โฟเบียของคนขี้เหงาชนิดที่กลัวการอยู่คนเดียวมาก ๆ เช่น
นอนคนเดียวไม่ได้ กลัวการอยู่คนเดียวขั้นสุด ต้องเช็กอาการ Autophobia
โรคกลัวการอยู่คนเดียวที่หลายคนเป็น !
โรคกลัวการอยู่คนเดียวหรือ โรค Autophobia ไม่ใช่โรคกลัวแปลก ๆ ที่ใหม่สำหรับสังคมไทยเท่าไรค่ะ เพราะคนที่มีความกลัวการอยู่คนเดียวจนกลายเป็นโฟเบียเลยก็มีเยอะ อีกทั้งคนที่ป่วยเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
ได้อีกด้วย ดังนั้นเช็กตัวเองกันหน่อยว่าเรามีอาการขี้เหงา กลัวการอยู่คนเดียวจนถึงขั้นเสี่ยงโรค Autophobia หรือเปล่า แล้วถ้ามีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียว วิธีรักษาโรค Autophobia ควรทำอย่างไร ทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคกลัวการอยู่คนเดียวรอให้คุณอ่านตามข้อมูลด้านล่างนี้แล้วค่ะ
โรคกลัวการอยู่คนเดียว Autophobia คืออะไร
โรคกลัวการอยู่คนเดียว คือ โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง และยังจัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งนี้โรคกลัวการอยู่คนเดียว ภาษาอังกฤษก็มีชื่อเรียกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น โรค Autophobia โรค Isolaphobia โรค Monophobia หรือกลุ่มอาการ Fear of Being Alone
โรคกลัวการอยู่คนเดียว เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียวยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ในทางจิตวิทยาสันนิษฐานถึงประสบการณ์แย่ ๆ ที่ผู้ป่วยเคยเจอมาและเป็นเหตุการณ์ค่อนข้างฝังใจ สิ่งนี้อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลัวการอยู่คนเดียว กลัวที่จะต้องไปไหนคนเดียว หรือกลัวการทำอะไรด้วยตัวเองคนเดียว
อย่างไรก็ดี โรคกลัวการอยู่คนเดียวอาจเกิดขึ้นตอนเป็นเด็ก หรือเป็นโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ อีกทั้งการอยู่คนเดียวในกรณีที่ก่อให้เกิดความกลัวจับใจ อาจเป็นได้ตั้งแต่การถูกทิ้งให้อยู่ในบ้านคนเดียว หรือความรู้สึกโดดเดี่ยวลึก ๆ ความรู้สึกว่าไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นคนที่ไม่มีใครต้องการ ความเจ็บลึก ๆ แบบนี้ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้เช่นกัน
โรคกลัวการอยู่คนเดียว อาการเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวมักจะมีอาการผิดปกติเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เขาคิดว่าไม่สามารถคอนโทรลมันโดยลำพังได้ ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นทันทีทันใด จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวแสดงอาการดังต่อไปนี้
1. รู้สึกกระวนกระวาย และกังวลมาก เพียงรู้ว่าต้องอยู่คนเดียว
2. หวนคิดถึงความรู้สึกตอนที่อยู่คนเดียวขึ้นมาและเกิดอาการหายใจไม่สะดวกใจสั่น หน้ามืด เหงื่อแตก อาเจียน ตัวสั่น ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เจอสถานการณ์ที่กลัวเลยก็ตาม (เป็นผลจากความวิตกกังวลมากเกินไป)
3. หากอยู่ในที่สาธารณะคนเดียวมักจะมีอาการประหม่า ไม่เป็นตัวของตัวเอง
4. ไม่สามารถไปไหนมาไหนคนเดียวได้ ต้องมีเพื่อนไปด้วยตลอดแม้จะเป็นสถานที่ที่คุ้นเคยก็ตาม
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวจะแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งก็สืบเนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความกลัวด้วยเช่นกัน แต่โดยหลัก ๆ แล้ว ความป่วยด้วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวมักจะส่งผลกระทบมาถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะปัญหาเหล่านี้ที่จะตามมา
- ติดเพื่อน ติดแฟนมาก ชนิดที่ไม่ยอมอยู่ห่างจากคนใกล้ตัวเลย
- มักจะมีนิสัยชอบตื้อ ชอบยื้อให้คนรอบข้างอยู่กับตัวเองให้นานที่สุด เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกลัวขึ้นมา
- ถ้าต้องอยู่คนเดียวจะพยายามหาเพื่อนมาอยู่ด้วยให้เร็วที่สุด โดยขาดความเกรงใจในทุกกรณี เช่น โทรหาเพื่อนตอนดึกดื่นเพื่อให้เพื่อนมาอยู่ด้วย หรือไปรบกวนเพื่อนถึงที่พักเพียงเพราะไม่อยากอยู่บ้านคนเดียว เป็นต้น
