ยางรถยนต์ถือเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยในการขับขี่บนบนท้องถนน
เพราะยางรถยนต์มีหน้าที่ในการยึดเกาะถนน รับน้ำหนักรถ
รับแรงกระแทกจากพื้นถนน
การเลือกยางที่ดีและเหมาะสมกับรถยังช่วยเรื่องประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย
ฉะนั้นการเติมลมยางรถยนต์ ถือเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์
ถ้าขาดการดูแลที่ดี จะทำให้เกิดผลเสียต่อรถยนต์หลายประการ
จึงควรตรวจเช็คสม่ำเสมอ ข้อควรรู้ในการเติมลมยางรถยนต์ มีดังนี้
เติมลมยางเท่าไหร่ถึงจะดี ?
การเติมลมยางรถ น้อยเกินไป
ทำให้ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติอาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอกมีความฝึดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ
การเติมลมยางรถ ลมมากเกินไป
เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมาก ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล
การเติมลมยางรถ ล้อคู่หน้า ล้อคู่หลัง
การเติมลมยางรถยนต์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลม และรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่าย สึกหรอผิดปกติ เส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ
ข้อควรรู้ก่อนที่จะเติมลมยาง คุณจะต้องตรวจความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว ให้ดูที่ “สะพานยาง” มีลักษณะเป็นสันนูนตรงดอกยาง ถ้าเนื้อยางสึกถึงสะพานยังแล้วเป็นการบ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนยางแล้วล่ะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
ก่อนออกเดินทางทุกครั้งอย่าลืมเช็กด้วยว่า รถของคุณได้ทำประกันภัยรถยนต์และประกันยังไม่หมดอายุ เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา อย่างน้อยก็ยังอุ่นใจว่าประกันภัยจะช่วยแก้ปัญหาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแก่คุณได้ค่ะ
ขอคุณข้อมูลดีๆจาก : http://auto.sanook.com/ และรักษ์รถ.com
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://auto.sanook.com,http://www.ebay.com/, Quick and Dirty Tips, https://www.carmudi.com.ph
เติมลมยางเท่าไหร่ถึงจะดี ?
การเติมลมยางรถ น้อยเกินไป
ทำให้ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติอาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอกมีความฝึดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ
การเติมลมยางรถ ลมมากเกินไป
เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมาก ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล
การเติมลมยางรถ ล้อคู่หน้า ล้อคู่หลัง
การเติมลมยางรถยนต์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลม และรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่าย สึกหรอผิดปกติ เส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ
- ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว
- ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา
- การเติมแรงดันลมยางไม่ถูกทำให้อายุใช้งานสั้นลง เช่น ยางรถยนต์ทีใช้แรงดันลมมาตรฐาน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว (psi) รับน้ำหนักได้ 800 ก.ก เติมลมมากไปจะมีอายุใช้งานเพียง 70% หรือเติมลมลมยางอ่อนไปจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45%
- เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดี ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนดหรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน เช่น มีการบรรทุกสัมภาระหนัก เป็นประจำ ก็เพิ่ม ลมยาง ได้อีก 2-3 ปอนด์/ตร.นิ้ว(psi) ตามความเหมาะสม นอกจากต้องเติมลมให้ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย
ข้อควรรู้ก่อนที่จะเติมลมยาง คุณจะต้องตรวจความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
- ความดันลมยางอ่อน ทำให้เนื้อยางสึกไวเร็วกว่าปกติ
- ความดันลมยางที่สูงเกินไป จะลดอายุการใช้งานของยางลงถึง 10,000 กม.
- รถเก๋งขนาดเล็ก ควรเติมลมยาง 25-30 ปอนด์
- รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ ควรเติมลมยาง 30-35 ปอนด์
- รถกระบะ ควรเติมลมยางไม่เกิน 65 ปอนด์
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว ให้ดูที่ “สะพานยาง” มีลักษณะเป็นสันนูนตรงดอกยาง ถ้าเนื้อยางสึกถึงสะพานยังแล้วเป็นการบ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนยางแล้วล่ะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
ก่อนออกเดินทางทุกครั้งอย่าลืมเช็กด้วยว่า รถของคุณได้ทำประกันภัยรถยนต์และประกันยังไม่หมดอายุ เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา อย่างน้อยก็ยังอุ่นใจว่าประกันภัยจะช่วยแก้ปัญหาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแก่คุณได้ค่ะ
ขอคุณข้อมูลดีๆจาก : http://auto.sanook.com/ และรักษ์รถ.com
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://auto.sanook.com,http://www.ebay.com/, Quick and Dirty Tips, https://www.carmudi.com.ph