บ้านประชารัฐ
อัพเดทเงื่อนไขใหม่ปี 2560
เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
โดยเปลี่ยนเงื่อนไขจากไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน เป็น
ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย
หลังจากเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 รัฐบาลได้ไฟเขียวโครงการ "บ้านประชารัฐ" สานฝันให้คนรายได้น้อยได้มีบ้านสมใจ แต่ผ่านไป 1 ปี ยอดการอนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าคาดการณ์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 กระทรวงการคลังจึงได้ปรับปรุงเงื่อนไขการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ เพื่อให้เข้าถึงคนอยากมีบ้านได้ง่ายขึ้น โดยเปลี่ยนเงื่อนไข 2 ข้อคือ 1. ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจากที่กำหนดว่า "ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน" เป็น "ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย" เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ปัจจุบันไม่มีที่อยู่อาศัยและมีความต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินก็ในระบบได้สะดวกขึ้น
2. แก้ไขเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Post Finance กรณีการกู้ เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย จากที่กำหนดให้ "รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" เป็น "ไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย" เนื่องจากหากนำราคาประเมินที่ดินมาพิจารณาร่วมด้วย ผู้กู้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามวงเงินที่ต้องการก่อสร้างจริง
สำหรับรายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ ในการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ ยังคงเหมือนเดิม ลองไปพลิกเงื่อนไขบ้านประชารัฐกันดูว่าเรามีสิทธิ์จับจองบ้านประชารัฐด้วยหรือไม่
โครงการบ้านประชารัฐเป็นอย่างไร ?
สำหรับโครงการบ้านประชารัฐ ภาครัฐจะปล่อยสินเชื่อวงเงิน 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่วนอีก 4 หมื่นล้านบาท เป็นสินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่งละ 2 หมื่นล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี
บ้านประชารัฐให้วงเงินกู้เท่าไร ?
วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ยกเว้นกรณีการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติม ที่อยู่อาศัยวงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 500,000 บาทต่อหน่วย
โครงการบ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง
ที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐมีราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมทั้งเอ็นพีเอของกรมบังคับคดี
ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย หรือเข้าไปตรวจสอบได้จาก "ทรัพย์สินรอขาย" ตามลิงก์ด้านล่างนี้
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารออมสิน
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารกรุงไทย
เปิดจองบ้านประชารัฐ ใครมีสิทธิ์ ?
ประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐ จะต้องมีคุณสมบัติคือ
- ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 65 ปี
- ซื้อบ้าน เช่าซื้อ หรือสร้างใหม่ ราคาหลังละไม่เกิน 1,500,000 บาท
- "ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย" (อัพเดทข้อมูลเดือนเมษายน 2560) โดยเป็นการปรับเงื่อนไขให้ง่ายขึ้นจากเดิมที่กำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
- ไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น "ผู้อยู่อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น
* กรณีการกู้ เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย (อัพเดทเดือนเมษายน 2560) จากเดิมที่กำหนดให้รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากหากนำราคาประเมินที่ดินมาพิจารณาร่วมด้วย ผู้กู้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามวงเงินที่ต้องการก่อสร้างจริง
เงื่อนไขพิเศษของผู้จองบ้านประชารัฐ ลด แลก แจก แถมเพียบ !
- ไม่จำกัดรายได้ผู้ขอสินเชื่อ เงินเดือนน้อยก็จับจองได้ ครอบคลุมข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา
- ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยจะลดราคาบ้านให้อีกอย่างน้อย 2% จากราคาขายสุทธิ ทำให้วงเงินขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านลดลง
- ฟรีค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจำนอง
- ฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี
- ดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30 ปี
- ธนาคารผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย จากเดิม 33%
สินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐจะแบ่งวงเงินกู้ออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บาท และกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมอาคารวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อหน่วย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยดังนี้ - ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0%
- ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR 6.75%)
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1.475% (ปัจจุบัน MRR 7.475%)
2. วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บาท - ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR –1.475% สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR -1.725% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ)
บ้านประชารัฐ ถ้าจับจองต้องผ่อนเดือนละเท่าไร?
