ทีมแพทย์ผ่าตัดด่วน เต่าออมสิน เข้า ICU หลังผ่าตัดเอาเหรียญออก อาการดีขึ้น แต่กลับเริ่มซึม-ปวดท้อง พบลำไส้บิดรัดตัวกันเอง
จากกรณีที่ทีมสัตวแพทย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันผ่าตัดช่วยเจ้าออมสิน เต่าตนุ เพศเมีย อายุ 25 ปี หลังจากที่พบว่ามันกลืนเหรียญเกือบ 1,000 เหรียญ และกลายเป็นพังผืดขนาดใหญ่ในท้อง ซึ่งหลังจากที่ผ่าตัดแล้ว เจ้าออมสินก็ดูจะมีอาการดีขึ้น และเริ่มว่ายน้ำได้ [อ่านข่าว : ไชโย เต่าออมสิน ว่ายน้ำได้แล้ว หลังผ่าตัดเอาเหรียญเกือบพัน ออกจากท้อง คลิก]
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันที่ 19 มีนาคม 2560 เฟซบุ๊ก Nantarika Chansue
ของ รศ. สพ.ญ. ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เผยความคืบหน้าอาการของเจ้าออมสิน พบว่า เมื่อวาน (18 มีนาคม 2560)
เจ้าออมสินมีอาการปวดท้องและซึม ซึ่งทางสัตวแพทย์แปลกใจมาก
เพราะไม่นานมานี้มันเริ่มกินอาหาร และเริ่มว่ายน้ำได้
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบก็พบว่า เจ้าออมสินมีอาการแทรกซ้อนจากการที่ลำไส้บิดรัดตัวกันเอง คาดว่าน่าจะมาจากการพยายามฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ในช่องท้องที่มีพื้นที่มากขึ้นหลังจากผ่าตัด ส่งผลให้มีแก๊สเพิ่มขึ้นและมีอาการปวดท้อง
โดยสัตวแพทย์ ได้ช่วยกันผ่าตัดฉุกเฉิน เพื่อแก้ปมลำไส้ และลดปริมาณแก๊สออกอย่างเร่งด่วน ซึ่งพบว่าลำไส้รัดกันซับซ้อนมาก และมีน้ำในช่องท้องเนื่องจากการรัดตัวนี้
อย่างไรก็ดี รศ. สพ.ญ. ดร.นันทริกา ระบุว่า ขอทุกคนช่วยส่งกำลังใจให้เจ้าออมสินด้วย ทั้ง ๆ ที่อุตส่าห์ควบคุมการติดเชื้อย่างดี และอาการเริ่มดีขึ้น แต่กลับไม่สามารถควบคุมสิ่งที่ร่างกายของเจ้าออมสินจัดการตัวเองได้
ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Nantarika Chansue
จากกรณีที่ทีมสัตวแพทย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันผ่าตัดช่วยเจ้าออมสิน เต่าตนุ เพศเมีย อายุ 25 ปี หลังจากที่พบว่ามันกลืนเหรียญเกือบ 1,000 เหรียญ และกลายเป็นพังผืดขนาดใหญ่ในท้อง ซึ่งหลังจากที่ผ่าตัดแล้ว เจ้าออมสินก็ดูจะมีอาการดีขึ้น และเริ่มว่ายน้ำได้ [อ่านข่าว : ไชโย เต่าออมสิน ว่ายน้ำได้แล้ว หลังผ่าตัดเอาเหรียญเกือบพัน ออกจากท้อง คลิก]
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบก็พบว่า เจ้าออมสินมีอาการแทรกซ้อนจากการที่ลำไส้บิดรัดตัวกันเอง คาดว่าน่าจะมาจากการพยายามฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ในช่องท้องที่มีพื้นที่มากขึ้นหลังจากผ่าตัด ส่งผลให้มีแก๊สเพิ่มขึ้นและมีอาการปวดท้อง
โดยสัตวแพทย์ ได้ช่วยกันผ่าตัดฉุกเฉิน เพื่อแก้ปมลำไส้ และลดปริมาณแก๊สออกอย่างเร่งด่วน ซึ่งพบว่าลำไส้รัดกันซับซ้อนมาก และมีน้ำในช่องท้องเนื่องจากการรัดตัวนี้
อย่างไรก็ดี รศ. สพ.ญ. ดร.นันทริกา ระบุว่า ขอทุกคนช่วยส่งกำลังใจให้เจ้าออมสินด้วย ทั้ง ๆ ที่อุตส่าห์ควบคุมการติดเชื้อย่างดี และอาการเริ่มดีขึ้น แต่กลับไม่สามารถควบคุมสิ่งที่ร่างกายของเจ้าออมสินจัดการตัวเองได้
ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Nantarika Chansue