- มีนิสัยเอาแต่ใจ อยากให้คนอื่นมาอยู่ด้วยทั้ง ๆ ที่คนเหล่านั้นอาจไม่สะดวก หรือไม่สามารถไปอยู่เป็นเพื่อนได้ในตอนนั้น
- มักจะมีความรักในรูปแบบไร้ซึ่งอิสระ ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวและไปต่อกันไม่ได้ในที่สุด
ทั้งนี้อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวที่เข้าขั้นเป็นโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยจะต้องมีอาการกลัวการอยู่คนเดียวอย่างไร้เหตุผล เช่น กลัวต้องอยู่บ้านคนเดียว ทั้งที่บ้านนั้นก็เป็นสถานที่อันคุ้นเคย เป็นบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีอาการกลัวการอยู่คนเดียวอย่างรุนแรงต่อเนื่องเกิน 6 เดือนขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นอาการโฟเบีย หรือ โรคกลัวการอยู่คนเดียว
โรคกลัวการอยู่คนเดียว รักษาได้ไหม
อาการโฟเบียหรืออาการจิตเวชทุกโรค จะสามารถรักษาได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยยอมรับว่าตัวเองป่วยจริง ๆ ซึ่งหากรู้ตัวว่าป่วย เข้ารับการรักษาทางจิตเวช จิตแพทย์จะทำการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy)
การรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียวด้วยวิธีพฤติกรรมบำบัดชนิดชนิดที่เรียกว่า Exposure Therapy จะมีหลักการง่าย ๆ คือให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัว เช่น ทิ้งให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องตามลำพัง หากผู้ป่วยสามารถทนได้ ก็จะค่อย ๆ เพิ่มขนาดความรุนแรงของสิ่งที่ก่อให้เกิดความกลัวเข้าไป ซึ่งจิตแพทย์จะค่อย ๆ รักษาไปตามความเหมาะสมของแต่ละเคส
2. รักษาด้วยยา
การรักษาโรคโฟเบียด้วยยาคลายกังวล ยาคลายเครียด อาจช่วยได้เพียงระยะแรก ๆ เท่านั้น แต่หากต้องการรักษาให้หายขาด จิตแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดควบคู่ไปกับการใช้ยารักษา ดังนั้นการรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียวด้วยยาทางจิตเวชจึงไม่ใช้การรักษาหลักของผู้ป่วยโรคนี้
โรคกลัวการอยู่คนเดียว รักษาหายไหม
เมื่อป่วยและมีวิธีรักษา หลายคนมักจะถามว่าถ้าป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียว จะรักษาให้หายขาดได้ไหม ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วยในด้านการรักษาด้วยค่ะ เช่น ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตัวตามจิตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะโรคกลัวการอยู่คนเดียวเป็นความกลัวที่ฝังใจจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งการรักษาต้องอาศัยความเข้มแข็งและขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเป็นหลัก ต่างจากโรคทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ ที่มีสาเหตุเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง เคสนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยตัวยาเป็นหลัก เพื่อให้ยาช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุลกัน
โรคกลัวการอยู่คนเดียว เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้ด้วยนะ
ในกรณีที่ความกลัวการอยู่คนเดียวส่งผลให้ใช้ชีวิตลำบาก หรือส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับความสัมพันธ์ต่อเพื่อน หรือคนรักมาก ๆ สถานการณ์แบบนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้าได้ ยิ่งถ้าคุณจมอยู่กับความกลัว ความโดดเดี่ยวในใจลำพัง อาการก็จะยิ่งแย่ลง และเมื่ออาการทางกายไม่ค่อยดี อาการทางใจก็ไม่โอเคเท่าไร จุดนี้สารเคมีในสมองอาจแปรปรวน เพิ่มโรคซึมเศร้ามาให้อีกโรคก็ได้นะคะ
ดังนั้นใครที่รู้สึกว่ากลัวการอยู่คนเดียวมาก ๆ กลัวความรู้สึกว่าถูกทิ้ง ไม่ได้รับความรัก ความสนใจอย่างมากเกินปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาจิตแพทย์ก่อนในเบื้องต้น เพราะโรคทางจิตเวชทุกโรค ยิ่งรู้ตัวไวยิ่งรักษาให้หายขาดได้ง่ายมากขึ้นนะคะ
อ้อ ! ยังมีอีกเรื่องที่อยากให้เป็นเกร็ดความรู้ด้วยค่ะว่า โรคกลัวการอยู่คนเดียว ไม่ใช่โรคกลัวการเป็นโสดนะคะ มีความแตกต่างกันอยู่หลายประเด็นพอสมควรเลยล่ะ
ภาพจาก pexels.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
medicalnewstoday
healthline
psychologistanywhereanytime
โรคกลัวการอยู่คนเดียวหรือ โรค Autophobia ไม่ใช่โรคกลัวแปลก ๆ ที่ใหม่สำหรับสังคมไทยเท่าไรค่ะ เพราะคนที่มีความกลัวการอยู่คนเดียวจนกลายเป็นโฟเบียเลยก็มีเยอะ อีกทั้งคนที่ป่วยเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
ได้อีกด้วย ดังนั้นเช็กตัวเองกันหน่อยว่าเรามีอาการขี้เหงา กลัวการอยู่คนเดียวจนถึงขั้นเสี่ยงโรค Autophobia หรือเปล่า แล้วถ้ามีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียว วิธีรักษาโรค Autophobia ควรทำอย่างไร ทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคกลัวการอยู่คนเดียวรอให้คุณอ่านตามข้อมูลด้านล่างนี้แล้วค่ะ
โรคกลัวการอยู่คนเดียว คือ โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง และยังจัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งนี้โรคกลัวการอยู่คนเดียว ภาษาอังกฤษก็มีชื่อเรียกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น โรค Autophobia โรค Isolaphobia โรค Monophobia หรือกลุ่มอาการ Fear of Being Alone
สาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียวยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ในทางจิตวิทยาสันนิษฐานถึงประสบการณ์แย่ ๆ ที่ผู้ป่วยเคยเจอมาและเป็นเหตุการณ์ค่อนข้างฝังใจ สิ่งนี้อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลัวการอยู่คนเดียว กลัวที่จะต้องไปไหนคนเดียว หรือกลัวการทำอะไรด้วยตัวเองคนเดียว
อย่างไรก็ดี โรคกลัวการอยู่คนเดียวอาจเกิดขึ้นตอนเป็นเด็ก หรือเป็นโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ อีกทั้งการอยู่คนเดียวในกรณีที่ก่อให้เกิดความกลัวจับใจ อาจเป็นได้ตั้งแต่การถูกทิ้งให้อยู่ในบ้านคนเดียว หรือความรู้สึกโดดเดี่ยวลึก ๆ ความรู้สึกว่าไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นคนที่ไม่มีใครต้องการ ความเจ็บลึก ๆ แบบนี้ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้เช่นกัน
ผู้ป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวมักจะมีอาการผิดปกติเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เขาคิดว่าไม่สามารถคอนโทรลมันโดยลำพังได้ ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นทันทีทันใด จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวแสดงอาการดังต่อไปนี้
1. รู้สึกกระวนกระวาย และกังวลมาก เพียงรู้ว่าต้องอยู่คนเดียว
2. หวนคิดถึงความรู้สึกตอนที่อยู่คนเดียวขึ้นมาและเกิดอาการหายใจไม่สะดวกใจสั่น หน้ามืด เหงื่อแตก อาเจียน ตัวสั่น ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เจอสถานการณ์ที่กลัวเลยก็ตาม (เป็นผลจากความวิตกกังวลมากเกินไป)
3. หากอยู่ในที่สาธารณะคนเดียวมักจะมีอาการประหม่า ไม่เป็นตัวของตัวเอง
4. ไม่สามารถไปไหนมาไหนคนเดียวได้ ต้องมีเพื่อนไปด้วยตลอดแม้จะเป็นสถานที่ที่คุ้นเคยก็ตาม
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวจะแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งก็สืบเนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความกลัวด้วยเช่นกัน แต่โดยหลัก ๆ แล้ว ความป่วยด้วยโรคกลัวการอยู่คนเดียวมักจะส่งผลกระทบมาถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะปัญหาเหล่านี้ที่จะตามมา
- มักจะมีนิสัยชอบตื้อ ชอบยื้อให้คนรอบข้างอยู่กับตัวเองให้นานที่สุด เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกลัวขึ้นมา
- ถ้าต้องอยู่คนเดียวจะพยายามหาเพื่อนมาอยู่ด้วยให้เร็วที่สุด โดยขาดความเกรงใจในทุกกรณี เช่น โทรหาเพื่อนตอนดึกดื่นเพื่อให้เพื่อนมาอยู่ด้วย หรือไปรบกวนเพื่อนถึงที่พักเพียงเพราะไม่อยากอยู่บ้านคนเดียว เป็นต้น
- มีนิสัยเอาแต่ใจ อยากให้คนอื่นมาอยู่ด้วยทั้ง ๆ ที่คนเหล่านั้นอาจไม่สะดวก หรือไม่สามารถไปอยู่เป็นเพื่อนได้ในตอนนั้น
