยาคีรีวิหาร” หรือ “ภูทอก” สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ โดยการนำพาของ “พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ” ซึ่งได้มาบำเพ็ญเพียรสมณธรรมอยู่ที่ภูวัว จังหวัดหนองคาย

เรื่องของเรื่องก็คือ คืนหนึ่งพระอาจารย์จวนได้เกิดนิมิตขึ้น โดยเห็นปราสาทสองหลัง ลักษณะสวยงามมาก อยู่ทางด้านภูทอกน้อย ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมาพิสูจน์ตามที่เกิดนิมิตและได้พบกับลักษณะภูมิประเทศที่สวยงามร่มรื่น เหมาะที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้สำรวจและปักกลดอยู่ที่ถ้ำบนภูทอกกับพระครูสิริธรรมวัฒน์

ต่อมา ญาติโยมชาวบ้านคำแคนเห็นว่าพระอาจารย์จวนธุดงค์มาอยู่ที่ภูทอก จึงพร้อมใจกันอาราธนาให้สร้างวัดขึ้นที่ภูทอกแห่งนี้

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ชาวบ้านได้มาช่วยกันสร้างบันไดขึ้นภูทอกจนถึงชั้นที่ ๕-๖ และได้ปลูกสร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์อยู่ถึง ๒ เดือน ๑๐ วัน จึงแล้วเสร็จ

ปี พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ พระอาจารย์จวนได้ชักชวนชาวบ้านสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นสองแห่งเพื่อใช้เก็บกักน้ำและจัดระบบน้ำประปาภายในวัดภูทอก

นอกจากนั้น กองทัพอากาศดอนเมืองได้ถวายเครื่องไฟฟ้าแรงสูงสำหรับใช้ภายในวัดหนึ่งเครื่อง กรมวิเทศสหการได้ถวายพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่

เป็นประธานหนึ่งองค์ไว้ที่วิหารชั้น ๕ และบรรดาญาติโยมได้ช่วยกันสมทบทุนสร้างโรงฉันและศาลาที่ชั้นหนึ่งหลัง พร้อมกับก่อสร้างสะพานลอยฟ้าไปรอบ ๆ ภูทอกในชั้นที่ ๕ และ ๖ รวมถึงการสร้างสถานที่บำเพ็ญเพียรภาวนาแทรกไว้ตามจุดต่าง ๆ โดยรอบหน้าผา

สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๕,๐๐๐ บาท

การก่อสร้างนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะเป็นการเจาะหินทำนั่งร้านด้วยไม้เนื้อแข็งสองท่อน ผูกติดกับเสาที่ปักไม้เท้าแขนลงไป แล้วจึงพาดไม้กระดานเป็นสะพานทีละช่วง ช่วงละประมาณหนึ่งเมตรเศษ ระหว่างคานจะมีคานรองรับอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สะพานแข็งแรงมาก

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ วัดภูทอกยังได้มีการปรับปรุงและสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเป็นระยะ ๆ จนกลายเป็นสถานที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันคือบึงกาฬ) ซึ่งมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเรื่องราวนี้ที่ซาลาเปาได้นำมาฝากเพื่อนๆ ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาติดตามรับชม ไว้เจอกันใหม่ในครั้งต่อไป ต้องรอดูว่าซาลาเปาจะมีเรื่องราวอะไรดีๆมาฝากอีก สำหรับตอนนี้สวัสสดีครับ