กรณีกู้เงินซื้อบ้านราคา 700,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยข้างต้น เมื่อคิดคำนวณออกมาแล้ว ในปีที่ 1-3 จะต้องผ่อนเดือนละ 3,000 บาท ส่วนปีที่ 4-6 จะต้องผ่อนเดือนละ 4,000 บาท และหลังจากปีที่ 7 เป็นต้นไปซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว จะต้องผ่อนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละประมาณ 4,500 บาท
แต่หากกู้ซื้อบ้านในราคา 1,500,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยข้างต้น เมื่อคิดคำนวณออกมาแล้ว ในปีที่ 1-3 จะต้องผ่อนเดือนละ 7,200 บาท ส่วนปีที่ 4-6 จะต้องผ่อนเดือนละ 8,600 บาท และหลังจากปีที่ 7 เป็นต้นไปซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว ผู้กู้รายย่อยจะต้องผ่อนเดือนละประมาณ 9,100 บาท แต่หากกู้สวัสดิการจะผ่อนเดือนละประมาณ 8,900 บาท
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ
บ้านประชารัฐ ธนาคารออมสิน - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และคู่สมรส
- สำเนาใบสำคัญสมรส หรือสำเนาใบแสดงการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตรของผู้สมรส
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอกู้และคู่สมรส
โปรดสอบถามเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ธนาคารออมสิน
บ้านประชารัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
- ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
-สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
-สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ (พร้อมแสดงเอกสารฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- รูปถ่ายกิจการ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกันเงินกู้
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน
***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเวลา 10.19 น. วันที่ 19 เมษายน 2560
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารออมสิน
หลังจากเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 รัฐบาลได้ไฟเขียวโครงการ "บ้านประชารัฐ" สานฝันให้คนรายได้น้อยได้มีบ้านสมใจ แต่ผ่านไป 1 ปี ยอดการอนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าคาดการณ์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 กระทรวงการคลังจึงได้ปรับปรุงเงื่อนไขการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ เพื่อให้เข้าถึงคนอยากมีบ้านได้ง่ายขึ้น โดยเปลี่ยนเงื่อนไข 2 ข้อคือ 1. ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจากที่กำหนดว่า "ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน" เป็น "ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย" เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ปัจจุบันไม่มีที่อยู่อาศัยและมีความต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินก็ในระบบได้สะดวกขึ้น
2. แก้ไขเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Post Finance กรณีการกู้ เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย จากที่กำหนดให้ "รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" เป็น "ไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย" เนื่องจากหากนำราคาประเมินที่ดินมาพิจารณาร่วมด้วย ผู้กู้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามวงเงินที่ต้องการก่อสร้างจริง
สำหรับรายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ ในการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ ยังคงเหมือนเดิม ลองไปพลิกเงื่อนไขบ้านประชารัฐกันดูว่าเรามีสิทธิ์จับจองบ้านประชารัฐด้วยหรือไม่
โครงการบ้านประชารัฐเป็นอย่างไร ?
สำหรับโครงการบ้านประชารัฐ ภาครัฐจะปล่อยสินเชื่อวงเงิน 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่วนอีก 4 หมื่นล้านบาท เป็นสินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่งละ 2 หมื่นล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี
บ้านประชารัฐให้วงเงินกู้เท่าไร ?
วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ยกเว้นกรณีการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติม ที่อยู่อาศัยวงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 500,000 บาทต่อหน่วย
โครงการบ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง
ที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐมีราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมทั้งเอ็นพีเอของกรมบังคับคดี
ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย หรือเข้าไปตรวจสอบได้จาก "ทรัพย์สินรอขาย" ตามลิงก์ด้านล่างนี้
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารออมสิน
- ทรัพย์สินรอขายธนาคารกรุงไทย
เปิดจองบ้านประชารัฐ ใครมีสิทธิ์ ?
ประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐ จะต้องมีคุณสมบัติคือ
- ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 65 ปี
- ซื้อบ้าน เช่าซื้อ หรือสร้างใหม่ ราคาหลังละไม่เกิน 1,500,000 บาท
- "ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย" (อัพเดทข้อมูลเดือนเมษายน 2560) โดยเป็นการปรับเงื่อนไขให้ง่ายขึ้นจากเดิมที่กำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
- ไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น "ผู้อยู่อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น
* กรณีการกู้ เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย (อัพเดทเดือนเมษายน 2560) จากเดิมที่กำหนดให้รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากหากนำราคาประเมินที่ดินมาพิจารณาร่วมด้วย ผู้กู้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามวงเงินที่ต้องการก่อสร้างจริง
เงื่อนไขพิเศษของผู้จองบ้านประชารัฐ ลด แลก แจก แถมเพียบ !
