พายุฤดูร้อน เกิดจากอะไร ทำไมบางพื้นที่จึงมีฝนกระหน่ำและลูกเห็บตกในช่วงฤดูร้อน มาหาคำตอบกัน
อากาศร้อนอบอ้าวอยู่ไม่กี่วัน เราก็ได้ยินข่าวคราวพายุฤดูร้อนที่รุนแรงพัดถล่มจังหวัดต่าง ๆ จนสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและเรือกสวนไร่นา ทำให้บางคนเกิดความสงสัยว่า "พายุฤดูร้อน" คืออะไร วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "พายุฤดูร้อน" มาฝากกันให้คลายสงสัยค่ะ
พายุฤดูร้อน คืออะไร
พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorms) เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน พายุฤดูร้อนนั้นจะทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ลมพายุพัดอย่างแรง โดยมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าเกิดขึ้น หรือในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย แต่ฝนที่ตกนั้นจะตกไม่นาน เพียงแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะหยุดไป และกินพื้นที่แคบ ๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร เมื่อฝนหยุดตกแล้วอากาศจะเย็นลง และท้องฟ้าจะเปิดอีกครั้ง
สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน
พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น
สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่าลบ 60 ถึงลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้
ในขณะที่ภาคพื้นดินนั้น อากาศที่ยกตัวขึ้นอย่างฉับพลัน จะทำให้อากาศในบริเวณใกล้เคียงไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นลมพายุ ทำให้เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนจะมีลมพายุพัดแรงตามไปด้วยนั่นเอง
ลักษณะอากาศก่อนเกิดพายุฤดูร้อน
สัญญาณที่จะบ่งบอกว่าพายุฤดูร้อนกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ก็คือ สภาพอากาศในช่วงนั้นจะร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลาย ๆ วัน มีความชื้นในอากาศสูงจนรู้สึกเหนียวตัว ลมค่อนข้างสงบ ท้องฟ้าขมุกขมัว และมีเมฆมากเมฆจะสูงและมีสีเทาเข้ม ต่อมาลมจะพัดแรงขึ้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก่อนที่เมฆจะก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว จนเกิดฟ้าแลบ และฝนฟ้าคะนองในระยะไกล สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองตามมา
พื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน
เนื่องจากมักมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงเกิดการปะทะกันของมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่น ๆ เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด หรือบางครั้งอาจได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเข้ามาเสริม จึงยิ่งทำให้เกิดพายุ ลมกระโชกแรงมากขึ้น
ขณะที่ภาคกลางและภาคตะวันออก มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้น้อยกว่า เช่นเดียวกับภาคใต้ที่สามารถเกิดพายุฤดูร้อนได้เช่นกัน แต่ไม่บ่อยนัก
การเตรียมรับมือและป้องกันภัยจากพายุฤดูร้อน
หากอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภัยพายุฤดูร้อน ควรเตรียมรับมือดังนี้
- ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่า
- หมั่นติดตามสภาวะอากาศ และฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ
- หากมีประกาศเตือนภัยให้เก็บสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาสามารถปลิวตามลมได้ไว้ในที่มิดชิด ป้องกันสิ่งของถูกพายุพัดเสียหายและได้รับอันตรายจากการถูกสิ่งของพัดกระแทก
- ตรวจสอบความแข็งแรงมั่นคงของบ้านเรือน หลังคา อาคารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เพราะจะเกิดลมพายุอย่างรุนแรงพัดเข้ามาด้วย ซึ่งอาจทำให้หลังคาบ้านปลิวไปพร้อมกับลม หรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาทะลุหลังคาบ้านได้ หากประตูหรือหน้าต่างไม่แข็งแรง ควรใช้ไม้ทาบตีตะปูปิดตรึงไว้ เพื่อป้องกันแรงลมหอบพัดบ้านเรือนพังเสียหาย
- ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการหักโค่น
- หากพบต้นไม้ สายไฟเกี่ยวกิ่งไม้ ป้ายโฆษณา ฯลฯ ที่อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว
-เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยง และพืชผลการเกษตร เกษตรกรควรจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ โดยเฉพาะกิ่งที่กำลังผลิดอกออกผล
- หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ออกกำลังกาย ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมทั้งโทรศัพท์ เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง
- จัดเตรียมอาหารแห้ง ยารักษาโรค ตะเกียง ไฟฉาย ไม้ขีดไฟ และวิทยุพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
- หลังพายุสงบ หากพบต้นไม้ในบริเวณบ้านโค่นล้ม ให้รีบตัดทิ้งทันที หรือหากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้มหรือมีสายขาด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากพายุและฟ้าผ่า เมื่ออยู่ในอาคาร
