ขัดห้องน้ำวัด อานิสงส์แรง แก้กรรม ชีวิตก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

ขัดห้องน้ำวัด อานิสงส์แรง แก้กรรม ชีวิตก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

พระไพศาล วิสาโล อธิบายความหมายของเวยยาวัจจมัยไว้ว่าหมายถึง “การทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้ รวมความถึงการช่วยเหลือกิจส่วนรวม เช่น

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ป่า การรักษาสมบัติสาธารณะ การดูแลชุมชนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

การชักชวนผู้คนให้ประหยัดพลังงานต่อต้านคอร์รั-ปชัน การเป็นจิตอาสาช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนตกทุ-กข์ได้ยาก

หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานปฏิบัติธรรม คนที่ช่วยเหลืองานวัดเป็นประจำ จะเรียกว่า “ไวยาวัจกร”

แต่ที่จริงการช่วยเหลืองานส่วนรวมไม่จำเป็นต้องช่วยงานวัด ก็ถือว่าเป็นการบำเพ็ญเวยยาวัจจมัยเช่นกัน

อานิสงส์ของการขัดห้องน้ำ…ในสมัยพุทธกาล มหาเศรษฐีสามีภรรยาแห่งพระนครโกสัมพี
มีบุตรนามว่า “พากุละ” หลังจากเกิดได้เพียง 5 วัน มารดาบิดาพร้อมด้วยเครือญาติ

ได้พาทาร-กน้อยไปอาบน้ำชำระร่างกาย ที่แม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างที่คนใช้กำลังอาบน้ำให้ทารกอยู่นั้น

มีปลาตัวใหญ่ว่ายผ่านมา เห็นทารกน้อยก็เข้าใจว่าเป็นอาหาร จึงฮุบทาร-กกลืนเข้าไปในท้องแล้วว่ายน้ำหนีไป

สร้างความเศ-ร้าโศกเสี-ยใจ แก่มารดาและบิดาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจบุญญาธิการของทาร-กพากุละ

เมื่อเข้าไปอยู่ในท้องปลาก็ไม่ได้รับอันดรายแต่อย่างใด กลับนอนสบายเหมือนอยู่บนที่นอนธรรมดา

ในทางกลับกัน ปลายักษ์กลับรู้สึกเดือดร้อนกระวนกระวาย เที่ยวแหวกว่ายไปตามกระแสน้ำ
จนติดตาข่ายของชาวประมงที่อาศัยในนครพาราณสี สามีภรรยามหาเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีซื้อปลายักษ์ตัวนี้ไป

หลังจากผ่าท้องปลาและพบทารกน้อยนอนอยู่ในนั้น ก็เกิดความรักใคร่ราวกับว่าเป็นบุตรของตน
จึงเลี้ยงดูทาร-กพากุละเป็นอย่างดี ข่าวของทารกน้อยในท้องปลาแพร่มาถึงเมืองโกสัมพี
หลังเศรษฐีและภรรยาทราบเรื่อง ก็รู้ทันทีว่าเป็นบุตรชายของตน

จึงรีบเดินทางมายังกรุงพาราณสีเพื่อขอทาร-กน้อยคืน แต่เศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีไม่ยอมคืนให้

พร้อมบอกว่า “เราเป็นผู้ซื้อปลาตัวนี้ ดังนั้นทารกที่อยู่ในครรภ์ของปลา ก็ถือเป็นสมบัติของเราด้วยเช่นกัน”

เมื่อตกลงกันไม่ได้ เศรษฐีทั้งสองฝ่ายจึงได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าพรหมทัตผู้มีปัญญามาก
พระองค์ทรงวินิจฉัยว่า “ทารกน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พ่อแม่เพียงสองคนไม่สามารถเลี้ยงดูเขาได้

จึงตัดสินให้ทารกน้อยผู้นี้มีบิดา 2 คนและมารดา 2 คน พร้อมให้ทั้งสองตระกูลช่วยกันเลี้ยงดู
โดยผลัดกันเลี้ยงคราวละ 4 เดือน”

ตั้งแต่นั้นเศรษฐีทั้งสองตระกูลก็เลี้ยงดูเด็กน้อยเป็นอย่างดี พากุละเสวยสุขในทรัพย์สมบัติจนอายุ 80 ปี

เป็นเวลาเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงธรรมที่เมืองโกสัมพี

ท่านพากุละจึงตามไปเข้าเฝ้าและฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์

พอฟังจบก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาบรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที

จากนั้นท่านพากุละจึงทูลขอบรรพชาอุปสมบท หลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพียง 7 วันก็บรรลุพระอรหันต์

แม้พระพากุละจะมีอายุมากถึง 80 ปีแล้ว แต่ท่านก็ปฏิบัติกิจสงฆ์ เช่น กวาดลานวัด

ทำความสะอาดวัด ขัดห้องน้ำไม่เคยขาด อีกทั้งยังไม่เคยบ่นปวดหลัง

ปว-ดตัวหรือแม้แต่เจ็บป่ว-ยเป็นไข้เลย สร้างความสงสัยในหมู่พระสงฆ์ยิ่งนัก

พระอานนท์จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า จึงทราบว่า

เมื่อชาติก่อนพระพากุละก่อกรรมดีไว้มาก ท่านชอบสร้างห้องน้ำถวายวัดบ้าง

สร้างห้องน้ำสาธารณะให้ผู้อื่นได้ใช้บ้าง อีกทั้งยังชอบทำความสะอาดห้องน้ำเป็นนิจ

จึงส่งผลให้ท่านเสวยบุญในชาตินี้ พระพากุละดับขันธปรินิพพานด้วยวัย 160 ปี

ก่อนนิพพาน ท่านได้เข้าเตโชสมาบัตินั่งนิพพาน ท่ามกลางภิกษุสงฆ์เมื่อท่านนิพพานแล้วเตโชธาตุก็บังเกิดเป็นไฟไห-ม้สรีระ ร่างกายของท่านให้หมดไป ณ ที่นั้นเอง

เวยยาวัจจมัย ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม พระครูโชติวัตรวิมล เจ้าอาวาสวัดคลองตาลอง

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 20 พูดถึงงานที่วัดแห่งนี้ต้องการอาสาสมัครมาช่วยทำงานว่า “ถ้าสนใจจะมาทำบุญแบบลงแรงที่วัดคลองตาลอง

อาตมาอยากให้ช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ เพราะห้องน้ำที่วัดมีมากกว่า 500 ห้อง

เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมที่มีจำนวนมาก บางคอร์สมากัน 3,000 กว่าคนก็มี

“การทำบุญด้วยการขัดห้องน้ำนั้น เป็นการทำงานอย่างต่ำแต่ใจสูง

ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่นี่ส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติไม่ได้ อาตมาจะแนะนำให้ไปขัดห้องน้ำ

ขัดไปอธิษฐานจิตไปด้วยเผื่อแผ่ให้ตัวเอง ให้พ่อแม่ และคนที่รัก พอขัดสัก 2 – 3 ห้อง

แล้วกลับมานั่งสมาธิจะได้ผลดีขึ้น หรือ เรียกว่าเห็นผลทันตาก็ว่าได้”