ผู้เขียนเป็นวิศวกรชาวไทยที่ทำงานในสหรัฐ เขียนสาเหตุที่ค่ายหัวเว่ยโดนแบน

ผู้เขียนเป็นวิศวกรชาวไทยที่ทำงานใน Silicon Valley ในสหรัฐ เขียนเรื่องประวัติของหัวเหว่ยไว้ดีมากครับ แนะนำ

“ ส ง ค ร า มมสหรัฐ ฯ กับ Huawei, การพยายามก้าวเป็นผู้นำโลกด้านเทค และปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา”

ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบทรัมป์ จะบอกว่าเกลียดเลยก็คงได้ แต่จะว่าไปเราก็ค่อนข้างเห็นด้วยหน่อย ๆ กับการตัดสินใจของสหรัฐ ฯ ที่ แ บ นHuawei และยกเป็นปัญหาระดับชาติ

ในมุมของคนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าสหรัฐ ฯ กีดกันจีนทางการค้าและกลัวว่าจะโดนจีนแซง แต่ถ้ามามองในมุม “ความแฟร์” โดยละเอียดแล้วหละก็ ภาพหลาย ๆ อย่างในหัวอาจเปลี่ยนไปได้เลย

จริงอยู่ที่สหรัฐ ฯ กลัวจีนแซงด้านเทคโนโลยี เพราะจีนวางแผนจะแซงสหรัฐ ฯ จริง ๆ แต่ที่น่ากลัวคือ “Huawei ที่แบคด้วยรัฐบาลจีนกลับเลือกทำโดยไม่เลือกวิธีการ” และวิธีที่ Huawei ใช้มานานแล้วก็จะไปในทางจีนคือ “ละเมิดทรัพย์สินทางปัญหาและขโมยมาเลย”

ในมาตรฐานสากล “ทรัพย์สินทางปัญญา” ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะกว่าแต่ละคนจะคิดผลิตอะไรขึ้นมาได้ก็ล้วนต้องลงทุนมากมายมหาศาล สุดท้ายใครจะใช้งานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานั้น ก็ต้องจ่ายเงินค่า License ไป ถ้าไม่อยากใช้ก็หาทางพัฒนาของตัวเองขึ้นมา เลือกเอาว่าจะไปทางไหน

แต่พอเป็นจีน มาตรฐานกลับเป็นอีกแบบนึงคือ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและเอามาใช้เลย ไม่จ่ายค่า License ด้วย จับได้ค่อยมาฟ้องทีหลังนะ

ช่วงที่ผ่านมาเราเห็น Huawei เติบโตและผู้คนชื่นชมว่าทำโน่นทำนี่ได้เยอะจังเก่งจัง แต่หารู้ไม่ว่าหลายอย่างนั้น “ถูกขโมยมาขาย”

กรณีแรก ๆ คงย้อนไปปี 2003 ที่ Huawei ไป “แฮค” Source Code ของ Cisco แล้วเอามาใส่ใน Router ของตัวเองขายตัดราคา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ Huawei เริ่มโดนจับตามองจากสหรัฐ ฯ (เคสนี้ถือว่าวิธีการเลวร้ายมาก)

ปี 2007 หัวเว่ยจ่ายเงินให้พนักงาน Motorola เพื่อซื้อข้อมูลลับของบริษัทและเอามาทำเป็นโปรดักส์ของตัวเอง เกิดเป็นคดีใหญ่โตในปี 2010

ปี 2012 Huawei พยายามขโมยข้อมูลสำคัญของการผลิต Tappy หุ่นยนต์ทดสอบมือถือของ T-Mobile โดยละเมิดข้อห้ามมากมาย รวมถึงให้พนักงาน Huawei USA ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปใช้งาน Tappy แอบถ่ายรูปส่งกลับไปจีนให้ Huawei China

