Home »
Uncategories »
ใครว่างงาน ตกงาน ลาออก เลิกจ้าง สามารถขอรับเงินได้สูงสุด 45000
ใครว่างงาน ตกงาน ลาออก เลิกจ้าง สามารถขอรับเงินได้สูงสุด 45000
ใคร ว่างงาน ตกงาน ลาออก เลิกจ้าง สามารถขอรับเงินได้สูงสุด 45000
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่คนที่เป็นลูกจ้างควรต้องรู้เอาไว้ ใครที่ตกงาน
ถูกเลิกจ้าง ลาออก สามารถขอรับเงินได้สูงสุดถึง 45,000 บาท
เพียงทำตามขั้นตอนวิธีง่ายๆ เริ่มต้นจากการเตรียมเอกสาร
แค่เดินไปที่สำนักงานประกันสังคมที่ใกล้บ้านคุณ
สิทธินี้มีครอบคลุมถึงแรงงานต่างด้าวในระบบที่ส่งประกันสังคมไม่น้อยกว่า
6 เดือนด้วย อย่าลืมบอกให้เพื่อนๆร่วมงานได้รู้ถึงสิทธิประโยชน์ดีๆแบบนี้
1 สำหรับลูกจ้าที่รักออกหรือว่าถูกบังคับให้ลาออก
ลูกจ้างจะได้รับเงินก้อนนี้เพียง 13,500 บาทเท่านั้น ประกันสังคมจะจ่าย 30
เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน แต่สูงสุดไม่เกินยอดเงินเดือน 15,000 บาทเป็นเวลา 3
เดือน
2 สำหรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกโดยไม่มีเหตุผล
ลูกจ้างจะได้รับสิทธิเงินก้อนนี้สูงสุดถึง 45,000 บาทเลยทีเดียว
ทางประกันสังคมจะจ่ายให้ 50% ขอเงินเดือน แต่ไม่เกินยอดเงินเดือน 15,000
บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับหลักฐานที่จะต้องใช้ บัตรประชาชน รูปถ่ายจำนวน 1 นิ้ว 1 รูป
สมุดบัญชีธนาคารเงินฝากเท่านั้น ถ้ามีหนังสือเลิกจ้างก็นำไปใช้ด้วย
แต่ถ้าหากไม่มีก็ไม่เป็นไร และที่สำคัญจะต้องยื่นเรื่องภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่ตกงาน ถ้าช้าก็ตัดสิทธิ์โดยทันที
กรณีว่างงาน หลักฐานและแก้ไข
1 จ่ายเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือว่ากรณีผู้ประกันตนว่างงาน
เนื่องจากเหตุสุดวิสัย
2 มีระยะเวลาในการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
3 ผู้ประกันตนจะต้องทำการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต
ทางสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันที่ลาออกหรือว่าถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
จึงมีสิทธิที่จะได้รับการทดแทน ในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ 8
ของการว่างงาน
4 จะต้องทำการรายงานตัวกำหนดนัดผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทางเว็บ empui.doe.go.th ของสำนักงานการจัดหางานไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
5 ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
6 ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
7 ผู้ว่างงานจะต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้
– ทุจริตต่อหน้าที่ ทำผิดกฎทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้จ้าง
– จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
– ผิดข้อบังคับ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการทำงาน
– ละทิ้งการทำหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดกัน โดยไม่มีเหตุอันควรให้ทราบ
– ประมาท เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างมาก
– ได้รับโทษตามคำพิพากษา
– ต้องไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังต่อนี้
1 กรณีถูกเลิกจ้าง : ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180
วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย
โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท
และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น
ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
(รายละเอียดย่อย ตามด้านบน)
2 กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา :
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30
ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท
และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น
ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
3 ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง
หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1
ปีปฏิทินให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน
แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน
ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน
สถานที่ยื่นเรื่อง
1 ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
(เว็บไซต์ empui.doc.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
2 ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม
กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
(ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน
1 แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2
หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน
(สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09
ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
3 หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
4 หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
5 สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังต่อไปนี้
1) ธนาคารกรุงไ ท ย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารไ ท ยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไ ท ย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารท ห า ร ไ ท ย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไ ท ย จำกัด (มหาชน)
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไ ท ย
10) ธนาคารออมสิน
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
หากใครสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ : 1694 ในวัน เวลาราชการ 08.30-16.30 น. เท่านั้น
แหล่งที่มา : postsara.com