- มักจะมีความรักในรูปแบบไร้ซึ่งอิสระ ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวและไปต่อกันไม่ได้ในที่สุด
ทั้งนี้อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวที่เข้าขั้นเป็นโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยจะต้องมีอาการกลัวการอยู่คนเดียวอย่างไร้เหตุผล เช่น กลัวต้องอยู่บ้านคนเดียว ทั้งที่บ้านนั้นก็เป็นสถานที่อันคุ้นเคย เป็นบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีอาการกลัวการอยู่คนเดียวอย่างรุนแรงต่อเนื่องเกิน 6 เดือนขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นอาการโฟเบีย หรือ โรคกลัวการอยู่คนเดียว
อาการโฟเบียหรืออาการจิตเวชทุกโรค จะสามารถรักษาได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยยอมรับว่าตัวเองป่วยจริง ๆ ซึ่งหากรู้ตัวว่าป่วย เข้ารับการรักษาทางจิตเวช จิตแพทย์จะทำการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy)
การรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียวด้วยวิธีพฤติกรรมบำบัดชนิดชนิดที่เรียกว่า Exposure Therapy จะมีหลักการง่าย ๆ คือให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัว เช่น ทิ้งให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องตามลำพัง หากผู้ป่วยสามารถทนได้ ก็จะค่อย ๆ เพิ่มขนาดความรุนแรงของสิ่งที่ก่อให้เกิดความกลัวเข้าไป ซึ่งจิตแพทย์จะค่อย ๆ รักษาไปตามความเหมาะสมของแต่ละเคส
2. รักษาด้วยยา
การรักษาโรคโฟเบียด้วยยาคลายกังวล ยาคลายเครียด อาจช่วยได้เพียงระยะแรก ๆ เท่านั้น แต่หากต้องการรักษาให้หายขาด จิตแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดควบคู่ไปกับการใช้ยารักษา ดังนั้นการรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียวด้วยยาทางจิตเวชจึงไม่ใช้การรักษาหลักของผู้ป่วยโรคนี้
โรคกลัวการอยู่คนเดียว รักษาหายไหม
เมื่อป่วยและมีวิธีรักษา หลายคนมักจะถามว่าถ้าป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียว จะรักษาให้หายขาดได้ไหม ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วยในด้านการรักษาด้วยค่ะ เช่น ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตัวตามจิตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะโรคกลัวการอยู่คนเดียวเป็นความกลัวที่ฝังใจจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งการรักษาต้องอาศัยความเข้มแข็งและขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเป็นหลัก ต่างจากโรคทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ ที่มีสาเหตุเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง เคสนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยตัวยาเป็นหลัก เพื่อให้ยาช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุลกัน
ในกรณีที่ความกลัวการอยู่คนเดียวส่งผลให้ใช้ชีวิตลำบาก หรือส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับความสัมพันธ์ต่อเพื่อน หรือคนรักมาก ๆ สถานการณ์แบบนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้าได้ ยิ่งถ้าคุณจมอยู่กับความกลัว ความโดดเดี่ยวในใจลำพัง อาการก็จะยิ่งแย่ลง และเมื่ออาการทางกายไม่ค่อยดี อาการทางใจก็ไม่โอเคเท่าไร จุดนี้สารเคมีในสมองอาจแปรปรวน เพิ่มโรคซึมเศร้ามาให้อีกโรคก็ได้นะคะ
ดังนั้นใครที่รู้สึกว่ากลัวการอยู่คนเดียวมาก ๆ กลัวความรู้สึกว่าถูกทิ้ง ไม่ได้รับความรัก ความสนใจอย่างมากเกินปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาจิตแพทย์ก่อนในเบื้องต้น เพราะโรคทางจิตเวชทุกโรค ยิ่งรู้ตัวไวยิ่งรักษาให้หายขาดได้ง่ายมากขึ้นนะคะ
อ้อ ! ยังมีอีกเรื่องที่อยากให้เป็นเกร็ดความรู้ด้วยค่ะว่า โรคกลัวการอยู่คนเดียว ไม่ใช่โรคกลัวการเป็นโสดนะคะ มีความแตกต่างกันอยู่หลายประเด็นพอสมควรเลยล่ะ
ภาพจาก pexels.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
medicalnewstoday
healthline
psychologistanywhereanytime