ปี 2014 หัวเว่ยให้นักประดิษฐ์ชาวโปรตุเกสบินมานำเสนอ “กล้อง 360 แบบเสียบมือถือ” ที่กำลังอยู่ในระหว่างการจด Patent อยู่ให้กับทีมงาน ปรากฎหลังจากผ่าน Meeting ไปก็ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับจาก Huawei อีกเลย จนกระทั่งปี 2017 หัวเว่ยก็เปิดตัวกล้อง Envizion 360 ที่เหมือนกับผลงานที่นักประดิษฐ์คนนี้นำไปเสนอทุกกระเบียดนิ้ว ยังคงเป็นคดีความอยู่ในตอนนี้

ต้นปีที่ผ่านมา Huawei โดนฟ้องจากเยอรมันคดีเอา MPEG ไปใช้โดยซึ่ง ๆ ทั้ง ๆ ที่มันมีค่า License ซึ่งก็จบลงด้วยดีด้วยการที่เดือนถัดไป Huawei ก็เข้าร่วม MPEG LA ยอมจ่ายค่า License เป็นที่เรียบร้อย

หากประเมินแล้ว สหรัฐ ฯ เสียหายถึงประมาณปีละ “$600B” ในส่วนที่จีนละเมิดไปและขายสินค้าโดยไม่ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เงินเข้าจีนแบบสบาย ๆ ส่วนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญากลับไม่ได้อะไร

ถ้ามองเรื่องการกีดกันแล้ว เคสที่กำลังดังอยู่ตอนนี้คนจะมองไปว่าสหรัฐ ฯ กีดกันเทคโนโลยีจีนไม่ให้ถูกใช้ในประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่คนกลับไม่ได้มองย้อนกลับไปคือ จริง ๆ จีนก็กีดกันไม่ให้เทคโนโลยีสหรัฐ ฯ อย่าง Google หรือ Facebook เข้าไปทำธุรกิจเช่นกัน

มันก็ไม่แฟร์นะที่จีนจะออกมาทำธุรกิจข้างนอกได้(ด้วยการละเมิดคนอื่นด้วย) แต่ก็ไม่ให้คนอื่นไปทำธุรกิจในประเทศ แบนมาแบนกลับไม่โกง

ความจริงหลายบริษัททั่วโลกก็มีปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญากันทั้งนั้นรวมถึง Apple, Google, Samsung เอง ก็มีคดีความ Patent War ให้เห็นมาโดยตลอด แต่วิธีการละเมิดก็ยังไม่น่าเกลียดเหมือนที่ Huawei ทำมา

เรื่องราวที่ผ่านมา วิธีการที่ Huawei ใช้ รวมถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ก่อตั้ง Huawei และผู้นำรัฐบาลจีน ทำให้ Huawei ถูกเพ่งเล็งโดยสหรัฐ ฯ มาโดยตลอด สหรัฐ ฯ รู้สึกไม่แฟร์ว่าเทคโนโลยีที่ประเทศตนทำขึ้นมา รวมถึงเทคโนโลยีที่ประเทศตนต้องจ่ายเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้น กลับถูกขโมยโดยประเทศจีนเพื่อเป็นทางลัดก้าวนำสหรัฐ ฯ

แต่ที่ผ่านมา Huawei ยังไม่ได้โดดเด่นอะไรขนาดทุกวันนี้ สหรัฐ ฯ ก็เลยปล่อยไว้ มีปัญหาค่อยทำเป็นคดีทีนึง แต่ล่าสุด Huawei กำลังเปลี่ยนจากผู้ขโมยเป็นผู้สร้างโดยมีพระเอกหลักคือ “5G” ที่ Huawei มีส่วนเป็นอย่างมากในการสร้างมาตรฐานเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา ซึ่ง 5G ถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเป็น Infrastructure ระดับประเทศ หากใครถือครองตรงนี้ไปก็คือถือครองข้อมูลระดับประเทศได้เลย

และนี่เป็นเหตุผลที่ Huawei จึงถูกจับจ้องหนักขึ้น สหรัฐ ฯ พยายามเจรจาเพื่อ Settle ทุกอย่าง แต่ก็ไม่เป็นผล จนทำให้สหรัฐ ฯ ประกาศ แ บ นHuawei ในที่สุด ซึ่งเอาจริง ๆ มันคือการประกาศ ส ง ค ร า มมการค้ากับจีนไม่ใช่ Huawei เพราะนาทีนี้ Huawei ค่อนข้าง Represent จีนเยอะมากและกำลังโตจนน่ากังวล (หมายเหตุ: หากนับมูลค่าที่ละเมิด US Patent เป็น % นี่จีนประเทศเดียวคือราว ๆ 50-80% เลย)

นาทีนี้การ แ บ นHuawei โดยสหรัฐ ฯ และชาติต่าง ๆ จึงไม่ได้เป็นเรื่องตรงไปตรงมา ถือว่าค่อนข้างยุ่งเหยิงมาก ทั้งเรื่องการละเมิด การกลัวจีนแซง ความปลอดภัย ฯลฯ ไม่ใช่เรื่องเหตุและผลข้อสองข้อ แต่เป็นเรื่องที่ก่อมานานแล้วและเพิ่งจะระเบิดออกมาในช่วงนี้

การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเริ่มเป็นเกมที่ซับซ้อนขึ้นเมื่อตอนนี้ Huawei เริ่มถือครอง Patent มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากการกว้านซื้อบริษัทและการคิดค้นของใหม่ขึ้นมาเอง ล่าสุดก็เริ่มฟ้องคนอื่นเรื่องละเมิด Patent ตัวเองบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่มาก เพราะว่า Patent ส่วนใหญ่ของ Huawei ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการพัฒนาขึ้นจากอย่างอื่นมากกว่า ก็เลยยังไม่มีมูลค่ามาก แต่ก็น่าจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลา

การ แ บ นHuawei นี้ถามว่ามีใครเจ็บบ้าง บอกเลยว่าเจ็บหมดทั้งเมกาและจีน หุ้นทั่วโลกคงร่วงระนาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจคงฝืดเคือง สินค้าคงแพงขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมสหรัฐ ฯ ก็คงต้องยอมว่า “มันคือสิ่งจำเป็น” และถึงแม้ดูจะทำให้หลายสิ่งดูแย่ลง แต่ในระยะยาวคนที่ได้ประโยชน์มากกว่าคือสหรัฐ ฯ เพราะที่ผ่านมาจีนเอาเปรียบสหรัฐ ฯ ไปมากแล้ว การตัดตอนนี้ไปอาจจะส่งผลลบชั่วคราว แต่ยาว ๆ จีนคือเจ็บกว่ามาก ถึงเทคโนโลยีหลายอย่างจีนจะนำสหรัฐ ฯ ไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากของประเทศอื่นทั้งนั้น (ยกเว้น 5G) ก็โดนตัดให้โดดเดี่ยวนี่ก็เหมือนเสือไร้เขี้ยว น่าเกรงขามแต่ทำอะไรไม่ได้เลย

อย่างล่าสุดการตัด ARM ไม่ให้ทำธุรกิจกับจีนนี่เป็นไม้ที่เจ็บมากจริง ๆ หลาย ๆ อย่างลอกได้ แต่ CPU Architecture เป็นสิ่งที่ลอกไม่ได้เลยจริง ๆ นี่คือการตัดน้ำตัดไฟเลยก็ว่าได้ ตอนนี้จีนก็เหลือแต่ MIPS ซึ่งไม่มีทางสู้ ARM ได้

อาจจะเจ็บมากจนทำให้จีนกลับมาพิจารณาอะไรเพิ่มเติมก็เป็นได้

ไม่งั้นแผนการ “Made in China 2025” ที่จีนประกาศออกมาอาจจะไม่เป็นอย่างที่จีนฝันก็เป็นได้

ขอบคุณแหล่งที่มา : FB nuuneoi