ด้วยประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเงินเพียง 300 บาท/เดือน คนทำงานอิสระก็สามารถรับความคุ้มครองสูงสุดถึง 5 กรณี
ข่าวดีสำหรับผู้ที่เป็น Freelance หรือประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย ไม่มีนายจ้างประจำ รวมไปถึงพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย รับจ้างทั่วไป เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ "ประกันสังคมมาตรา 40" เรียกว่า หากใครที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรานี้อยู่แล้ว ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ก็ได้สิทธิประโยชน์มากขึ้น หรือหากใครกำลังจะสมัคร ก็มีทางเลือกให้พิจารณาเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นสวัสดิการที่ภาครัฐต้องการให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน ได้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง โดยผู้ที่จะเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 40 ตอนนี้ สามารถเลือกได้ถึง 3 ทางเลือก จากเดิมที่มีเพียง 2 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ทางเลือกนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ซึ่งจากเดิม หากต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี เพิ่มเป็น 300 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี
นอกจากนี้ ยังเพิ่มเงินชดเชยให้ในกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงานพักฟื้นที่บ้าน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 30 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปีอีกด้วย สำหรับค่ารักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) 30 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ สิทธิประโยชน์ส่วนนี้ยังคงเหมือนเดิม คือ ได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 500-1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยจำนวนเงินที่ได้รับต่อเดือนจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบก่อนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ
- สำหรับกรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตที่เพิ่มเติมเข้ามานอกจากค่าทำศพ 20,000 บาทแล้ว ยังมีเงินสงเคราะห์ให้อีก 3,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบก่อนเสียชีวิตครบ 60 เดือน
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
ผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องของเงินชดเชยกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ เงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์เมื่อเสียชีวิต เหมือนผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 1 ทั้งหมดเลย
สำหรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของทางเลือกที่ 2 ยังคงเหมือนเดิมคือ ได้รับเป็นบำเหน็จเงินก้อน พร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) โดยถ้าต้องการมีเงินก้อนใช้ยามเกษียณที่มากขึ้น สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 450 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 300 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)
เป็นทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาใหม่ โดยทางเลือกที่ 3 นี้ให้สิทธิประโยชน์ถึง 5 กรณีด้วยกัน คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) และยังมีกรณีสงเคราะห์บุตรเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
ความคุ้มครองในแต่ละกรณีของทางเลือกที่ 3 นี้นับว่าเพิ่มขึ้นมากจาก 2 ทางเลือกแรก มีเพียงเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพเท่านั้นที่ได้รับ 500-1,000 บาท/เดือน เหมือนกับ 2 ทางเลือกแรก
สำหรับความคุ้มครองที่แตกต่างหรือเพิ่มขึ้นมา คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 300 บาท/วัน สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงาน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป ก็ยังได้รับเงินชดเชยนะคะ อยู่ที่วันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปี
กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพเพิ่มเป็น 40,000 บาท กรณีชราภาพ นอกจากบำเหน็จเงินก้อนที่ได้รับพร้อมผลตอบแทนแล้ว ถ้าส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท
ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร ซึ่งมีเฉพาะทางเลือกที่ 3 นั้น จะได้รับเงิน 200 บาท/เดือน/บุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน สามารถรับสิทธิได้ตั้งแต่บุตรแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ทางเลือกนี้ก็น่าสนใจนะคะ ได้รับเงินมาใช้จ่ายเป็นค่าเลี้ยงดูลูกด้วยค่ะ
สำหรับร่างกฎหมายประกันสังคมที่มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ รวมถึงเพิ่มทางเลือกใหม่ของมาตรา 40 นี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ต้องคอยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวกันให้ดี
เมื่อรู้แล้วว่า ทำงานอิสระ เป็น Freelance ไม่มีนายจ้าง ก็สามารถรับสวัสดิการคุ้มครองจากภาครัฐได้ด้วยการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ลองศึกษาทำความเข้าใจสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือก เพื่อเลือกแพ็กเกจความคุ้มครองที่คุ้มค่าและเหมาะกับตัวเรา และขอบอกเพิ่มเติมอีกนิด นอกจากความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมแล้ว เงินสมทบในแต่ละปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่จ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อประกอบการยื่นภาษีได้ด้วย
K-Expert Action
• Freelance พิจารณาสมัครเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อให้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง
• เลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ต้องการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวดีสำหรับผู้ที่เป็น Freelance หรือประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย ไม่มีนายจ้างประจำ รวมไปถึงพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย รับจ้างทั่วไป เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ "ประกันสังคมมาตรา 40" เรียกว่า หากใครที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรานี้อยู่แล้ว ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ก็ได้สิทธิประโยชน์มากขึ้น หรือหากใครกำลังจะสมัคร ก็มีทางเลือกให้พิจารณาเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นสวัสดิการที่ภาครัฐต้องการให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน ได้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง โดยผู้ที่จะเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 40 ตอนนี้ สามารถเลือกได้ถึง 3 ทางเลือก จากเดิมที่มีเพียง 2 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ทางเลือกนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ซึ่งจากเดิม หากต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี เพิ่มเป็น 300 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี
นอกจากนี้ ยังเพิ่มเงินชดเชยให้ในกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงานพักฟื้นที่บ้าน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 30 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปีอีกด้วย สำหรับค่ารักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) 30 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ สิทธิประโยชน์ส่วนนี้ยังคงเหมือนเดิม คือ ได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 500-1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยจำนวนเงินที่ได้รับต่อเดือนจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบก่อนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ
- สำหรับกรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตที่เพิ่มเติมเข้ามานอกจากค่าทำศพ 20,000 บาทแล้ว ยังมีเงินสงเคราะห์ให้อีก 3,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบก่อนเสียชีวิตครบ 60 เดือน
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
ผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องของเงินชดเชยกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ เงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์เมื่อเสียชีวิต เหมือนผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 1 ทั้งหมดเลย
สำหรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของทางเลือกที่ 2 ยังคงเหมือนเดิมคือ ได้รับเป็นบำเหน็จเงินก้อน พร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) โดยถ้าต้องการมีเงินก้อนใช้ยามเกษียณที่มากขึ้น สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 450 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 300 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)
เป็นทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาใหม่ โดยทางเลือกที่ 3 นี้ให้สิทธิประโยชน์ถึง 5 กรณีด้วยกัน คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) และยังมีกรณีสงเคราะห์บุตรเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
ความคุ้มครองในแต่ละกรณีของทางเลือกที่ 3 นี้นับว่าเพิ่มขึ้นมากจาก 2 ทางเลือกแรก มีเพียงเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพเท่านั้นที่ได้รับ 500-1,000 บาท/เดือน เหมือนกับ 2 ทางเลือกแรก
สำหรับความคุ้มครองที่แตกต่างหรือเพิ่มขึ้นมา คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 300 บาท/วัน สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงาน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป ก็ยังได้รับเงินชดเชยนะคะ อยู่ที่วันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปี
กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพเพิ่มเป็น 40,000 บาท กรณีชราภาพ นอกจากบำเหน็จเงินก้อนที่ได้รับพร้อมผลตอบแทนแล้ว ถ้าส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท
ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร ซึ่งมีเฉพาะทางเลือกที่ 3 นั้น จะได้รับเงิน 200 บาท/เดือน/บุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน สามารถรับสิทธิได้ตั้งแต่บุตรแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ทางเลือกนี้ก็น่าสนใจนะคะ ได้รับเงินมาใช้จ่ายเป็นค่าเลี้ยงดูลูกด้วยค่ะ
เรามาดูตารางสรุปสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือกกัน
สำหรับร่างกฎหมายประกันสังคมที่มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ รวมถึงเพิ่มทางเลือกใหม่ของมาตรา 40 นี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ต้องคอยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวกันให้ดี
เมื่อรู้แล้วว่า ทำงานอิสระ เป็น Freelance ไม่มีนายจ้าง ก็สามารถรับสวัสดิการคุ้มครองจากภาครัฐได้ด้วยการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ลองศึกษาทำความเข้าใจสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือก เพื่อเลือกแพ็กเกจความคุ้มครองที่คุ้มค่าและเหมาะกับตัวเรา และขอบอกเพิ่มเติมอีกนิด นอกจากความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมแล้ว เงินสมทบในแต่ละปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่จ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อประกอบการยื่นภาษีได้ด้วย
K-Expert Action
• Freelance พิจารณาสมัครเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อให้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง
• เลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ต้องการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก