▼ แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่เข้าใจภาษาของกันและกัน Ayla
น้อยก็ยังเติบโตมาด้วยการดูแลของทหารอย่าง Süleyman
หนูน้อยเปิดใจให้เขาและเรียกเขาว่า baba ซึ่งแปลว่าพ่อ ต่อมา Ayla
เรียนรู้ภาษาตุรกีเล็กน้อย
และกลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนเกาหลีเหนือและคนตุรกี (ภาพจากภาพยนตร์)
▼ Ayla เป็นเหมือนสถานที่บริสุทธิ์ในสงครามที่โหดเหี้ยมนี้ Süleyman
กับเพื่อนๆของเขาถ่ายรูปกับ Ayla เอาไว้จำนวนมาก
สองคนกลายเป็นเหมือนพ่อลูกจริงๆ ปี 1953 สงครามสิ้นสุดลง Süleyman
ได้รับคำสั่งให้กลับประเทศ เขาไม่อยากแยกจาก Ayla
แต่คำสั่งในตอนนั้นเขาไม่สามารถพาเด็กหญิงกลับไปด้วยได้
▼ Süleyman ไม่อยากทิ้ง Ayla
ให้ต้องอยู่ในเกาหลีเหนือที่ยังล้าหลังและยากจนตามลำพัง
เขาจึงเตรียมลังขนาดใหญ่ ข้างในใส่ขนมปังและน้ำเอาไว้ แล้วให้ Ayla
เข้าไปแอบในนั้น Süleyman เอาลังไปที่ท่าเรือ เตรียมพา Ayla ขึ้นเรือ
พากลับไปใช้ชีวิตที่ตุรกีด้วยกัน (ภาพจากภาพยนตร์)
▼ แต่กล่องที่ Ayla ซ่อนตัวอยู่ก็ถูกค้นพบอย่างรวดเร็ว
พวกเขาถูกบังคับให้แยกจากกัน Süleyman
ผู้ที่อุทิศชีวิตเพื่อประเทศต้องกลับตุรกีตามลำพัง ส่วน Ayla
ถูกส่งตัวไปที่ Ankara School ที่รับดูแลเด็กกำพร้าจากสงคราม
▼
Süleyman ในวัยชรารู้ว่า โอกาสที่จะได้พบ Ayla อีกครั้งมีน้อยมาก
แต่เขาก็ยังมีความตั้งใจที่จะได้พบเธออีกครั้ง
ขณะสถานีโทรทัศน์หลักสามแห่งของเกาหลีใต้ MBC
กำลังถ่ายทำสารคดีสงครามเกาหลี ได้รับคำร้องขอร้องจาก Süleyman
แต่เบาะแสเดียวที่มีคือชื่อ Ayla ซึ่งแม้แต่ชื่อเกาหลีก็ยังไม่รู้
ทำให้เป็นการยากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร
สถานีโทรทัศน์ติดต่อไปหานักเรียนของ
Ankara School บางคนได้ และแน่ใจว่าคนไม่น้อยเคยได้ยินชื่อของ Ayla
แต่รู้เพียงว่าเธอเป็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของนายทหารตุรกี
แต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เธออยู่ที่ไหน บวกกับปี 1979 Ankara School ถูกไฟไหม้
ข้อมูลจำนวนมากถูกเผาไป ทำให้เบาะแสทั้งหมดหายไปที่นี่