Home »
Uncategories »
เปรียบเทียบชาวนาไทยกับญี่ปุ่น ทำไมชาวนาประเทศญี่ปุ่นจึงรวย
เปรียบเทียบชาวนาไทยกับญี่ปุ่น ทำไมชาวนาประเทศญี่ปุ่นจึงรวย
ทำไมชาวนาประเทศญี่ปุ่นจึงรวย ชาวนาเหมือนกัน
แต่ทำไมไม่เหมือนกัน เปรียบเทียบความแตกต่าง นำมาปรับใช้กับไทยให้ดีขึ้น
เคยมีคำกล่าวหนึ่งที่สะดุดใจมาก เชื่อเถอะว่า
เด็กที่เรียนเกี่ยวกับการเกษตรในประเทศไทย
ไม่มีทางที่จะกลับมาทำการเกษตรของตนเอง พวกเขาต้องการทำการเกษตรกับบริษัท
ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังคงเป็นจริงอยู่
เราหันมามองชาวนาญี่ปุ่นกัน ประเทศญี่ปุ่นมีชาวนาจริงๆแค่ 23 ล้านคน 22%
ของพลเมืองทั้งหมด
ความเป็นอยู่เทียบได้กับมนุษย์เงินเดือนระดับกลางของบริษัทยักษ์ใหญ่
ทำนาปีละครั้ง แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวปีละ 8 ล้านเยน เกือบ 3 ล้านบาท
หลายคนเลยตั้งคำถามว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นจึงร่ำรวย
ตอบได้เลยว่าชาวนาญี่ปุ่นมองการทำนาคือธุรกิจของเขา
เมื่อเขาคิดว่าเป็นธุรกิจเขาจึงต้องมี
การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
ต่างจากชาวนาไทยทุกวันนี้ ทำนาเพราะไม่รู้จะทำอะไรที่ดีกว่าการทำนา
บางครั้งเห็นเขาทำนาเลยคิดอย่างเดียวว่าต้องทำนา หรือการทำนาก็แค่เตรียมดิน
หว่าน แล้วปล่อยเทวดาดูแล จากนั้นก็เข้าเมืองมาหางานทำ หากเรามองรอบ ๆ
ตัวเราจะเห็นชาวนาเดี๋ยวนี้ ทำนาด้วยโทรศัพท์เสียส่วนใหญ่
ตั้งแต่โทรให้มาสูบน้ำ (จ้าง) โทรให้มาทำเทือก (จ้าง) โทรให้มาหว่านข้าว
(จ้าง) โทรให้มาฉีดพ่นยา (จ้าง) โทรให้มาเกี่ยวข้าว (จ้าง)
โทรให้มาบรรทุกข้าวไปโรงสี (จ้าง)
สุดท้ายเมื่อขายข้าวได้นายทุนก็โทรมาให้ไปหา (ใช้หนี้)
นี่คือวัฏจักรชาวนาไทย
ชาวนาญี่ปุ่นจะมองถึงต้นทุน และการเพิ่มผลผลิตข้าวเป็นหลัก
ชาวนาของเขาจะเก็บรักษาฟางข้าวในนาเป็นอย่างดีเพื่อสร้างไนโตเจนในดิน
ไม่มีเผาฟางข้าว ชาวนาจะใช้วิธีการไถกลบ
ฟางข้าวเมื่อไถกลบจะให้ไนโตเจนในดินอย่างน้อย 20%
แค่นี้เราก็สามารถลดค่าปุ่ยได้แล้ว
ต่างกับชาวนาไทยที่เผาเพราะจะเร่งการผลิตในรุ่นต่อไป
และมีความเชื่อว่าความร้อนจะทำลายสิ่งมีชีวิตในดิน
และมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เราเผาฟางข้าวแล้วข้าวจะงาม
อันนี้มาจากดินที่เป็นกรดเมื่อเราเผาฟางข้าว
จะได้ขี้เถ้าที่เป็นด่างเลยเป็นการลดกรดช่วงแรกในดินทำให้ข้าวงามแค่ระยะแรก
ชาวนาญี่ปุ่นจะเน้นการให้ปุ่ยเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดิน
และจะเติมปุ่ยวิทยาศาสตร์ในช่วงที่ที่จำเป็นบ้างสำหรับช่วงการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องมีกระบวนการจัดการน้ำให้ดี
และมีระบายน้ำเข้าออกในแปลงในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หัวใจสำคัญการปลูกข้าวของญี่ปุ่น จะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยทุกขั้นตอน
ตั้งแต่เตรียมดินยันเก็บเกี่ยวลดต้นทุนทุกด้าน ทั้งแรงงาน ปัจจัยการผลิต
แถมผลผลิตเพิ่ม มีหน่วยงานที่พัฒนาข้าวอย่างต่อเนื่อง มีวิจัยเมล็ดพั
นธุ์ข้าวในระดับดีเอ็นเอ จนได้ข้าวโคชิฮิคาริ ที่ญี่ปุ่นอ้างว่า
อร่อยและแพงที่สุดในโลก ราคา กกละ 2,000 เยน หรือเกือบ 700
บาทข้าวไรซ์เบอรี่ของไทยที่ว่าแน่ ราคาต่างกันลิบลับเป็นร้อยเท่า
ญี่ปุ่นมองข้ามเรื่องผลผลิตต่อไร่ เพราะผลผลิตนิ่ง แต่ละปีต่างกันไม่มาก
บวกลบ 2% ให้ความสำคัญเรื่องรสชาติ การเพิ่มมูลค่าเป็นพิเศษส่วนเรา
ผลผลิตไม่คงที่ คิดอย่างเดียวว่าให้ผลผลิตมากไว้ก่อน
คนญี่ปุ่นจะเน้นการข้าวที่อร่อยสำหรับคนญี่ปุ่นไม่เน้นการส่งออก
ญี่ปุ่นมองข้าวไทยเป็นแค่วัตถุดิบราคาถูก ไม่มีวางขายในซูปเปอร์มาเก็ต
ชาวนามักเข้าใจผิดว่าข้าวต้องการน้ำตลอดเวลา จริง ๆ
แล้วต้นข้าวต้องการเพียง 25 วันหลังการดำนา หรือ 10 วันหลังหว่าน
จากนั้นก็แค่สลับเอาน้ำเข้าน้ำออก และต้องการอีกครั้งช่วงข้าวตั้งท้อง
การทำนาทุกขั้นตอนชาวนาของญี่ปุ่นจะมีการบันทึกข้อมูลทุกช่วง
กำหนดเป้าหมายการติดดอก ติดรวง
มีการทำข้อมูลโดยละเอียดเพื่อใช้วางแผนการผลิตในฤดูกาลหน้า