- ไม่อยู่บริเวณดาดฟ้าหรือใกล้ระเบียง เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อป้องกันแรงลมพัดสิ่งของเข้ามาในบ้าน ก่อให้เกิดอันตรายได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่า ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและผู้ใช้งานได้รับอันตราย
- ไม่อยู่บริเวณที่เสี่ยงต่อการแตกหัก อาทิ หลังคาสกายไลท์ หน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันลูกเห็บตกใส่ ทำให้ได้รับอันตราย
วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากพายุและฟ้าผ่า เมื่อต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง
- หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้นั่งกอดเข่า โน้มตัวไปข้างหน้า โดยพยายามให้เท้าติดดินน้อยที่สุด และไม่ควรนอนราบกับพื้น เพราะพื้นที่เปียกจะเป็นสื่อนำไฟฟ้ามาทำอันตรายได้
- ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะฟ้าอาจจะผ่าลงมาได้ เนื่องจากฟ้าจะมักผ่าลงมาในจุดที่สูงมากกว่า รวมทั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เสาไฟฟ้า เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับได้
- ไม่อยู่บริเวณพื้นที่โล่งแจ้ง อาทิ สระน้ำ สนามกอล์ฟ ทุ่งนา เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ รางรถไฟ เพิงสังกะสี เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ควรหลบในอาคาร หรือในรถยนต์ แต่ห้ามอยู่ใกล้ผนังอาคาร และอย่าแตะตัวถังรถเป็นอันขาด เพราะหากเกิดฟ้าผ่าขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าเข้าถึงตัวได้
- ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ รวมทั้งถือวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน หรือถือร่มที่มียอดเป็นโลหะเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากโลหะสามารถนำไฟฟ้าได้
- งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะแบตเตอรี่มีส่วนผสมของโลหะ จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
- กรณีอยู่ในรถ ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างจากต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างที่เสี่ยงต่อการถูกล้มทับ ปิดประตูและกระจกให้สนิท เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ไม่สัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้ได้รับอันตราย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- tmd.go.th
- cmmet.tmd.go.th
อากาศร้อนอบอ้าวอยู่ไม่กี่วัน เราก็ได้ยินข่าวคราวพายุฤดูร้อนที่รุนแรงพัดถล่มจังหวัดต่าง ๆ จนสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและเรือกสวนไร่นา ทำให้บางคนเกิดความสงสัยว่า "พายุฤดูร้อน" คืออะไร วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "พายุฤดูร้อน" มาฝากกันให้คลายสงสัยค่ะ
พายุฤดูร้อน คืออะไร
พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorms) เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน พายุฤดูร้อนนั้นจะทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ลมพายุพัดอย่างแรง โดยมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าเกิดขึ้น หรือในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย แต่ฝนที่ตกนั้นจะตกไม่นาน เพียงแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะหยุดไป และกินพื้นที่แคบ ๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร เมื่อฝนหยุดตกแล้วอากาศจะเย็นลง และท้องฟ้าจะเปิดอีกครั้ง
พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น
สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่าลบ 60 ถึงลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้
ในขณะที่ภาคพื้นดินนั้น อากาศที่ยกตัวขึ้นอย่างฉับพลัน จะทำให้อากาศในบริเวณใกล้เคียงไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นลมพายุ ทำให้เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนจะมีลมพายุพัดแรงตามไปด้วยนั่นเอง
ลักษณะอากาศก่อนเกิดพายุฤดูร้อน
สัญญาณที่จะบ่งบอกว่าพายุฤดูร้อนกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ก็คือ สภาพอากาศในช่วงนั้นจะร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลาย ๆ วัน มีความชื้นในอากาศสูงจนรู้สึกเหนียวตัว ลมค่อนข้างสงบ ท้องฟ้าขมุกขมัว และมีเมฆมากเมฆจะสูงและมีสีเทาเข้ม ต่อมาลมจะพัดแรงขึ้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก่อนที่เมฆจะก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว จนเกิดฟ้าแลบ และฝนฟ้าคะนองในระยะไกล สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองตามมา
พื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน
เนื่องจากมักมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงเกิดการปะทะกันของมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่น ๆ เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด หรือบางครั้งอาจได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเข้ามาเสริม จึงยิ่งทำให้เกิดพายุ ลมกระโชกแรงมากขึ้น
ขณะที่ภาคกลางและภาคตะวันออก มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้น้อยกว่า เช่นเดียวกับภาคใต้ที่สามารถเกิดพายุฤดูร้อนได้เช่นกัน แต่ไม่บ่อยนัก
หากอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภัยพายุฤดูร้อน ควรเตรียมรับมือดังนี้
- ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่า
- หมั่นติดตามสภาวะอากาศ และฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ
- หากมีประกาศเตือนภัยให้เก็บสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาสามารถปลิวตามลมได้ไว้ในที่มิดชิด ป้องกันสิ่งของถูกพายุพัดเสียหายและได้รับอันตรายจากการถูกสิ่งของพัดกระแทก
- ตรวจสอบความแข็งแรงมั่นคงของบ้านเรือน หลังคา อาคารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เพราะจะเกิดลมพายุอย่างรุนแรงพัดเข้ามาด้วย ซึ่งอาจทำให้หลังคาบ้านปลิวไปพร้อมกับลม หรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาทะลุหลังคาบ้านได้ หากประตูหรือหน้าต่างไม่แข็งแรง ควรใช้ไม้ทาบตีตะปูปิดตรึงไว้ เพื่อป้องกันแรงลมหอบพัดบ้านเรือนพังเสียหาย
- ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการหักโค่น
- หากพบต้นไม้ สายไฟเกี่ยวกิ่งไม้ ป้ายโฆษณา ฯลฯ ที่อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว
-เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยง และพืชผลการเกษตร เกษตรกรควรจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ โดยเฉพาะกิ่งที่กำลังผลิดอกออกผล
- หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ออกกำลังกาย ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมทั้งโทรศัพท์ เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง
- จัดเตรียมอาหารแห้ง ยารักษาโรค ตะเกียง ไฟฉาย ไม้ขีดไฟ และวิทยุพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
- หลังพายุสงบ หากพบต้นไม้ในบริเวณบ้านโค่นล้ม ให้รีบตัดทิ้งทันที หรือหากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้มหรือมีสายขาด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
- ไม่อยู่บริเวณดาดฟ้าหรือใกล้ระเบียง เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อป้องกันแรงลมพัดสิ่งของเข้ามาในบ้าน ก่อให้เกิดอันตรายได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่า ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและผู้ใช้งานได้รับอันตราย
- ไม่อยู่บริเวณที่เสี่ยงต่อการแตกหัก อาทิ หลังคาสกายไลท์ หน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันลูกเห็บตกใส่ ทำให้ได้รับอันตราย
วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากพายุและฟ้าผ่า เมื่อต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง
- หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้นั่งกอดเข่า โน้มตัวไปข้างหน้า โดยพยายามให้เท้าติดดินน้อยที่สุด และไม่ควรนอนราบกับพื้น เพราะพื้นที่เปียกจะเป็นสื่อนำไฟฟ้ามาทำอันตรายได้
- ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะฟ้าอาจจะผ่าลงมาได้ เนื่องจากฟ้าจะมักผ่าลงมาในจุดที่สูงมากกว่า รวมทั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เสาไฟฟ้า เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับได้
- ไม่อยู่บริเวณพื้นที่โล่งแจ้ง อาทิ สระน้ำ สนามกอล์ฟ ทุ่งนา เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ รางรถไฟ เพิงสังกะสี เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ควรหลบในอาคาร หรือในรถยนต์ แต่ห้ามอยู่ใกล้ผนังอาคาร และอย่าแตะตัวถังรถเป็นอันขาด เพราะหากเกิดฟ้าผ่าขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าเข้าถึงตัวได้
- ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ รวมทั้งถือวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน หรือถือร่มที่มียอดเป็นโลหะเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากโลหะสามารถนำไฟฟ้าได้
- งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะแบตเตอรี่มีส่วนผสมของโลหะ จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
- กรณีอยู่ในรถ ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างจากต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างที่เสี่ยงต่อการถูกล้มทับ ปิดประตูและกระจกให้สนิท เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ไม่สัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้ได้รับอันตราย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- tmd.go.th
- cmmet.tmd.go.th