- ไม่จำกัดรายได้ผู้ขอสินเชื่อ เงินเดือนน้อยก็จับจองได้ ครอบคลุมข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา
- ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยจะลดราคาบ้านให้อีกอย่างน้อย 2% จากราคาขายสุทธิ ทำให้วงเงินขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านลดลง
- ฟรีค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจำนอง
- ฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี
- ดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30 ปี
- ธนาคารผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย จากเดิม 33%
สินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐจะแบ่งวงเงินกู้ออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บาท และกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมอาคารวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อหน่วย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยดังนี้ - ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0%
- ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR 6.75%)
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1.475% (ปัจจุบัน MRR 7.475%)
2. วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บาท - ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR –1.475% สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR -1.725% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ)
บ้านประชารัฐ ถ้าจับจองต้องผ่อนเดือนละเท่าไร?
กรณีกู้เงินซื้อบ้านราคา 700,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยข้างต้น เมื่อคิดคำนวณออกมาแล้ว ในปีที่ 1-3 จะต้องผ่อนเดือนละ 3,000 บาท ส่วนปีที่ 4-6 จะต้องผ่อนเดือนละ 4,000 บาท และหลังจากปีที่ 7 เป็นต้นไปซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว จะต้องผ่อนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละประมาณ 4,500 บาท
แต่หากกู้ซื้อบ้านในราคา 1,500,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยข้างต้น เมื่อคิดคำนวณออกมาแล้ว ในปีที่ 1-3 จะต้องผ่อนเดือนละ 7,200 บาท ส่วนปีที่ 4-6 จะต้องผ่อนเดือนละ 8,600 บาท และหลังจากปีที่ 7 เป็นต้นไปซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว ผู้กู้รายย่อยจะต้องผ่อนเดือนละประมาณ 9,100 บาท แต่หากกู้สวัสดิการจะผ่อนเดือนละประมาณ 8,900 บาท
ระยะเวลาผ่อน | วงเงินไม่เกิน 7 แสนบาท | วงเงิน 7 แสน-1.5 ล้านบาท |
ปีที่ 1-3 | ผ่อนเดือนละประมาณ 3,000 บาท | ผ่อนเดือนละประมาณ 7,200 บาท |
ปีที่ 4-6 | ผ่อนเดือนละประมาณ 4,000 บาท | ผ่อนเดือนละประมาณ 8,600 บาท |
ปีที่ 7-30 | ผ่อนเดือนละประมาณ 4,500 บาท | กู้รายย่อย : ผ่อนเดือนละประมาณ 9,100 บาท กู้สวัสดิการ : ผ่อนเดือนละประมาณ 8,900 บาท |
กรณีกู้ซ่อมแซม หรือต่อเติม วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 2,100 บาท/เดือน
จองบ้านประชารัฐได้ที่ไหน
สามารถติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ คือ
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ghbank.co.th หรือโทร 0-2645-9000
- ธนาคารออมสิน gsb.or.th หรือโทรสายด่วน 1115
โครงการบ้านประชารัฐ ธอส. กับตัวอย่างประมาณการงวดผ่อนชำระ
สามารถติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ คือ
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ghbank.co.th หรือโทร 0-2645-9000
- ธนาคารออมสิน gsb.or.th หรือโทรสายด่วน 1115
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ
บ้านประชารัฐ ธนาคารออมสิน - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และคู่สมรส
- สำเนาใบสำคัญสมรส หรือสำเนาใบแสดงการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตรของผู้สมรส
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอกู้และคู่สมรส
โปรดสอบถามเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ธนาคารออมสิน
บ้านประชารัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
- ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
-สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
-สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ (พร้อมแสดงเอกสารฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- รูปถ่ายกิจการ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกันเงินกู้
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน
***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเวลา 10.19 น. วันที่ 19 เมษายน 2560
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารออมสิน